fbpx

Freepik คลังแสงแห่งรูปภาพ ที่สร้างรายได้หลักพันล้าน

Home » Freepik คลังแสงแห่งรูปภาพ ที่สร้างรายได้หลักพันล้าน

Freepik คลังแสงแห่งรูปภาพ ที่สร้างรายได้หลักพันล้าน

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักแพลตฟอร์มยอดนิยมของคนทำงานกราฟิกอย่าง Freepik 

แพลตฟอร์มที่ครอบคลุมและพร้อมให้คุณได้เข้ามาดาวน์โหลดรูปภาพต่าง ๆ มากมายไปใช้ มีหลากหลายแนวเกินกว่าจะนับไหว จนทำให้ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Freepik มากมาย โดยในหนึ่งปีมีผู้เข้าใช้งานแพลตฟอร์ม Freepik ถึง 1,000 ล้านครั้งเลยเดียว

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

แล้วเรื่องราวของบริษัท Freepik นั้นเป็นมายังไง? ทำไมถึงได้กลายมาเป็นคลังแสงรูปภาพที่มีรายได้หลักพันล้าน ? วันนี้นินจาการตลาดจะมา #สรุปให้ในโพสต์เดียว

นินจาการตลาด

1. สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ Freepik นะครับ จะบอกให้ว่า Freepik นั้นเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมของเหล่าคนทำงานด้านกราฟิก เอาไว้สำหรับดาวน์โหลดรูปต่าง ๆ มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ไอคอน, แบคกราวด์, หรือจะเป็นรูปแนว Vector ก็มีนะครับ

นินจาการตลาด

2. นอกจาก Freepik จะให้คนเข้ามาดาวน์โหลดรูปภาพได้แล้ว Freepik ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถนำรูปภาพของตัวเองมาอัปโหลดและขายใน Freepik ได้อีกด้วย

นินจาการตลาด

3. โดยแพลตฟอร์ม Freepik นั้นถูกก่อตั้งในปี 2010 ที่มาลากา ประเทศสเปน ก่อตั้งโดยคุณ Joaquín Cuenca และสองพี่น้อง Alejandro กับ Pablo Blanes แต่ก่อนหน้าที่พวกเขาจะมาก่อตั้ง Freepik พวกเขาเคยก่อตั้ง Panoramio มาก่อน ซึ่งเป็นบริการรับฝากรูปภาพพร้อมกับใส่พิกัดของภาพลงบนแผนที่โลก แต่ได้ขายกิจการให้กับ Google ไปแล้ว

นินจาการตลาด

4. จุดเริ่มต้นในการเริ่มทำ Freepik นั้นเรียกได้ว่าไม่มีอะไรที่แปลกหรือเซอร์ไพรส์เท่าไหร่นัก เพราะ Freepik นั้นเกิดมาจากไอเดียของคุณ Alejandro Blanes ที่ในตอนนั้นเขาเห็นว่าไม่มีแพลตฟอร์มไหนที่อนุญาตให้เหล่ากราฟิกสามารถเข้าไปค้นหาหรือดาวน์โหลดรูปที่ตัวเองต้องการใช้ได้แบบฟรี ๆ เลย ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาสำหรับใครหลาย ๆ คนเลย เขาเลยนำไอเดียนี้ไปบอกกับ คุณ Pablo Blanes และคุณ Joaquín Cuenca ฟัง พวกเขาก็เห็นว่ามันเป็นไอเดียที่ดีมาก และทั้งสามคนก็ได้ร่วมกันสร้าง Freepik ขึ้นมา

นินจาการตลาด

5. แต่จริงแล้ว ๆ รูปแบบของแพลตฟอร์ม Freepik ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดาวน์โหลดรูปภาพไปใช้งานได้ ก็ถือว่า ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่อะไรมากนักในตอนนั้นเพราะก่อนหน้าที่ Freepik จะเกิดขึ้นก็มีแพลตฟอร์มในลักษณะคล้าย ๆ กันเกิดขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น Shutterstock

นินจาการตลาด

6. แต่สิ่งที่ทำให้ Freepik สามารถเข้ามาแย่งส่วนแบ่งในตลาดได้ ก็เป็นเพราะว่าภาพกว่า 40% ใน Freepik สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี เพียงแค่ต้องใส่เครดิตเท่านั้นเอง

นินจาการตลาด

7. ซึ่งแตกต่างจาก Shutterstock อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่า Shutterstock จะเป็นแพลตฟอร์มหลายใหญ่ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ แต่รูปภาพ, วิดีโอ และเพลงในแพลตฟอร์มจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้หลาย ๆ คนเริ่มหันไปเทใจให้ Freepik แทน

นินจาการตลาด

8. แม้ว่า Freepik จะมาทีหลัง Shutterstock ถึง 7 ปี แต่ Freepik นั้นก็ได้รับความนิยมไปไม่น้อยเลยทีเดียว แม้กระทั่งบริษัทชั้นนำระดับโลกเอง ก็ยังหันมาใช้ Freepik  ไม่ว่าจะเป็น NASA, Amazon, FedEx, Microsoft และ Spotify

