หลังจากที่เป็นประเด็นร้อนแรงอย่างมากใน social media เรื่องข่าว Fake news ที่โจมตีเเเบรนด์นมข้นหวาน ชื่อดัง เมื่อวัน 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการเเถลงข่าวการจับกุมขบวนการสร้างข่าวปลอมใส่ร้ายเเบรนด์นมข้นหวานชื่อดัง ตราดอกไม้ของไทย
โดยตัวเเทนบริษัทนมข้นหวาน ได้เข้ามาเเจ้งความไว้กับกองปราบปราม หลังพบว่าเฟซบุ๊ค ชื่อ ฉาว ต้อง แฉ นำข้อมูลเท็จมาใส่ร้ายบริษัท เเละจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ทราบว่าแอดมินเพจดังที่ว่าเป็นเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการวางแผนทำลายภาพลักษณ์บริษัทนมข้นหวานคู่กรณี นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้สมรู้ร่วมคิดอีก 10 คน ซึ่งทั้งหมดได้ถูกว่าจ้างมาจากนายทุนใหญ่
การบิดเบือนข้อเท็จจริงออกไปสู่สาธารณชน ทำลายภาพลักษณ์ของบริษัทคู่แข่ง
.
ขบวนการนี้เริ่มตั้งเเต่การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อหาจุดอ่อนมาทำลายภาพลักษณ์ของบริษัทผู้เสียหาย หลังจากนั้นได้มีการให้ผู้ร่วมขบวนการไปยื่นหนังสือตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัทผู้เสียหายกับหน่วยงานของรัฐ เเละให้บุคคลที่ 3 นำผลการตรวจสอบที่ได้มาไปเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริงนี้ออกไปสู่สาธารณชน ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลัษณ์ของบริษัทผู้เสียหาย ซึ่งบุคคลที่ 3 ที่ว่าก็ไม่ได้ตามหาตัวจับกันได้ง่าย ๆ เพราะมันทำกันเป็นขบวนการ
การวางแผนที่จะเเก้ไขสถานการณ์ ถ้าบริษัทผู้เสียหายเเจ้งความ
ซึ่งถ้าเผยเเพร่ข่าวออกไปแล้ว ก็สามารถติดต่อเข้าไปหาบริษัทผู้เสียหายได้ เพื่อที่จะเสนอเเนวทางการแก้ไข ถ้าบริษัทผู้เสียหายตกลงจ้างงานเพจ ทางเพจก็จะให้บุคคลที่นำข่าวที่เคยเผยเเพร่ออก ถือว่าเป็นการเเก้ปัญหาไปได้อีกหนึ่งทาง เเละได้มีการวางแผนที่จะเเก้ไขสถานการณ์ไว้หมดเเล้วว่าถ้าทางบริษัทผู้เสียหายเเจ้งความกลับจะทำอย่างไรต่อ
.
โดยจุดมุ่งหมายหลักในกระบวนการครั้งนี้ คือ ต้องการที่จะให้บริษัทคู่ค้า คู่เเข่ง เลิกขายสิ่ง ๆ นั้นไป หรือพูดง่าย ๆ ว่าเจ๊ง ๆ ไปซะ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน
.
ลองนึกภาพตามนะครับ พวกเขาถูกจ้างมาให้โปรโมทสินค้าให้กับบริษัท A ทำให้บริษัท A มียอดขายเพิ่มขึ้น มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น วิธีการที่พวกนี้ใช้ก็ง่าย ๆ เลยครับคือการทำให้อีกบริษัทที่เป็นคู่เเข่งมีชื่อเสียงในด้านลบ มีภาพลักษณ์ที่เเย่ ๆ เพียงเท่านี้พวกเขาก็สามารถเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท A ได้เเล้ว โดยที่ไม่ต้องทำอะไรมากมาย เเละเมื่อส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทคู่เเข่งนั้นหายไป ผู้บริโภคก็จะหันมาซื้อสินค้าอีกแบรนด์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกันแทน ส่งผลให้ยอดขายของบริษัท A เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปทำการตลาดอะไรเลย
ทำแบบนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่เราเรียกกันว่า IO (Information Operation) เลยนะครับ เรื่องนี้ผมเคยเขียนเอาไว้เมื่อปีก่อน ช่วงที่กระแส IO กำลังดัง ใครอยากอ่าน ว่ามันเกี่ยวข้องกับการตลาดยังไง ลองอ่านกันดูนะครับสามารถคลิกลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
.
IO คืออะไร ทำไมนักการตลาดต้องรู้จักมัน ? (ninjakantalad.com)
.
เเต่สำหรับในกรณีนี้ ผมว่าการทำแบบนี้ไม่ดีเลยนะครับ ผู้ประกอบการธุรกิจที่ดี ไม่ควรทำ การที่เราจะเอาชนะคู่เเข่งนั้นมีอีกหลายวิธีนะครับ เเล้ถ้ายิ่งเราเอาชนะเขามาได้ด้วยความโปร่งใส คุณว่ามันไม่น่าภูมิใจหรือน่ายกย่องกว่าหรอครับ