เมื่อธุรกิจในปัจจุบันเริ่มมีการแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น หากจะทุ่มงบทำการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักเร็วขึ้น ก็คงจะยาก ยิ่งในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ สถานการณ์บ้านเมืองเเบบนี้อีกยิ่งยากเข้าไปใหญ่
เเต่พอมานึก ๆ ดูเเล้ว ก็มีอยู่อีกกลยุทธ์หนึ่งนะครับ ที่จะสามารถสร้าง impact ได้อย่างกว้างขวาง เเละใช้งบประมาณน้อยด้วย เเละยังสามารถเกิดเป็นการบอกเเบบปากต่อปาก และเป็นกระแสไวรัลขึ้นมาได้ นั่นก็คือ “การตลาดแบบกองโจร” หรือ Guerrilla Marketing
.
เเม้ว่าชื่อของมันอาจจะฟังดูน่ากลัว ดูเเบบว่าจะต้องไปทำเรื่องซุ่มโจมตีคู่แข่งด้วยการสร้างข่าวเท็จ ข่าวลือ เพื่อทำลายชื่อเสียง หรือ ทำลายกลุ่มลูกค้าของคู่แข่ง หรือเปล่า อะไรทำนองนี้ใช่ไหมละครับ ? เเต่เเท้จริงเเล้วไม่ใช่เลยนะครับ! ตรงกันข้ามด้วยซ้ำไป
.
เเล้ว Guerrilla Marketing คืออะไรล่ะ?
Guerrilla Marketing หมายถึงการการตลาดที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้าง Surprise หรือความประหลาดใจให้กับผู้คน มักจะใช้กันในที่สาธารณะ โดยมีจุดเด่นที่การใช้งบประมาณที่น้อย แต่สามารถสร้าง impact ได้อย่างกว้างขวาง จนเกิดเป็นการบอกปากต่อปาก และเป็นกระแสไวรัลขึ้นมาได้
ตัวอย่างที่เห็นกันได้ชัดเลยคือ McDonald’s ในอเมริกา ที่เปลี่ยนทางม้าลายสีเหลืองเป็นเฟรนช์ฟรายส์ของตัวเอง
หรือ Hopi Hari สวนสนุกในบราซิล ที่นำรูปคน 2 คนกำลังชูมือ มาแปะบนบันไดเลื่อนแต่ละขั้น
พอบันไดเลื่อนทำงาน ก็ดูเหมือนคนเหล่านั้นกำลังเล่นรถไฟเหาะ
Nike ที่นำที่นั่งของเก้าอี้ตัวหนึ่งในสาธารณะออกและติดโลโก้ Nike บนพนักพิง (โปรโมทให้คนออกไปวิ่ง)
น้ำหอม Axe เคยนำรูปกลุ่มผู้หญิงกำลังวิ่ง ไปต่อจากป้ายหนีไฟสีเขียวแล้วแปะคำว่า “Axe” สื่อว่าชายในป้ายหนีไฟนั้นหอมจนผู้หญิงต้องวิ่งตาม
ไอศกรีมกูลิโกะ” ทำการตลาดกองโจรที่สร้างสรรค์ ใช้ทุนน้อย อาศัยการบอกต่อของผู้บริโภค ผลิตสินค้าออกมาจำนวนน้อย ทำให้กลายเป็นสินค้าหายาก คนอยากกินก็ต้องตามหาพิกัดซื้อ สร้างกระแสได้มากทีเดียว!
โออิชิ ออกสินค้าหน้าตาเหมือน “เย็นเย็น” ของอิชิตัน นั่นคือ “จับใจ” หลังจากอิชิตันได้ทุ่มงบโฆษณาให้คนรู้จัก แต่โออิชิเพียงแค่เกาะแสตลาด ไม่ต้องเสียเงินมาก
airasia ใช้ “ณเดชน์” เป็นพรีเซนเตอร์พร้อมพูดสโลแกน “ณเดชน์ติดใจแอร์เอเชีย” แล้วข้างๆ ก็มีนกแอร์ขึ้นป้าย “แต่ขึ้นนกแอร์” เป็นรูปที่ถูกแชร์มากที่สุดรูปหนึ่ง
Kit Kat ติดป้ายโฆษณาที่ไม่ซ้ำกันบริเวณป้ายรถเมล์ ภายในป้ายจะมีเครื่องสั่นนวดอยู่ข้างใน เพื่อให้คนที่กำลังรอรถเมล์ไปยืนพักและพิงนวดกับป้ายโฆษณา Kit Kat เป็นการตลาดที่สร้างความสนใจจากผู้บริโภคได้ดีมาก
ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ Guerrilla Marketing เน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คนบอกปากต่อปาก และแม้จะต้องใช้ budget ในการทำอยู่บ้าง แต่ก็ย่อมน้อยกว่าการสร้างแคมเปญใหญ่ๆ อลังการแน่นอน แต่อย่าลืมว่ากลยุทธ์นี้อาจอยู่ได้ไม่นาน เมื่อคนเห็นจนชินตา หรือได้กิน ได้ใช้บ่อย จนเบื่อแล้ว และก็ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป ผู้บริโภคก็อาจจะรู้สึกว่ามันเป็นแค่เทคนิคการตลาดเท่านั้น
.
นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อกลยุทธ์ “Guerrilla” ที่หมายถึงการซุ่มโจมตี แบบที่เป้าหมายไม่ได้ทันระวังตัวนั่นเอง ไม่ควรใช้บ่อยจนผู้คนจับทางได้
.
และในสถานการณ์ขั้นวิกฤตตอนนี้ ที่แบรนด์ต่างๆ ต้องใช้งบกันอย่างระมัดระวัง กลยุทธ์ที่ว่ามานี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยนะครับ
เเล้วหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs บอกผมหน่อยสิครับ ว่า คุณมีความคิดในการใช้ Guerilla Marketing แบบไหน ยังไงบ้างครับ