นินจาการตลาด

9. อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ คือ Financial Times เคยจัดอันดับให้บริษัท Freepik เป็นหนึ่งในสตาร์ตอัปที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป รวมถึงยังเป็นสตาร์ตอัปหนึ่งเดียวจากประเทศสเปน ที่ติดอยู่ในการจัดอันดับนี้

นินจาการตลาด

10. โดย Financial Times ได้ระบุรายได้ของบริษัท Freepik ว่า

 

ปี 2015 รายได้ 219 ล้านบาท

 

ปี 2016 รายได้ 300 ล้านบาท

 

ปี 2017 รายได้ 465 ล้านบาท

 

ปี 2018 รายได้ 661 ล้านบาท

 

ปี 2019 รายได้ 1,204 ล้านบาท

 

คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 53% ต่อปี

นินจาการตลาด

11. โดยโมเดลธุรกิจของ Freepik นั้นจะเป็นแพลตฟอร์มประเภท “Freemium” ที่แม้ว่าจะมีการเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดาวน์โหลดรูปไปได้ฟรี ๆ  แต่มีข้อจำกัดวันละไม่เกิน 10 ภาพ และจะต้องใส่เครดิตในภาพที่นำมาใช้ด้วย

นินจาการตลาด

12. แต่ตัวบริษัทเองก็ยังมีรายได้มาจากค่าสมัครสมาชิก เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการดาวน์โหลดภาพได้ถึง 100 รายการต่อวัน และผู้ใช้งานยังสามารถดาวน์โหลดภาพพิเศษ หรือที่เรียกว่าภาพพรีเมียมไปใช้งานได้โดยไม่ต้องใส่เครดิตด้วยนะครับ

นินจาการตลาด

13. ปัจจุบัน Freepik มีคนเข้ามาเยี่ยมชมแพลตฟอร์มเฉลี่ยอยู่ที่ 85 ล้านครั้งต่อเดือน และมีผู้ใช้งานที่ไม่ซ้ำกันถึง 32 ล้านบัญชีต่อเดือน ซึ่งในแต่ละเดือนก็มียอดดาวน์โหลดรูปภาพมากกว่า 110 ล้านครั้ง โดยในตอนนี้ Freepik มีรูปภาพต่าง ๆ รวมกันในแพลตฟอร์มมากถึง 10 ล้านรายการ

นินจาการตลาด

14. นอกเหนือจากความสำเร็จของแพลตฟอร์ม Freepik แล้ว บริษัทก็ยังเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีก เช่น Flaticon ฐานข้อมูลไอคอน และสติกเกอร์ที่ใหญ่สุดในโลก และ Slidesgo แพลตฟอร์มที่รวบรวมเทมเพลตสำหรับทำ Google Slides และ PowerPoint

นินจาการตลาด

15. สำหรับในปัจจุบัน บริษัท Freepik ได้เปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ จากเหล่าผู้ก่อตั้งเป็น EQT Mid Market Europe โดย EQT เป็นองค์กรด้านการลงทุน ซึ่งจะมีกองทุนในเครือหลายกองทุน เพื่อใช้ลงทุนในบริษัทต่างๆ สำหรับ EQT Mid Market Europe จะเป็นกองทุนที่ใช้ลงทุนในบริษัทขนาดกลาง และมีศักยภาพสูงในยุโรปเหนือ  อย่างไรก็ตามผู้ก่อตั้งทั้ง 3 ก็ยังคงถือหุ้นบางส่วนอยู่ในบริษัท และยังรับผิดชอบในการพัฒนา รวมถึงการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ เหมือนเดิม โดยสาเหตุที่ทั้งสามผู้ก่อตั้ง ตัดสินใจขายหุ้นให้กับ EQT Mid Market Europe ก็เนื่องจากพวกเขาต้องการเงินทุน ที่จะมาช่วยในการขยายกิจการให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น

นินจาการตลาด

ทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของ Freepik แพลตฟอร์มที่เริ่มต้นจากความคิดความต้องการที่จะจัดการกับปัญหาง่าย ๆ ที่เราเจออยู่รอบตัวและอยากที่จะแก้ไขมัน จนสามารถทำมันได้สำเร็จและสร้างรายได้หลักพันล้าน  ผมก็อยากบอกทุกคนที่กำลังคิดจะทำธุรกิจหรือทำอะไรสักอย่าง ไม่ต้องคิดให้ไกลตัวมากนัก ลองมองอะไรใกล้ ๆ ตัวดูบ้าง อะไรที่มันเป็นปัญหาและยังไม่มีอะไรที่จะมาจัดการกับมันได้ ลองนึกกันดูดีนะครับ

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด
และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก