fbpx

ม้วนเดียวจบ NFT ช่องทางสร้างรายได้รูปแบบใหม่ กับการขายทรัพย์สินดิจิทัล

Home » ม้วนเดียวจบ NFT ช่องทางสร้างรายได้รูปแบบใหม่ กับการขายทรัพย์สินดิจิทัล

ม้วนเดียวจบ NFT ช่องทางสร้างรายได้รูปแบบใหม่ กับการขายทรัพย์สินดิจิทัล

ก่อนหน้านี้หลาย ๆ คนอาจได้ยินเรื่องสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin, Dogecoin หรือระบบการเงินแบบ DeFi เเละ Cryptocurrency ที่มีการพูดถึงกันในโซเชียลมีเดียอย่างมากมาย เเต่ตัว Cryptocurrency นั้นพิเศษกว่าใคร เพราะไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของสกุลเงินเท่านั้น แต่ยังมีทรัพย์สินที่เราสามารถสร้างขึ้นบนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ ผลงานเกม ที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ NFT (Non-Fungible-Token)

หลายคนคงจะคุ้น ๆ กับคำนี้กันใช่ไหมละครับ เพราะ “NFT” กลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง และได้รับความสนใจอย่างมากจากเหล่านักลงทุนรุ่นใหม่ เมื่อ Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter ได้ประกาศขายทวีตแรกของตนเองในรูปแบบ NFT โดยสามารถปิดราคาไปได้ที่ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว ๆ 90 ล้านบาท ในตอนนี้ทุกคนอาจเกิดคำถามในใจว่า NFT คืออะไรกันแน่ ? ทำไมถึงสามารถสร้างมูลค่าได้สูงขนาดนั้น วันนี้นินจาการตลาดนจะพาคุณไปคลายข้อสงสัยกันว่า NFT ทรัพย์สินดิจิทัลตัวนี้มันคืออะไร และเป็นมายังไง ?

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

  1. NFT (Non-Fungible-Token) เป็นหนึ่งใน Cryptocurrency ที่มีเอกลักษณ์คือสามารถสร้างทรัพย์สินที่มีแค่ชิ้นเดียวในโลก เเละไม่มีใครสามารถทำซ้ำได้ ตัวทรัพย์สินประเภท NFT นี้หากเราต้องการจะขายให้กับคนอื่น ๆ จะต้องขายเป็นเหรียญแบบเต็มจำนวน ไม่สามารถแบ่งย่อยชิ้นได้ ตัวอย่าง ถ้าหากคุณนำทรัพย์สินที่เป็นรูปภาพมาทำเป็น NFT ตอนจะขายต้องขายทั้งรูป แยกขายเฉพาะชิ้นส่วนของภาพไม่ได้
นินจาการตลาด

2. NFT ก็เปรียบเสมือนใบรับรองดิจิทัล ที่เข้ามาทำหน้าที่รักษา “ความเป็นต้นฉบับ” ของผลงานว่ามีเพียงชิ้นเดียว ทำทดแทนขึ้นมาใหม่ไม่ได้ โดยมันจะบันทึกอยู่ในระบบที่เรียกว่า Blockchain โดยทุกคนสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้นมีใครเป็นเจ้าของบ้าง

 

 

นินจาการตลาด

3. NFT ในช่วงแรก ๆ นั้นนิยมนำมาใช้ในแวดวงศิลปะ โดยนำภาพวาด งานศิลปะ ประติมากรรม เพลง วิดีโอ เกม การ์ตูน ฯลฯ ที่เป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้สร้างมาเปลี่ยนเป็น NFT หรือที่ภาษาเทคนิคเรียกว่าการ “มินท์”

นินจาการตลาด

4. งานศิลปะต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด ภาพถ่าย ภาพมีม กราฟิกศิลปะ การ์ดเกม ฯลฯ เมื่อนำไปแปลงเป็นโทเคน (Token) เข้าสู่ NFT จะถูกเรียกว่า “Crypto Arts” (งานศิลปะเข้ารหัส) จะกลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าสามารถซื้อ-ขายได้ 

โดยมีการประมูลขาย คริปโตอาร์ตต่างๆ มาแล้วมากมาย เช่น ภาพมีมในตำนาน “Disaster Girl” 

