ปี 2024 แล้ว… เชื่อว่าหลายคนคงรู้แล้วล่ะ ว่าการได้การมีส่วนร่วมในโพสต์มาก ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้การนำส่งเนื้อหาไปแสดงผลได้กว้างขวางขึ้น สร้างการรับรู้ใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมได้
ซึ่งช่วยสร้างโอกาสในการสร้างยอดขายได้มากขึ้น ในท้ายที่สุด ซึ่งต่อให้ยอดขายยังไม่มานัก อย่างน้อย ๆ ก็ได้ภาพจำของแบรนด์ในวงกว้างแน่ ๆ
.
วันนี้นินจาการตลาดเปิด DOM Social Listening Tool มาส่องดูตลาดอสังหาฯ ทำให้เห็นมิติที่น่าสนใจหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเรื่องหนึ่งที่อยากมาแชร์ให้พวกเราได้เรียนรู้กันคือ เทคนิคการโพสต์ ที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้จำนวนมาก ๆ
.
ที่เลือกธุรกิจอสังหาฯ มาเป็นตัวอย่าง เพราะด้วยความที่เป็นสินค้าแบบ High Involment ใช้เวลาในการตัดสินใจก่อนจะซื้อนานกว่าสินค้า FMCG ทั่ว ๆ ไป ดังนั้น การแค่จะโพสต์สินค้าในเชิงขายหรือเชิงให้โปรโมชั่นอย่างเดียวคงจะไม่ดีแน่ ลูกค้าที่ยังไม่ใช่ Warm หรือ Hot อาจจะเอียนหรือรำคาญไปซะ
..
ดังนั้นการโพสต์เนื้อหาที่เรียกการมีส่วนร่วมได้มาก ๆ จะช่วยทำให้การแสดงผลแบบ Organic เกิดขึ้นได้ แล้วยังทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักแบบ Earned ที่ได้รับความเชื่อถือมากกว่าการยัดเยียดแสดงผลด้วยการซื้อโฆษณา Paid เพียงอย่างเดียว ที่ทั้งต้องเสียเงิน ทั้งต้องเสี่ยงกับความรู้สึกจดจำในเชิงลบ (ขายเก่งจัง – เอาแต่ขาย) อีกด้วย
.
และต่อนี้ไปคือเทคนิคทั้ง 3 แบบ ที่นินจาการตลาด สรุปมาให้อ่านกันครับ
ถ้าพร้อมแล้วเรามาไล่ดูกันดีกว่า
โพสต์เชิงขอความเห็น
ผมยกเอาตัวอย่างของ AP Thai มาให้ชมกันครับ เห็นได้เลยว่าได้รับการมีส่วนร่วมค่อนข้างสูงมากถึง เกือบ ๆ สี่หมื่น Engagement
.
โดยตัวอย่างนี้ AP Thai ตั้งโพสต์ไว้ว่า
.
“มาแชร์กันหน่อยยย 1 พฤติกรรมที่ทำแล้ว ชีวิตดี๊ดีกว่าเคย 👍🏻✨ . เพราะ…เพียงแค่เริ่มเปลี่ยนนิสัยเล็กๆในชีวิตประจำวัน ก็ทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น แฮปปี้ขึ้นแน่นอน 💖 . #APThai21DaysChallenge #เรื่องบ้านๆที่โคตรสุข #APThai #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #APLivingSeries”
.
ซึ่งเรื่องที่เอามาชวนออกความเห็นนั้น เป็นเรื่องที่มีความเป็นสามัญธรรมดาของการใช้ชีวิตมาก ๆ เลยทำให้ไม่ต้องคิดเยอะในการตอบ จึงสร้างการมีส่วนร่วมได้ง่ายและเร็ว
ผสมกับการใช้ภาษาที่เป็นกันเองมากระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลก ๆ ได้ เช่นคำว่า “ชีวิตดี๊ดี” แถมยังเข้ากับแฮซแท็กของแบรนด์ด้วยสิ (#ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้)
.
คือ จะตอบแบบคำตอบแพลน ๆ ก็ดูดี (เช่น ปลูกต้นไม้) หรือใครจะมีคำตอบแบบกวน ๆ ก็ดูน่ารัก (เช่น นอน)
ไม่ใช่แค่ AP เท่านั้นที่ทำ แต่ Sansiri PLC ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน ที่ต่างก็คือ AP ใช้เป็นข้อความอย่างเดียวล้วน ๆ ไม่ได้เอากราฟิกมาใช้เลย ประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุนการทำคอนเทนต์ไปได้มากโขเลย (แต่ก็ทำให้ภาพจำในเชิง Visual ขาดหายไป)
2. ใช้เรื่องราวในอดีต กระตุ้นให้คนอยากอวด
คนเล่นโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่คือคนอยากอวด บางคนเถียงว่า ไม่จริงอะ ปกติฉันก็เข้าไปส่องอย่างเดียวไม่เคยคอมเมนต์อะไรกับเขาเลย
.
ใช่ครับมีคนแบบนั้นอยู่เยอะ แต่คนที่ทำแบบตรงกันข้ามนั้น มันเยอะมาก ๆ ซึ่งหากจะทำให้ชาวโซเชียลมาช่วยเราดันคอนเทนต์ อย่าไปคาดหวังกับคนที่ไม่ค่อยคอมเมนต์น่ะถูกแล้ว แต่คนที่คอมเมนต์บ่อย ๆ อันนี้ เราต้องเอาเขามาคอมเมนต์โพสต์เราให้ได้ด้วย
.
