การที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักครั้ง การตั้งราคาสินค้าสำคัญมาก ๆ และค่อนข้างยากในการตัดสินใจ ว่าจะตั้งราคาเท่าไหร่ดี ถึงจะได้กำไร และถูกใจลูกค้าไปในตัว เพราะมันส่งผลต่อธุรกิจของคุณในระยะยาว และในตอนนี้ก็ยิ่งยากเข้าไปอีก เพราะอยู่ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19
ซึ่งในปัจจุบันตอนนี้ หลาย ๆ คนหันมาเปิดธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะรายได้หลักเริ่มไม่พอ บางคนก็ตกงาน หันมาขายของออนไลน์ เพราะสถานการณ์โควิด-19 ไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ทุกคนเลยต้องหาลู่ทางทำมาหากิน หาอาชีพใหม่ เพื่อเลี้ยงตัวเองให้อยู่รอดในยุคนี้ เเต่กลับกลายเป็นว่า ใคร ๆ ก็หันมาทำอาชีพทางด้านออนไลน์กันหมด ส่งผลให้มีคู่เเข่งเกิดขึ้นมากมาย ทำให้แผนที่ตั้งใจวางไว้ ไม่ดีเท่าที่ควร หรือ ร้านไหน ธุรกิจไหนที่ขายดี เเต่ทำไมกำไรกับหดหาย เพราะว่าพวกเขาเหล่านั้น ขาดการวางแผน การคำนวณราคา ต้นทุน กำไร หรือไม่รู้ว่าการตั้งราคาเเบบไหนถึงจะเหมาะกับธุรกิจของตัวเอง
.
เพราะแบบนี้การตั้งราคาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในการเริ่มทำธุรกิจเป็นตัวเอง เราควรจะรู้ว่ามันต้องตั้งราคาเเบบไหน คิดอย่างไร เราจะได้ไม่พลาด เเละไม่ได้หมายถึงเรื่องของกำไรอย่างเดียวนะครับ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เราต้องคำนึงถึง ต้องมองให้ครอบคลุม ทำเข้าใจในทุก ๆ เรื่อง เพื่อที่จะได้ตั้งราคาให้เหมาะสมกับสินค้าเเละบริการ เเละสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย
.
วันนี้ผมจะพามาทำความเข้าใจกับ “กลยุทธ์การตั้งราคา” ตั้งราคาอย่างไรให้ชนะใจลูกค้า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อนำไปเป็นเเนวทางให้กับคนที่พึ่งเริ่มขาย เเละไม่รู้จะเริ่มยังไงดี!
.
อยากรู้ว่าเริ่มยังไงดี กดอ่านต่อได้เลยครับ
1. กลยุทธ์การตั้งราคาขายจากต้นทุน ( Cost-plus pricing )
กลยุทธ์การตั้งราคาขายจากทุน เป็นวิธีการตั้งราคาขายที่เข้าใจง่ายที่สุด นั่นก็คือการตั้งราคาขายจากต้นทุนของสินค้า บวกกับกำไรที่ต้องการจากการขายสินค้านั้น เเต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ต้องพยายามคิดคำนวณต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ถี่ถ้วนรอบคอบ เพื่อที่จะได้ส่วนต่างกำไรตามเป้าที่วางไว้
2. กลยุทธ์การตั้งราคาขายแยกตามกลุ่มเป้าหมาย ( Pricing Type of Customers )
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาที่เอากลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้ง เช่นต้องการขายใคร ทำงานอะไร อายุเท่าไหร่ มีรายได้ต่อเดือน เดือนละเท่าไหร่ เเละไปศึกษาต่อว่ากลุ่มเป้าหมายนี้มีกำลังซื้อมากน้อยเเค่ไหน ราคาที่คนกลุ่มนี้จะยอมจ่ายมากสุดได้เเค่ไหน เเล้วค่อยมาคิดคำนวณตั้งเป็นราคา
3. กลยุทธ์การตั้งราคาถูกในช่วงต้น ( Penetration Pricing )
เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับเเบรนด์ที่พึ่งเริ่มเปิดตัว เข้าสู่ตลาดเป็นครั้งเเรก เพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าเเละบริการของตน กระตุ้นให้ลูกค้าหันมาสนใจกับสินค้าเเละบริการตัวใหม่ได้ง่ายขึ้น เเบรนด์อาจจะเปลี่ยนเเปลงปรับราคาขึ้นในภายหลัง ถ้ามีฐานลูกค้าที่เเข็งเเรง หรือมีจุดเเข็งของสินค้า ยังไงตอนนั้นลูกค้าก็ยินดีที่จะจ่าย
.