เด็กหญิงวัย 4 ขวบ ที่หันหน้ามามองกล้อง ในขณะที่ฉากหลังเป็นภาพบ้านกำลังถูกไฟไหม้ เธอได้ตัดสินใจขายรูปของตนเองในรูปแบบ NFT และมีผู้ซื้อไปในมูลค่าราว 15 ล้านบาท

นินจาการตลาด

5. เมื่อ “มินท์” งานศิลปะมาอยู่ในรูปแบบ NFT แล้วมันจะกลายเป็น “เหรียญ” หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล ที่ผู้ถือครองเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นได้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเราจะได้ “กรรมสิทธิ์” ของเหรียญนั้นมา แต่ไม่ได้สิ่งของชิ้นนั้น (เว้นแต่เจ้าของผลงานต้องการส่งมอบให้จริงๆ เป็นกรณีพิเศษ)

นินจาการตลาด

6. เมื่อเราได้ครอบครอง NFT ของผลงานนั้น ๆ แล้ว เราสามารถซื้อขาย โอนย้ายกรรมสิทธิ์บนระบบ “บล็อกเชน” ได้เลยระหว่างคนที่ต้องการซื้อและคนที่ต้องการขายแบบไม่มีคนกลาง

นินจาการตลาด

7. ข้อดีของการซื้อขายผ่าน “บล็อกเชน” คือ ทุกกิจกรรมหรือธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมดในแบบที่ไม่สามารถมาแก้ไขได้ หรือหากมีคนพยายามแก้ไข ก็สามารถตรวจสอบได้ ตรวจสอบประวัติการโอนย้ายได้ทั้งหมด ถึงขั้นรู้ว่าใครเคยเป็นเจ้าของ NFT มาก่อนหน้าเราบ้าง

นินจาการตลาด

8. แพลตฟอร์มของ NFT ที่ใช้สำหรับซื้อ-ขาย สินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ ก็มีมากมายหลายเว็บไซต์ ซึ่งต่างก็เป็นแหล่งสะสมผลงานที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน เช่น OpenSea แหล่งคริปโตอาร์ตที่มีชื่อเสียง ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถแปลงงานของตัวเองสู่ดิจิทัล และตั้งราคาเองได้ หรือ Valuables แพลตฟอร์มผลงานศิลปะ ที่มีการซื้อ-ขาย ทวีตแรกของโลกในราคาราว 90 ล้านบาทนั่นเอง

นินจาการตลาด

9. การที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะ และแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อนำไปลงไว้ในแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย รูปแบบ NFT ก็อย่าลืมศึกษาเรื่อง “Gas Fee” หรือ ค่าธรรมเนียม สำหรับการนำข้อมูลไปลงไว้ในแต่ละระบบ Blockchain โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็มีเงื่อนไข และค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน บางเว็บอาจต้องจ่ายเป็นบิตคอยน์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ผู้สนใจลงทุนด้าน NFT ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนทุกครั้งเสมอนะครับ

นินจาการตลาด

เมื่อใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ เเล้วมีความคิดที่อยากจะทำ NFT ขึ้นมา เเต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง ต้องทำอะไรก่อนเป็นอันดับเเรก ไม่ต้องกังวลครับ นินจาการตลาดเตรียมไว้ให้คุณเรียบร้อยเเล้ว

 

อยากเริ่มต้นทำ NFT ไม่ใช่เรื่องยาก – Google เอกสาร

 

เเละสำหรับเรื่องของทรัพย์สินแบบ NFT ในตอนนี้อาจยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่เทรนด์ของ NFT ในอนาคตต่อจากนี้คงจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเเน่นอนครับ เพราะในตอนนี้มันก็กำลังที่จะขยายไปสู่วงการอื่น ๆ  เช่น ทรัพย์สินในการเงิน การลงทุน หรือแม้กระทั่งการถือครองอสังหาริมทรัพย์ NFT ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเเล้ว เเละ นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เราได้เรียนรู้กับสิ่งใหม่ ๆ นี้ หรือการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง ที่จะช่วยสร้างรายได้ นอกเหนือจากการทำงานประจำอีกทางหนึ่ง หลังจากนี้คงต้องรอติดตามกันยาว ๆ ว่าจะมีอะใหม่ ๆ มาให้เราได้ศึกษากันอีกบ้าง 

 

 

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด
และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก