fbpx

Ep.4 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

Home » Ep.4 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

Ep.4 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

100 ศัพท์การตลาด

Ep.4 : ทีมงานจะคุยกับผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการคุยกับเอเจนซี่ จะไปได้ดีต้องใช้ภาษาเดียวกัน.

ผ่านไปแล้ว 30 ศัพท์ จาก Ep.1, Ep.2 และ Ep.3 ที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้ว วันนี้มาเรียนรู้เพิ่มอีก 10 คำศัพท์นะครับ

.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.1”
.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.2”

.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.3”

.
“คุยอะไรกัน ภาษาต่างดาวเหรอเนี่ย”

ถ้าคุณเคยต้องดิวงานด้านการตลาดอยู่ แล้วมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณ ต้องรีบอ่านเนื้อหาที่นินได้นำมาให้ในวันนี้ทันทีเลยนะครับ

หลายครั้งที่การทำงานด้านการสื่อกสารการตลาดดิจิทัล หรือพูดง่ายๆ ว่าการทำตลาดออนไลน์ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง มีผลมาจากการทำงานที่ไม่เข้าใจกัน ทั้งลูกน้องกับหัวหน้าเอง หรือแม้แต่ตัวเจ้าของกิจการกับเอเจนซี่
.

คนนึงพูดด้วยภาษาการตลาดดิจิทัล อีกคนไม่เข้าใจนัยยะของมัน ซึ่งหลายๆ คำ ไม่สามารถอธิบายได้ในประโยคเดียว บางคำถึงขั้นต้องมีประสบการณ์ทำงานมาก่อนเลยทีเดียว ถึงจะเข้าใจ
.

วันนี้นินจาการตลาดเลยขอรวบรวมคำศัพท์การตลาดยุคใหม่ (ดิจิทัล) ที่สำคัญๆ มาเล่าให้พวกเราเข้าใจกัน เพื่อการพัฒนาของกิจการและการทำงานที่ยังยืนด้านการสื่อสารดิจิทัล

นินขอเริ่มจากคำแรกเลยนะครับ

นินจาการตลาด

Disruption.

คำนี้เป็นคำที่พูดกันมาสักระยะแล้วนะครับ น่าจะพอคุ้นเคยกันบ้าง ส่วนคนที่ไม่คุ้นเคยเลยก็ต้องขอบอกว่า เราใช้คำนี้กับมุมของด้านการตลาดคือ เป็นคำที่ใช้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจที่มีผลกระทบมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีผลต่อธุรกิจบางประเภท โดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน 
.
สินค้าที่ถูกการ Disruption นี้มีอยู่หลายสาขาหลายกลุ่มนะครับ ที่เห็นๆ กันเลยก็เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร คนเริ่มอ่านน้อยลง เพราะคนเริ่มอ่านผ่านมือถือตัวเองมากขึ้น ใช้คำว่ามากขึ้นอย่างรุนแรงได้เลยครับ ดังนั้นธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ปรับตัวได้เร็ว ก็จะทำให้อยู่รอดได้ในรูปแบบการปรับ Model ธุรกิจใหม่ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีหนังสือพิมพ์ให้ได้อ่านอยู่นะ แต่ก็เริ่มใช้สื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีเลยทีเดียว 
.
CD, MP3 แทบไม่ค่อยมีคนฟังแล้ว เพราะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Steaming อย่าง JOOK หรือ Spotify เข้ามาเป็นตัวเลือกให้คนฟังสะดวกมากขึ้นแล้ว
.
คู่แข่ง Nike ไม่ใช่แค่ Adidas หรือ Puma อีกต่อไปแล้ว Nike บอกว่า Steaming TV อย่าง Netflix ก็เป็นคู่แข่งของ Nike ด้วย เพราะอะไร ก็เพราะคนเลือกที่จะอยู่กับบ้านดู TV ไม่ออกจากบ้านไปออกกำลังกาย ดังนั้นสินค้าของ Nike ก็มีผลกระทบแน่นอน
.
ธุรกิจโรงแรมก็ถูก Disrupt โดย OTA อย่าง Agoda หรือ Airbnb ก็เข้ามาแย่ง Commission จากโรงแรมที่ต้องยอมแบ่งเงินรายได้ที่โรงแรมเคยได้ตรงๆ จากลูกค้าที่เข้าพัก แต่ต้องมาจ่ายส่วนแบ่งของธุรกิจให้กับ OTA ทั้งๆ ที่ OTA เหล่านั้นไม่ได้มี Asset เป็นของตัวเองเลย
.
SME อย่างเราๆ เอง ตอนนี้เรากำลังถูก Disrupt อยู่จากใครบางคนโดยที่ไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า ลองสำรวจดูตัวเองด้วยนะครับ