เคยได้ยินไหม “คนคอมเมนต์มักไม่ซื้อ คนซื้อมักไม่คอมเมนต์”
.
ดังนั้นในเมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ก็ต้องใช้คนที่ชอบคอมเมนต์ให้เป็นประโยชน์สินะ
.
ตัวอย่าง นี้เป็นของ Sansiri PLC ที่ตามกระแสในช่วงวันเด็ก โพสต์กระตุ้นง่าย ๆ ด้วยข้อความเพียงอย่างเดียว (ประหยัดเวลา ประหยัดงบ อีกละ)
.
ได้การมีส่วนร่วมมาไม่น้อยเลยทีเดียว
3. ท้าทาย
จริง ๆ การท้าทาย ก็ถือเป็นการตั้งคำถามแบบหนึ่งในเชิงของการทำ quizzes แบบทดสอบที่สร้างความท้าทายให้อยากจะตอบ ซึ่งบางภาพอาจต้องใช้เวลาในการหาคำตอบนาน ทำให้ลูกค้าค้างหน้าจอไว้นานมาก ได้ทั้งคะแนนจากคอมเมนต์ ได้ทั้งคะแนนการค้างหน้าจอนาน ๆ
.
ถ้าทำคอนเทนต์ดี ๆ ก็อาจได้การมีส่วนร่วมที่วิ่งเร็วปู๊ดป๊าดได้ไม่ยากเลย ตัวอย่าง นินจาการตลาด หยิบ Pruksa Family Club มาให้ดูกัน คอนเทนต์นี้ให้หา P ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวแรกของแบรนด์ ใน R ที่เป็นตัวอักษรตัวที่ 2 ของแบรนด์ด้วย
.
มีแต่ได้กับได้จริง ๆ คอนเทนต์นี้ ต้องยกให้เขาเลย…
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคอนเทนต์ของ Top 3 Brand ที่เป็น Developer อสังหาฯ ที่ได้รับ Engagement เยอะที่สุดในช่วง ธ.ค.23 – ม.ค.24
.
ซึ่งรวมกัน 3 รายนี้ ได้สัดส่วนการมีส่วนร่วมเมื่อเทียบกับคู่แข่งทั้งตลาด ก็ปกเข้าไปราว ๆ 70% แล้ว ซึ่งถ้าใครรู้สึกว่าช่วงปลายปีที่แล้ว หรือต้นปีนี้ คุ้นหูคุ้นตามกับสามแบรนด์นี้ ก็คงไม่แปลกอะไร เพราะทุกอย่างถูกวางและกำหนดมาให้เป็นแบบนั้นจริง ๆ
.
พวกเราเองก็สามารถทำอะไรแบบนี้ได้ ซึ่งนอกจากจะต้องสร้างสรรค์เนื้อหาให้มีกลยุทธ์แล้ว การรู้ตัวเลข หรือสัดส่วนการโพสต์แบบต่าง ๆ ของคู่แข่งขันในตลาดทั้งหมด ก็จำเป็นไม่แพ้กัน
.
เพราะจะช่วยทำให้เราได้เลือกแนวทางการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจน ตรจประเด็น คุ้มค่า คุ้มเวลา มากที่สุด เมื่อเทียบกับต้นทุนต่าง ๆ ที่ต้องจ่ายไป
.
ใครอยากได้แบบนี้ ทักมาปรึกษาได้นะครับ หรืออยากให้วิเคราะห์ตลาดอะไร มุมไหน บอกมาได้เลย เดี๋ยวจะมาทำสรุปให้อีก
ว่ากันด้วยเรื่องของการสื่อสารการตลาดที่เจาะจงตามเทรนด์ให้ทัน ซึ่งมีวิธีการและแนวทางอยู่หลากหลายนะครับ ซึ่งวันนี้จะเจาะเอาเฉพาะเทคนิคที่ไม่ค่อยมีคนใช้มาก เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะธุรกิจส่วนใหญ่เห็นว่ามันไม่ฟรีครับ มีต้นทุน จึงมีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณชัดเจน มักจะนำ Social Listening Tool มาใช้กันเยอะกว่าธุรกิจขนาดย่อม
ถึงกระนั้นแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะมองข้ามนะครับ แม้ว่าเราจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม เพราะสิ่งที่นินจาการตลาดเล่าให้ฟังนั้น มันช่วยทำให้ธุรกิจเราเติบโตก้าวกระโดดได้เลย หากใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็น อ้อ ที่สำคัญคือถึงนาทีนี้แล้ว ต้นทุนในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ถูกกว่าแต่ก่อนมาก ยิ่งถ้าเป็นเครื่องมือของ DOM InsightEra ที่นินจาการตลาดจะเล่าให้ฟังตัวนี้ บอกเลยว่าทำราคาออกมาถูกอกถูกใจธุรกิจรายย่อยอย่างเรา ๆ มาก
ใครสนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของระบบนี้กันได้นะครับ ลองแจ้งว่ามาจากนินจาการตลาด จะได้มาทดลองใช้และอาจได้ส่วนลดพิเศษด้วยนะ