ธุรกิจยอดฮิต ที่ไม่ว่าจะเดินไปไหนก็เจอ ทุกวันนี้มีถี่มากกว่าเซเว่นอีกมั้งครับ….
ธุรกิจร้านกาแฟ หรือคาเฟ่ที่เราเห็นกันนั่นแหละ ที่ไม่ว่าจะไปเพื่อชิมรสชาติเครื่องดื่มหรือกาแฟใหม่ ๆ หรือไปเพื่อถ่ายรูป เช็กอิน นั่งเล่น แต่เห็นมีเยอะแบบนี้ เจ๊งไปก็ไม่น้อยเลยนะครับ….
ในทุกวันนี้ ตลาดเครื่องดื่มอย่างกาแฟไม่ได้ใหญ่แค่ในประเทศไทยอย่างเดียวนะครับ แต่ กาแฟคือ เครื่องดื่มอันดับหนึ่งของคนทั้งโลกเลยก็ว่าได้
.
และมูลค่าของตลาดกาแฟก็ดูจะเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี มาพร้อมกับธุรกิจร้านกาแฟที่ก็เพิ่มมากขึ้น อย่างกับดอกเห็ด
.
แต่ธุรกิจนี้ ใช่ว่าทุกคนเปิดแล้วจะไปรอดนะครับ เพราะมีคนอีกไม่น้อยที่ต้องเฉือนเนื้อตัวเอง ขาดทุนไปกับการเปิดร้านกาแฟ ทั้ง ๆ ที่ธุรกิจนี้ดูท่าจะไปได้สวยด้วยซ้ำ
.
เพราะคนเรากินกาแฟกันแทบทุกวัน สาว ๆ ยุคใหม่เองก็ชอบไปหาที่ถ่ายรูปลงไอจีกันเยอะแยะ… แต่ทำไมหลายคนถึงไปไม่รอดกับธุรกิจนี้
.
วันนี้นินจาการตลาด จะมา #สรุปให้ในโพสต์เดียว
1. เลือกทำเลรอง ๆ เพื่อประหยัดต้นทุน
หากคุณกำลังคิดว่าถ้ากาแฟอร่อยซะอย่าง จะไปเปิดที่ไหนคนก็ซื้อ แค่คุณคิดแบบนี้ ความเจ๊งก็มารออยู่ตรงหน้าแล้วครับ เพราะถึงแม้ว่า กาแฟ จะเป็นสินค้าที่คนต้องการสูง.
.
แต่อย่าลืมว่า คุณไม่ได้เป็นเจ้าเดียวที่ขายกาแฟ ยังมีคู่แข่งอีกเพียบ หากคุณอยากที่จะลดต้นทุนด้วยการหาทำเลในลำดับรอง ๆ ทำเลอะไรก็ได้หรือทำเลที่ไม่ดี อาจได้ค่าเช่าที่ถูกก็จริง…
.
แต่มันก็เป็นผลดีแค่ระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาวเชื่อเถอะว่ายอมเสี่ยงลงทุนหาทำเลที่ดีจ่ายแพงแต่จบ มันคุ้มค่าและดีกว่าแน่นอนครับ
2. ขายของไม่เข้ากัน กาแฟกับของกินในร้านไปคนทาง
รสชาติของกาแฟกับรสชาติของขนมในร้านเป็นสิ่งสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ รสชาติกาแฟที่ดีจะต้องเข้ากันได้ดีกับขนมในร้านด้วย
.
หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามความสำคัญของสิ่งนี้ไป ทำให้กาแฟที่ชงอย่างดีเสียรสชาติไปกับขนมในร้านที่ไม่เข้ากันเลย ขนมที่ค่อนข้างไปได้ดีกับกาแฟ ก็มี เช่น วาฟเฟิล ชีสเค้ก ขนมปังประเภทต่าง ๆ
.
หรือแม้แต่ พวกอาหารอิตาเลียน หรือแฮมเบอร์เกอร์ เองก็เข้ากันดีกับกาแฟ แถมยังไม่มีกลิ่นรบกวนมากจนเกินไป ที่ไปตัดกลิ่นกาแฟอันเป็นเอกลักษณ์ของร้านกาแฟ
3. แพคเกจจิ้งไม่มีเอกลักษณ์และไม่น่าดึงดูด
ตัวแพคเกจนี้สำคัญมากเลยครับ เรียกได้ว่าเป็นตัวทำการตลาดเลย ลองนึกถึง ร้านกาแฟดัง ๆ
อย่าง สตาร์บัคส์ อเมซอน
.
ร้านคาเฟ่สวย ๆ ตามสยาม ว่าทำไมเขาถึงต้องทำแก้วสวย ๆ ที่ไม่เหมือนใคร มาไว้คอยบริการลูกค้าที่มาใช้บริการของเขา
.
การลงทุนเรื่องแก้ว เรื่องแพคเกจ ไม่เสียไปอย่างสูญเปล่าแน่นอนครับ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะหิ้วเอาแก้วกาแฟที่ตัวเองซื้อกลับบ้านไปด้วย หากหิ้วกลับบ้านละดูแพง ดูเป็นแบรนด์ ลูกค้าก็จะรู้สึกดี
.
ดูแฮปปี้ เวลาคนอื่นเห็น เอ๊ะ!! ร้านนี้ร้านอะไร ทำไมแก้วน่ารักจัง ที่สำคัญมันเป็นการโฆษณาทางอ้อมที่ดีมาก ๆ เลยล่ะครับ
4. การจัดร้านแบบไม่มีธีม ไม่ได้บรรยากาศ
พูดได้เต็มปากเลยครับว่า ในปัจจุบันนี้คนไม่ได้เข้าร้านกาแฟเพราะอยากมากินกาแฟอย่างเดียว เขาอยากมากินบรรยากาศด้วย
.