อัพเดตความรู้ด้านการสื่อสารการตลาดยุคใหม่ได้ที่ LINE@ นินจาการตลาด

นินจาการตลาด

Customer Insight.

Insight เขียนแบบนี้นะครับ ไม่ใช่ inside แบบ Intel Inside นะครับ
.
พอพูดถึง Intel Inside ก็เล่าเสริมแล้วกันว่า คนในยุค 90 จะคุ้นเคยกับคำพูด หรือ Message ที่เป็น Core หลัก ที่ทำให้ผู้คนสนใจและจดจำซิพประมวลผลตัวเล็กๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ เผลอๆ สนใจมันมากกว่าแค่คอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำไป ด้วยการสื่อสารโฆษณาอ้อมมาหา End User ด้วยคำว่า Intel Inside ทั้งๆ ที่ลูกค้าที่จ่ายเงินให้กับ Intel จริงๆ แล้วคือ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ แต่ Intel เลือกการสื่อสารที่กระตุ้นทางอ้อมไปยัง End User นั่นเอง
.
Customer Insight คือ ความเป็นจริง ความรู้สึกนึกคิด หรือความเป็นตัวตนของลูกค้าที่เค้าเป็นจริงๆ รู้สึกจริงๆ
.

สิ่งที่ลูกค้าอยากฟัง สิ่งที่แบรนด์อยากบอก

ถ้ายังจำภาพนี้ได้ ภาพที่แสดงให้เห็นว่าลูกค้าต้องการอยากฟังอะไร และแบรนด์อยากบอกอะไร ซึ่งโดยส่วนใหญ่มันมักอยู่คนละด้าน ดังนั้นการพูดแต่มุมของแบรนด์อย่างเดียว ก็จะไม่ทำให้ลูกค้ารู้สึกอย่างฟังอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องของตน
.
แต่ถ้าพูดในมุมของลูกค้าก่อนแล้วย้อนกลับมาพูดถึงแบรนด์แบบที่ลูกค้าตั้งใจรับฟังจากการดึงดูดใจลูกค้าด้วยการพูดในสิ่งที่เค้าอยากฟังก่อน ก็จะทำให้แบรนด์ถูกจดจำได้
.
ตัวอย่างที่ผมชอบยกเสมอๆ อันนึงก็คือ เมื่อเราต้องการจะชวนเพื่อนไปกินข้าว มีสองวิธีการให้เลือกด้วยกันดังนี้ คุณจะเลือกแบบไหน
.
1. นึกขึ้นได้ก็โทรเลย บอกเพื่อนว่า “เฮ้ยๆ แก ไปกินข้าวกัน”
.
กับอีกแบบคือ
.
2. ใช้เวลาขบคิดสักหน่อย ก่อนจะยกหูโทรศัพท์แล้วพูดว่า “เฮ้ยๆ แก ฉันเห็นพี่คนนี้เดินห้างนี้บ่อยว่ะ ไปกินข้าวกัน เผื่อเจอ”
.
อ่านแล้วคุณคิดว่าแบบไหน มีโอกาสที่เพื่อนจะไปกินข้าวกับเรามากกว่ากันครับ
.
แน่นอนครับ แบบที่สอง มีโอกาสสูงกว่าแบบแรก
.
ในตัวอย่างเรื่องนี้
– เพื่อน ก็เปรียบเสมือนลูกค้า
– โทรศัทพ์ก็เปรียบเสมือน Media
– ส่วนการพูดชวนด้วยวิธีการทั้งสองนั้นก็คือ Content นั่นเอง
.
แต่ความแตกต่างของทั้งสองวิธีการนี้คือ วิธีการแรก ใช้ Content ขายของโต้งๆ แบบไม่มีกลยุทธ์ ส่วนวิธีการที่สองคือ ใช้ Content พูดในมุมของลูกค้าก่อน ซึ่งนั่นก็คือ Customer Insight นั่นเอง เพื่อดึงให้ลูกค้าสนใจและมีใจไปกับสิ่งที่เราอยากจะบอกต่อจากนั้น แล้วตามด้วยการปิดการขายด้วยการชวนไปกินข้าว
.
แบบนี้แหล่ะที่เรียกว่าการขายของแบบรู้ Customer Insight
.
ลูกค้ามีหลายกลุ่มหลายแบบ เพื่อนของเราก็เช่นกัน มีหลายกลุ่มหลายแบบแตกต่างกันไป เพื่อนบางกลุ่มใช้เรื่องผู้ชายมาชักนำได้ แต่เพื่อนบางกลุ่มอาจต้องใช้เรื่องอื่นนะครับ
.
อันนี้เป็นหน้าที่ของนักการตลาดอย่างเราๆ นี่แหล่ะ ที่ต้องหา Customer Insight ให้เจอ
.
วิธีการหา Customer Insight ศึกษาได้ต่อจากที่นี่นะครับ
.

