ในปัจจุบันนี้เราทุกคนมองว่า การสร้างความเเตกต่าง คือ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เเบรนด์นั้นประสบความสำเร็จได้ ถ้าเราฉีกกฎออกจากทุกคน ไม่เหมือนใคร เเละคิดค้นมันได้ก่อน เหมือนอย่าง Apple เจ้าของสโลเเกน Think Different ที่สามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์เเละอุปกรณ์การสื่อสารให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เเต่ก็ต้องยอมรับว่า ในโลกของธุรกิจนั้นเต็มไปด้วยความหลากหลาย ไม่ใช่ทุกเเบรนด์ที่จะเลือกทำสิ่งที่เเตกต่างเพื่อให้เเบรนด์ประสบความสำเร็จ เเละมีอีกหลาย ๆ เเบรนด์ที่เลือกใช้ทางลัดในการก้าวขึ้นไปสู่ความสำเร็จ ด้วยการออกแบบสินค้าให้มีหน้าตา, คุณสมบัติ คล้ายหรือใกล้เคียงกับเจ้าที่กำลังเป็นผู้นำในตลาด
.
กลยุทธ์เเบบนี้ เขาเรียกกันว่า Me – Too Marketing หรือ กลยุทธ์การตลาดที่เห็นคนอื่นทำเเล้วดี ก็ขอทำตามด้วยคน อย่างที่เราเห็นกันเยอะ ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น ยาสระผม สบู่ เครื่องดื่มรสชาติต่าง ๆ ขนมเเละอีกเยอะเเยะมากมาย
.
จนในปันจุบัน กลยุทธ์ Me – Too Marketing เนี่ยนะครับได้ก้าวเข้ามาถึงขั้น ทำเทคโนโลยี, เเพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ , อีคอมเมิร์ซ เเละสตรีมมิ่ง ออกมาหน้าตาเหมือน ๆ กัน ระบบต่าง ๆ ก็เเทบจะเหมือนกันไปหมด
ผู้บริโภคจะตระหนักกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
สำหรับในกรณีตัวผู้บริโภคเองก็ไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องที่เสียหายอะไร หรือทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับแบรนด์ ที่ใช้กลยุทธ์นี้เสมอไป แต่กลับคุ้นชินด้วยซ้ำกับการที่มีสินค้าชนิดเดียวกันหรือมีคุณสมบัติ เหมือนกัน มากมายเป็นตัวเลือก
ลองนึกภาพเวลาไปร้านค้า หรือซูปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อซื้อน้ำปลา หรือ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ จะเห็นว่า ชั้นวางเรียงรายไปด้วยสินค้าชนิดเดียวกันมากมาย เเถมบางแบรนด์ยังออกแบบหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน กับเเบรนด์ยอดนิยม เเต่ว่าขายในราคาที่ถูกกว่า ถ้าไม่สังเกตดี ๆ เราอาจจะเผลอหยิบผิดกันได้เลยนะครับ…
.
หรือถ้าเป็นในโลกโซเชียล ตัวฟีเจอร์สตอรี่ หรือฟีเจอร์การอัดหรือเเชร์วิดีโอสั้น ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากแอปใดสักแอปหนึ่ง เเต่ว่าตอนนี้มันกลับกลายเป็นฟีเจอร์หลัก ๆ พื้นฐาน ที่หลาย ๆ เเพลตฟอร์มมองว่า มันต้องมีติดไว้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, YouTube, Instagram
.
เเต่ถ้าถามว่า ทำไมบางเเบรนด์ถึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ Me- Too Marketing เป็นทางลัดในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จากที่ผมลองประเมินดู ก็น่าจะมีอยู่ 2 เหตุผลหลัก ๆ ด้วยกันครับ
1. การทำตามย่อมง่ายกว่าทำเองอยู่เเล้ว อย่าลืมว่าการจะพัฒนาสินค้าหรือฟีเจอร์ใหม่แต่ละครั้ง
นอกจากจะต้องตั้งต้นจากการหา Pain Point หรือ ความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงให้เจอ ยังต้องมารอลุ้นกันอีกทีว่า สินค้า บริการ หรือฟีเจอร์นั้น จะเป็นที่ถูกใจของตลาดหรือเปล่า ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจสตรีมมิง ถ้าย้อนไป 10 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครเชื่อว่า วันนี้ เราจะเข้าถึงหนัง, ซีรีย์ความบันเทิงที่มากมายได้เเค่เพียงปลายนิ้ว เราสามารถที่จะชมหนัง-ซีรีส์ที่ถูกลิขสิทธิ์ได้อย่างไม่จำกัด ด้วยการจ่ายค่าบริการรายเดือนหลักร้อย เเถมยังสามารถหารกันเพื่อให้ราคาถูกลงได้อีก อย่างที่เรารู้จักกันเลยอย่าง Netflix ที่เข้ามาเป็นเจ้าแรก ๆ มาบุกตลาดจนประสบความสำเร็จเเละในปัจจุบันมีฐานผู้ชมทั่วโลกกว่า 207 ล้านบัญชี เเละก็มีผู้ให้บริการสตรีมมิงมากมาย ที่เข้ามาเเข่งขันช่วงชิงส่วนเเบ่งทางการตลาด เช่น Disney+, WeTV, IQIYI เป็นต้น
2. เจาะตลาดได้ง่ายกว่า
เพราะอย่างน้อย ๆ พวกเขาก็เห็นแล้วว่า สินค้าหรือบริการแบบไหน ที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาด ดังนั้น ก็มีความเป็นไปได้ว่า ถ้าเลือกออกสินค้าหรือบริการที่กำลังฮิตหรือเป็นที่ต้องการในตลาด นอกจากจะไม่ต้องเทงบการตลาดไปกับการให้ความรู้และสร้าง Brand Awareness โอกาสเสี่ยงหรือเจ็บตัวก็น้อยลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนปัจจุบัน คือ น้ำดื่มผสมวิตามิน ที่มีกันเยอะมาก เรียงรายกันเป็นเเถว ๆ มันเป็นตลาดที่กำลังร้อนแรง เเละหลายแบรนด์ก็ต่างเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด จนตอนนี้ ถ้าเดินเข้าไปตามร้านสะดวกซื้อจะเห็นว่า มีตัวเลือกมากมาย จนหลายคนเลือกไม่ถูกเลยทีเดียว
.