นินจาการตลาดเคยทำบทความพร้อมคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการตั้งราคาแบบนี้เอาไว้ ในหัวข้อ
4. กลยุทธ์การตั้งราคาอิงจากคู่แข่ง ( Competitive Pricing Strategy )
เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาโดยสำรวจจากราคาของสินค้าชนิดเดียวกันในตลาด ว่าในตลาดนั้นคู่เเข่งของเราขายสินค้าประมาณเท่าไหร่ เเละนำมาปรับให้เหมาะสมกับสินค้าเเละบริการของเรา ไม่จำเป็นว่าต้องถูกกว่าเสมอไป ขายเเพงกว่าก็ยังได้ เเต่คุณภาพของสินค้าต้องดี ต้องมีจุดที่โดดเด่นกว่าเเบรนด์อื่น ๆ ในตลาด
5. กลยุทธ์การตั้งราคาขายแบบมัดรวมสินค้า ( Bundle Pricing )
เป็นกลยุทธ์ที่ต้องนำสินค้าหลาย ๆ ชนิดมารวมกัน จับมาขายเป็นเซ็ตเเล้วตั้งราคาขายให้ลุกค้าลูกรู้สึกว่าคุ้มค่ากว่าการซื้อเเยกแบบเดี่ยว ๆ โดยกำไรที่ได้จะมาจากการเฉลี่ย ๆ กันไปในตัวสินค้าที่นำมาทำเป็นเซ็ต เเละอีกอย่างมันก็จะช่วยหมุนเวียนสินค้าที่ขายออกได้ยากออกไป โดยการจับมารวมเซ็ทกับสินค้าที่ขายดี เเค่นี้มันก็หมุนเวียนสินค้า กระจาย ๆ กันไป
6. กลยุทธ์การตั้งราคาขายแบบหลอกล่อ ( Decoy pricing )
เป็นการตั้งราคาขาย ขึ้นมาราคาหนึ่ง เพื่อให้อีกราคาหนึ่งดูน่าสนใจหรือทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ามากขึ้น เช่นตามร้านกาเเฟ ที่เราเห็นกันได้ทั่วไปเลย ที่จะมีเเก้วเล็ก แก้วกลาง แก้วใหญ่ เเละราคา 40, 55, และ 60 บาท ตามขนาดเเก้ว เเละเมื่อนำเปรียบเทียบจริง ๆ แค่เพิ่มเงินอีกเเค่ 5 บาทก็เปลี่ยนจากแก้วกลางเป็นแก้วใหญ่เเล้ว ซึ่งมันจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่ามากกว่า
.
จากสิ่งที่ผมได้บอกมาทั้งหมด ทุกคนลองอ่านเเล้วนำไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณนะครับ เเละอย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่ต้องควบคู่ไปกับตั้งราคาขายนั้น คือ สินค้าเราขายอะไร มีจุดเด่นอะไร ขายให้ใคร เเละคู่เเข่งของเราคือใคร เพื่อที่จะนำไปคิดคำนวณเพื่อตั้งราคาที่เหมาะสม เเละมันจะส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณในระยะยาวนะครับ
.
สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์การตั้งราคา นินจาการตลาดรวบรวมเอาไว้ให้ตรงนี้แล้วนะครับ