 

   Customer Insight คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ

นินจาการตลาด

Analytics.

คำนี้มาจากคำว่าหมายถึงเครื่องมือการวิเคราะห์ครับ
.

ซึ่งถ้าอยู่ใน Platform ของเครื่องมือการตลาดอย่าง Facebook หรือ Google จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้เรารู้ได้ว่าลูกค้าที่เข้ามาใน Platform ของเรา เราจะรู้ได้เลยว่าลูกค้านั้นๆ มีพฤติกรรมอย่างไร เข้ามาเมื่อไหร่ ออกเมื่อไร่ เข้ามานานแค่ไหน มีส่วนร่วมอย่างไร เช่น Google Analytics หรือ Facebook Analytics
.
หลายคนไม่เคยรู้ว่าก่อนว่า Facebook มี Analytics ด้วยนะครับ 
.
แนะนำนะครับว่าใครที่ยังไม่เคยเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้เลย อยากให้เริ่มทำไว้นะครับมันจะช่วยทำให้เราประเมิณได้ดีกว่าการไม่รู้เลยว่าลูกค้าของเราเป็นยังไง เราจะเห็นล่วงหน้าได้ว่าเราควรเอา Content แบบไหนมาเสริฟลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
.
ถ้าทำออนไลน์ยุคนี้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องวิเคราะห์ข้อมูลด้วยนำครับ

นินจาการตลาด

Carousel.

คำนี้จริงๆ แปลว่า ม้าหมุน

.
แล้วมันเกี่ยวกับออนไลน์ยังไง อยากให้ลองนึกภาพตามผมนะครับ สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จัก มันเป็นการโฟสต์แบบหลายๆ ภาพเรียงต่อกันเป็นแนวนอน แล้วผู้ใช้สามารถเลื่อนไล่ดูภาพแต่ละภาพได้ตามจำนวนภาพที่เราโพสต์

การโพสต์แบบ Carousel

ข้อมูลจาก facebook.com

เหมาะมากกับเนื้อหาที่ต้องการให้ลูกค้าได้เห็นหลายๆ ตัว เช่น ภาพสินค้า Catalog ซึ่งสามารถทำลิงค์ให้ภาพแต่ละภาพได้เลย รวมถึงโพสต์ที่ต้องการเล่าเรื่องราวเป็นขั้นตอนก็เหมาะเช่นกัน
.
สินค้าที่เป็น E-commerce มักจะนิยมทำแบบนี้บ่อยครับ เพราะมันแสดงสินค้าได้หลายตัวในการโพสต์ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ก็อยู่ที่ว่ารูปภาพจูงใจให้ลูกค้าอยากเลื่อนไปดูและกดเข้าไปตามลิงค์ของภาพนั้นๆ หรือไม่
.
อ้อ ลืมบอกไปว่า ภาพแต่ละภาพนั้นจะมีลิงค์ฝังอยู่ครรับ ซึ่งถ้ากดเข้าไปที่ภาพไหน ระบบก็จะนำภาผู้ใช้ไปยังลิงค์นั้นๆ โดยที่แต่ละภาพสามารถกำหนดให้มีลิงค์แตกต่างกันได้ด้วย

นินจาการตลาด

Canvas.