ซึ่งบางแบรนด์เอง ต้องงัดกลยุทธ์เด็ด ๆ ต่าง ๆ ของตัวเองออกมาสู้ มาเเก้เกมในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้พรีเซนเตอร์เพื่อสร้างการจดจำ อัดงบโปรโมท หรือ ใช้กลยุทธ์ในการทำราคาที่ต่ำกว่า เพื่อสู้กับแบรนด์คู่แข่ง
เพราะฉะนั้น ถ้าจะถามว่า กลยุทธ์ Me – Too Marketing มันดีตรงไหน ?
สำหรับผมมันดีครับ ดีกับตลาดและผู้บริโภคอย่างเรา ๆ นี่เเหละ เพราะยิ่งมีการแข่งขันในตลาดมากเท่าไรนั่นก็หมายความว่า แต่ละแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ต้นเเบบ หรือแบรนด์ที่ขอยืมไอเดียแบรนด์คนอื่นมาทำให้ใกล้เคียง ก็หยุดนิ่งไม่ได้ต้องขยันพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้ยิ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด อยู่ตลอดเวลา เเละที่สำคัญ การที่มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดเรื่อย ๆ ก็ทำให้ตลาดยิ่งคึกคักซึ่งสุดท้าย ผลดีก็ตกอยู่ที่ผู้บริโภค ที่จะทำให้มีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ตรงใจ ในราคาที่เข้าถึงได้
.
ซึ่งแน่นอนเลยครับว่า หากแบรนด์คู่แข่งใช้กลยุทธ์นี้ ย่อมสร้างความหนักใจให้กับคนที่เป็นผู้ริเริ่มและสร้างไอเดียเป็นคนเเรกเเน่ ๆ เพราะแม้ การเป็นแบรนด์ที่มาก่อน จะทำให้เกิดภาพจำในใจลูกค้าหรือ บางแบรนด์ อาจจะมีโอกาสครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ได้ก็จริง แต่ก็ต้องเหนื่อยกับการต่อยอดจุดแข็ง ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ยากเพื่อจะกันการลอกเลียนแบบ หรือ คิดหารูปแบบต่าง ๆ นา ๆเพื่อที่จะทำให้ยังครองส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้
แล้วถ้าเราเลือกที่จะเป็นผู้ตามล่ะ ?
ส่วนในมุมของแบรนด์ที่เลือกเป็นผู้ตามนะครับ ถ้าคุณอยากจะสลัดภาพแบรนด์ที่มาทีหลังออก ก็ต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองหยุดอยู่เเค่นั้น หรือทำตามเขาไปเรื่อย ๆ อย่าอาศัยเเต่กลยุทธ์การทำราคาที่ถูกกว่า หรือ การจัดโปรโมชันเพื่อสร้างยอดขาย เพราะการทำเเบบนี้ นอกจากจะไม่เป็นการดีต่อการสร้างแบรนด์ในระยะยาวเเล้ว ในทางกลับกัน แบรนด์อาจจะต้องศึกษา Know-How แล้วนำมาต่อยอดพัฒนาสินค้าหรือบริการ ที่มีเอกลักษณ์หรือจุดแข็งเฉพาะตัว ของตัวเองในอนาคต
.
ทุกคนคงรู้เเล้วใช่ไหมครับ ว่า กลยุทธ์ Me – Too Marketing ก็เหมือนกับ ดาบสองคมเเหละครับ ที่มีทั้งคุณและโทษอยู่ในอันเดียวกัน ทุกคนต้องทำความเข้าใจ เเละใช้มันอย่างมีสติเเละระมัดระวังนะครับ เเล้วทุกคนละครับคิดว่า กลยุทธ์ Me -Too Marketing นั้นเป็นยังไงในมุมมองของเเต่ละคน ลองคอมเมนต์มาพูดคุยกันได้นะครับ