การลงทุนสำหรับเรื่องนี้จำเป็นมาก เพราะมันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของร้าน คุณภาพของแบรนด์ ได้ในระดับนึง รสชาติของกาแฟเป็นตัวดึงดูดลูกค้าฉันใด บรรยากาศในร้านก็ไม่ต่างกัน
5. บริหารร้านไม่เป็น การบริหารร้านไม่เป็นในทีนี้ คือ การไม่รู้จัก การจัดการภายในร้านให้ดีพอ สังเกตนะครับ
ว่าร้านกาแฟหรือคาเฟ่ชานม ที่ลูกค้าติดอกติดใจกันนัก พนักงานในร้านต่างถูกเทรนด์มาให้ยิ้มแย้มแจ่มใส
.
มีความเป็นกันเองกับลูกค้า รู้จักการดูแลลูกค้า พูดคุยตอบคำถามอย่างเข้าใจและเต็มใจ รู้จักการทำโปรโมชั่นให้ลูกค้าสนใจ
.
เดี๋ยวนี้ร้านเครื่องดื่มต่าง ๆ เขาไม่แข่งกันที่รสชาติอย่างเดียวแล้วครับ เขาแข่งกันที่ใครบริการดีกว่าใครด้วยแล้ว
6. บริหารเงินไม่เป็น
เหตุผลหลักของการขาดทุนเลย คือการบริหารการเงินไม่เป็น การลงทุนเปิดคาเฟ่ร้านกาแฟนั้นควรมีเงินทุนสำรองไว้ ใช้หมุนเวียนในร้าน และเผื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
.
เวลาที่เจอเหตุการณ์คาดไม่ถึง และเงินสำหรับขยายกิจการ คนที่บริหารการเงินไม่เป็น ส่วนมากก็จะนำเงินที่ได้มาใช้จ่ายอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีแบบแผน ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนและเจ๊งเป็นอย่างมาก
7. ไม่รู้จักการคำนวณจุดคุ้มทุน
ค่าใช้จ่ายหลักในการเปิดร้านกาแฟที่หนัก ๆ เลย คือค่าเช่ากับค่าแรงพนักงาน และเจ้าของร้านบางคนก็ขายแบบไม่คิดคำนวณต้นทุนการขาย เน้นแค่จะขายให้ได้มาก ๆ อย่างเดียว
.
บางทีตั้งราคาต่ำกว่าทุนโดยไม่รู้ตัว ลูกค้าอาจจะดูมาก แต่รายได้อาจไม่ดีอย่างที่คิด การคำนวณจุดคุ้มทุนจึงสำคัญ
.
คุณต้องรู้ราคาวัตถุดิบอย่างเมล็ดกาแฟว่าถ้าเอามาเฉลี่ยต่อแก้วราคาเท่าไหร่ และอย่าลืมบวกค่าแก้ว น้ำตาล น้ำแข็ง ค่าบริการ
.
เบ็ดเสร็จคือราคาที่ควรขายจริง แต่ทั้งนี้การคำนวณก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละร้านเป็นสำคัญด้วย
8. ไม่มีจุดขายของร้าน
หากคุณคิดจะเปิดคาเฟ่ชานม หรือร้านกาแฟ สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลย คือคุณต้องคิดก่อนเสมอว่า สินค้า หรือร้านของคุณจะมีอะไรให้คนสนใจมากกว่าร้านอื่น ๆ ในละแวกเดียวกัน
.
จะทำอย่างไรละให้ร้านของเรานั้นโดดเด่นมากที่สุด จะโลโก้ หรือ ป้ายหน้าร้าน แต่ที่ไม่แนะนำเลยคือ อย่าสร้างจุดขายหรือจุดเด่นด้วยราคาที่ถูกจนเกินไป
.
ยอมรับว่ามันดึงดูดคนได้จริง แต่เชื่อเถอะว่าต่อไปวิธีนี้มันไม่ดีกับเจ้าของร้านหรือผู้ลงทุนอย่างแน่นอน
9. ขายเป็นแต่โฆษณาไม่เป็น ทำการตลาดไม่เป็น
ร้านกาแฟที่ดีครบเครื่อง นอกจากบริหารร้านเป็นแล้ว สินค้าต้องดีมีคุณภาพ และที่สำคัญ ยุคนี้การโฆษณาเป็นสิ่งสำคัญ อย่ามั่นใจผิด ๆ ว่าสินค้าเราดีแล้วคนจะต้องรู้จัก
.
อย่าอาศัยการตลาดแบบปากต่อปากเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากไม่เป็นกระแสจริง ๆ ก็เกิดยากนะครับ ยุคนี้เรามีสื่อโซเชี่ยลอยู่ในมือแล้ว จะทำการโฆษณา ทำการตลาด ก็ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก
.
ไม่ว่าจะทางเฟสบุ๊ค ยูทูป IG หรือจะให้ดีสร้างเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาเลย แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มบ้างแต่ก็ทำให้ร้านดูมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วย
ลองนำสิ่งเหล่านี้ไปคิดทบทวนและปรับปรุงให้ดีก่อนที่มันจะสายเกินไปนะครับ ใครที่กำลังจะเปิดธุรกิจยอดฮิตตัวนี้ละก็ลองลิสต์ทีละข้อเลยนะครับ ว่าตัวเองควรทำต้องไหนก่อน หรือตรงไหนที่เราไม่ควรจะพลาดเด็ดขาด ถ้าอยากให้ธุรกิจไปรอด….