พูดถึง Canvas นึกถึงอะไร ผ้าสำหรับการวาดรูปศิลปะหรือเปล่า..? 
.
Canvas เป็นการโพสแบบหนึ่งบน Facebook ครับ ที่เหมาะสำหรับการเล่าเรื่องเป็น Story มากๆ เราสามารถที่จะโพสต์ภาพ วิดีโอ ปุ่ม หรือลิงค์ได้ในการโพสต์ครั้งเดียวเลย
.
โพสต์แล้วเมื่อผู้ใช้กดเข้าไปดู จะเห็นเห็นภาพหรือวิดีโอตามแต่ว่าตอนโพสต์เอาอะไรขึ้นก่อน ซึ่งสามารถที่จะเลื่อนซ้ายเลื่อนขวา เลื่อนขึ้นเลื่อลง ก็ได้ทั้งหมด ตามแต่ที่คนโพสต์ออกแบบวางภาพและวิดีโอเอาไว้ เสร็จแล้วก็มักจะจบด้วยปุ่ม Call to Action

 

การโพสต์แบบ Canvas

ข้อมูลจาก facebook.com

ที่นิยมกันก็จะส่ง ผู้ใช้ไปยัง LINE@ หรือไปยังเว็บไซต์ เพื่อไปซื้อสินค้า หรือลงทะเบียน เมื่อลูกค้ากดปุ่ม Call to Action

นินจาการตลาด

Traffic.

ถ้าแปลงตรงๆ ตามศัพท์คือ การจราจร แต่ในทางการตลาดยุคดิจิทัลนี้เป็นการพูดถึงผู้ใช้ที่ทำการกดเข้าไปยังที่หมาย เช่น หน้า Landing Page นั่นเอง
.
อย่างโพสต์ Canvas ก็เช่นกัน ถ้าคนกด Call to Action เข้ามายังปลายทางที่เรากำหนดไว้ นั่นก็คือ Traffic แบบหนึ่ง

นินจาการตลาด

Lead.

คำนี้มีความคล้ายคลึงกับคำว่า Traffic มาก บางครั้งใช้แทนกันเลยก็มี แต่ Lead จะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ในเชิงของการเก็บข้อมูล หรือมักจะเรียกันว่าการเก็บ Lead
.
ตามความหมายศัพท์จะแปลว่านำ หรือเหนี่ยวนำ ก็คือเหนี่ยวนำผู้ใช้งานเข้ามานั่นเอง
.
อย่างใน Facebook เอง ก็มีวัตถุประสงค์การยิงโฆษณาแบบหนึ่งที่ชื่อว่า Lead Generation เป็นการโฆษณาที่เน้นการดึงดูดผู้คนให้กรอกข้อมูลส่วนตัว วงการที่ใช้กันมากๆ เลย ยกตัวอย่างเช่น วงการอสังหาฯ เช่น โครงการหมู่บ้าน หรือคอนโด ที่ต้องการขายโดยการเชิญให้ผู้คนจากโลกออนไลน์เข้ามาเยี่ยมชมโครงการจริง
.

ธุรกิจที่เป็นการขายแบบ Online to Offline ถือว่าเป็นธุรกิจที่แนะนำให้เลือกใช้วัตถุประสงค์ในการยิงโฆษณาแบบ Lead Generation นี้
.
แต่ใช่ว่าจะเหมาะแค่สำหรับ Online to Offline เท่านั้นนะครับ  Online to Online เองก็สามารถใช้ได้เช่นกันนะ 
.
การใช้ Lead Generation บน Facebook จะมีจุดดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ การลงทะเบียนจะง่ายมากๆ ลูกค้าอาจไม่ต้องกรอกรายละเอียดเลย เช่นพวก ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร จะถูกกรอกไว้หมดแล้วโดยอัตโนมัติ เพราะ Facebook จะทำการดึงฐานข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้มากรอกให้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้คนนั้นๆ ได้ลงรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวไว้มากและถูกต้องแค่ไหน พอเป็นแบบนี้ก็ทำให้ง่ายมากต่อการได้รายชื่อมา
.
นี่ยังไม่นับรวมเรื่องความเร็วของการโหลดหน้าลงทะเบียนนี้มาจากหน้าโฆษณาที่เร็วมากๆ อีกนะ ซึ่งก็ทำให้กล่าวได้เลยว่า การใช้ Lead Generation จึงค่อนข้างน่าสนใจมากๆ เลย

นินจาการตลาด

Audience Network.

Audience คำนี้เคยพูดมาหลายรอบละครับ คำที่หมายถึง กลุ่มผู้คนที่อาจมีโอกาสเป็น Targer ของเราได้ เมื่อรวมกับคำว่า Network ที่แปลว่าเครือข่ายนั้น ก็จะหมายถึงเครือข่ายของกลุ่มผู้คนต่างๆ ซึ่งคำนี้ถ้าไปใช้กับ Facebook จะเรียกว่า Facebook Audience Network ก็คือ เครือข่ายเว็บไซต์ที่เฟซบุ๊กเป็นพันธมิตรร่วม 
.
เว็บพวกนี้จะได้รับค่าโฆษณาแบ่งจาก Facebook ครับ แล้วเงินค่าโฆษณามาจากไหนล่ะ ก็มาจากที่เราๆ ซื้อโฆษณาเฟซบุ๊กนี่แหล่ะคับ คือ นอกจากที่โฆษณาจะไปแสดงไปในหน้า Timeline แล้ว โฆษณาของ Facebook ก็ยังไปแสดงบนหน้าเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้นด้วยนั่นเอง

นินจาการตลาด

Google Display Network.

คำนี้หลายคนคงเคยรู้จักกันบ้างแล้ว เอาจริงๆ ก็มีความคล้ายคลึงกับ Facebook Audience Network เลยครับ เพราะ Google เองก็มีพันธมิตรเว็บไซต์ของเค้าด้วยเช่นเดียวกันกับ Facebook 
.
GDN เป็นคำย่อของ Google Display Network นะครับใครเจอคำว่า GDN ก็ให้รู้ไว้เลยว่ามันมีความหมายเดียวกัน

นินจาการตลาด

GDPR.

ย่อมาจาก General Data Protection Regulation เป็นที่มาจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างประเทศ มีมาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตถูกไปใช้ในทางที่ผิด
.
กฎหมายนี้ สหภาพยุโรปประกาศใช้ออกมาเมื่อปีก่อนครับ คุ้มครองประชาชนชาวยุโรป ออกแบบมาเพื่อให้ชาวยุโรปปลอดภัยสำหรับเรื่องนี้
.
ถ้าผู้ใช้ไปเข้าใช้งาน Platform ออนไลน์ใดๆ Platform นั้นๆ จะต้องระบุด้วยว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจะถูกนำไปใช้อะไรบ้างอย่างชัดเจน
.
ถ้าไม่ทำการบ่งบอกให้ชัดเจนก็อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายนี้ได้ 
.
วงเงินปรับสูงสุดประมาณ 20 ล้านยูโร เลยทีเดียวนะ
.
ดังนั้นเว็บไซต์ไหนจะติด Pixel ต้องมีคำประกาศให้ชัดเจนนะครับ
.
จำได้ไหม เมื่อกลางปีก่อน อยู่เราก็เข้าไปเล่น LINE ไม่ได้ เพราะ LINE บังคับให้เรายอมรับการแชร์ข้อมูลส่วนตัวก่อนในปีที่แล้ว อันนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับกฎหมายนี้นี่เอง

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.1”
.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.2”

.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.3”

.

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เรื่องนี้แบบการฟังการอธิบาย จาก อ.ออดี้ ก็สามารถรับชมรับฟังผ่านคลิปที่ อ.ออดี้ได้ LIVE เอาไว้ ได้เลยนะครับ
.
ในรายการทุ่มวันพุธติดอาวุธการตลาด ที่เพจนินจาการตลาด
.
ตอน “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.4”
[ข้ามไปชมศัพท์แรกนาทีที่ 7:00]

ได้เรียนรู้ศัพท์การตลาดดันไปเบื้องต้นกันถึง 10 ตัวเลยครับสำหรับ Blog นี้ ติดตามนินจาการตลาดไว้นะครับ จะเอามาฝากเพิ่มเร็วๆ นี้

นินจาการตลาด
อ.ออดี้-กิตติชัย นินจาการตลาด

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก