fbpx

13 ประเด็นควรเช็คให้เคลียร์ ก่อนตัดสินใจเสียเงินจ้าง Influencer

Home » 13 ประเด็นควรเช็คให้เคลียร์ ก่อนตัดสินใจเสียเงินจ้าง Influencer

13 ประเด็นควรเช็คให้เคลียร์ ก่อนตัดสินใจเสียเงินจ้าง Influencer

13 ประเด็นเช็คลิสต์ควรคุยให้เคลียร์ ก่อนตัดสินใจเสียเงินจ้าง Influencer

คิดว่าคำว่า Influencer น่าจะเป็นคำที่รู้จักกันโดยกว้างแล้วนะครับ สำหรับตัว Influencer เองก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้การเลือกใช้เริ่มมีความละเอียดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งก็มีแบรนด์ไม่น้อยที่เลือกใช้สื่อสายนี้กัน แม้แต่ SME รายย่อยก็เริ่มใช้สื่อสายนี้กันมากขึ้นด้วย

นินจาการตลาด

Influencer คืออะไร
.
ขอใช้เวลาสั้นๆ อธิบายให้สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักคำว่า Influencer มาก่อนเลย ได้เข้าใจกันในเบื้องต้นนะครับ
.
Influencer มาจากคำว่า Influence ที่แปลว่า อิทธิพล พอเป็น Influencer จึงเป็นคำนามที่หมายถึงบุคคลซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพล ในที่นี้ก็หมายถึงผู้ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มคนต่างๆ ที่มีความชอบ ความรัก ความหลงไหล ความศรัทธา หรือชื่นชมในสิ่งๆ ที่ Influencer เหล่านั้นได้แสดงออกเป็นต้นแบบหรือแนวทางในการทำให้เกิดการติดตาม หรือแม้กระทั่งเลียนแบบวิธีการ หรือแม้แต่ชอบในสิ่งที่ Influencer นั้นๆ เป็น
.
ซึ่ง Influencer นั้นมีหลากหลายแบ่งไปได้หลายกลุ่มหลายประเภทไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับเนื้อหารายละเอียดของการมีส่วนร่วมแบบเดียวกันนั้นเป็นเรื่องอะไร เช่น ผู้คนที่ชอบวิ่ง ผู้คนที่ชอบแต่งตัว ผู้คนที่ชอบออกกำลังกาย ผู้คนที่ชอบอุปกรณ์สื่อสาร ผู้คนที่ชอบท่องเที่ยว ฯลฯ
.
ซึ่งแต่ละกลุ่มที่บอกมานั้นก็ยังสามารถแยกย่อยลงไปได้อีก อย่างกลุ่มผู้คนที่ชอบออกกำลังกายเอง ก็สามารถแยกไปได้อีกหลายกลุ่ม เช่น วิ่ง ฟิตเนส จักรยาน ลดความอ้วน ฯลฯ
.
และคนๆ หนึ่งก็มีความชอบหลากหลาย อาจจะถูกจัดไปอยู่หลายๆ กลุ่มที่เค้าเหล่านั้นชื่นชอบก็ได้ ก็ติดตามอิทธิพล (Influence) ต่างๆ ที่ถูกแสดงออกมาได้หลายกลุ่มอิทธิพล

นินจาการตลาด

Influencer ทำอะไร ใช้อะไร ผู้ติดตามก็มักจะ ทำตาม ใช้ตาม Influencer นั้นๆ 
.
และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ต้องการให้ผู้มีอิทธิพลต่อผู้คนเหล่านี้ เลือกที่จะนำสินค้าของแบรนด์ตัวเองมาใช้หรือมาบอกให้ผู้ติดตามรู้ว่า Influencer ที่เค้าติดตามใช้สินค้าของแบรนด์นั้นๆ อยู่ แน่นอนแหล่ะ ภาพของผู้คนที่แห่ไปใช้สินค้าแบรนด์นั้นๆ กัน ก็ตามมา
.
แรกเริ่มเดิมทีเลย เหล่า Influencer มีไม่เยอะครับ และแต่ละคนก็มีผู้ติดตามเป็นตัวเลขจำนวนมาก แต่ปัจจุบัน Influencer ที่มีคนติดตามไม่กี่คน แค่หลักหมื่นหรือหลักพัน ก็ถือว่าเป็น Influencer ได้แล้ว ซึ่งก็มีชื่อเรียกย่อยลงไปว่า micro Influencer และ nano Influencer ตามลำดับ
.
ถึงตัวเลขจะน้อย แต่ก็ได้ผลดี เพราะเป็น Influencer ที่มีความเฉพาะเจาะจงในกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ไม่กว้างมากจนเกินไป ซึ่งตรงนี้แบรนด์จึงจำเป็นต้องประเมิณการเลือกใช้ให้ดีๆ ว่าจะใช้แบบ Mass หรือแบบเจาะจง หรือใช้ทั้งสองแบบ แล้วต้องรู้ด้วยว่าควรจะเลือกใครแบบไหนดี 

นินจาการตลาด

How to deal with Influencer?
.

วันนี้นินจาการตลาดเลยอยากจะเขียนเป็น Checklist ให้สำหรับใครที่ต้องการจะดิวงานกับ Influencer หรือดิวผ่านตัวแทนอย่างเอเจนซี่ จะได้รู้ถึงแนวทางการเจรจาและข้อจำกัดของการใช้งาน Influencer เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป

 

1. ชัดเจนในวัตถุประสงค์ของตัวเอง

.

ก่อนจะไปดิวกับใครเค้า คุยกับตัวเราเองให้เข้าใจตัวเองก่อน ว่าจะเอาอะไรกับการสื่อสารโดยการใช้ Influencer ครั้งนี้ เช่น อยากได้ Awareness ก็ต้องชัดว่าจะเอาการรับรู้จริงๆ 
.
ถ้าอยากได้การมีส่วนร่วม ก็เอาให้ชัดว่าจะเอา Engagement นะ เพราะการชัดเจนในวัตถุประสงค์จะทำให้การสื่อสารรวมถึงการทำงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด แม้แต่ตัว Influencer เองจะมีความชัดเจนมากขึ้นด้วย (ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า Influencer ที่เราจ้างจะทำได้ตรงตามวัตถุประสงค์เราได้มากน้อยแค่ไหน)

2. เลือกคนให้เหมาะสมกับแบรนด์
.

ไล่มาทีละข้อเลย ถ้าชัดเจนในความต้องการของแบรนด์แล้ว ก็สามารถเลือกคนได้ง่ายขึ้น ข้อถกเถียงบนโต๊ะประชุมจะน้อยลง โดยเฉพาะการเลือก Influencer ไม่ต้องเหมามามากเกินไป หรือน้อยเกินไปเพื่อจะเผื่อเหลือเผื่อขาด หากเราชัดเจนในวัตถุประสงค์การสื่อสาร ก็จะช่วยตัดตัวเลือกออกไปได้ขั้นหนึ่งเลย
.
อีกอย่างที่อยากให้ดูกันด้วยคือให้ระวังการใช้งานคนที่อาจไม่เหมาะสมกับแบรนด์ ทั้งในด้านของ Character และในด้านของภาพลักษณ์ บางทีอาจต้องมองล่วงหน้าสักนิดว่า ณ เวลานั้นมีสัญญานอะไรที่อาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์หรือไม่ในจังหวะที่แบรนด์ใช้งานพอดี
.
การตัดสินใจในช่วงเวลานี้ถือว่าสำคัญมากนะครับ บางครั้งอาจได้ประโยชน์สูงมาก หรือบางทีอาจมีข่าวไม่ดีมากลบส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย
.

3 การแบ่ง Tier กลุ่มประเภทความสนใจ

.

การแบ่งกลุ่มจะทำให้เราเห็นตัวเลขของกลุ่มเป้าหมายชัดเจนมากขึ้นด้วย เช่น กลุ่ม Mass ก็จะกว้างนิดนึง ซึ่งอาจจะเหมาะกับแค่บางแบรนด์
.
การแบ่งกลุ่มย่อยก็จะทำให้มีโอกาสเลือกกลุ่มได้ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ดีกว่า เช่น การเพิ่มกลุ่ม Healthy ขึ้นมาแยกออกจากกลุ่ม Mass เมื่อปล่อยการสื่อสารออกไป จะทำให้วัดผลได้ดีและวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
.
บางที่ มีคนวิว 1 ล้านวิว อาจจะไม่ได้ผลลัพท์ที่ดีเท่ากับการมีคนวิวแค่ 1 แสนวิวก็ได้ หากกลุ่มเป้าหมายนั้นไม่ตรงกับที่ต้องการ

นินจาการตลาด

Commitment
.

เมื่อถึงเวลาต้องไปเจรจา อยากให้ตั้งประเด็น ตั้งคำถามให้ครบนะครับซึ่งนินจาการตลาดรวบรวมไว้ให้แล้ว สำหรับเรื่องนี้ขอเล่าเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ
.

4. เช็คให้ชัวร์ว่ามี Brand หรือการห้ามบอกประเภทของสินค้าไหม

.

Influencer บางรายก็มีข้อจำกัดของเค้าอยู่เหมือนกันนะ เช่น เซ็นสัญญากับบางแบรนด์ไว้ ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับสินค้าของเรา ก็ทำให้ไม่สามารถทำงานให้ได้เมื่อถึงเวลา ก็ถ้าไม่อยากให้เสียเวลา จงอธิบายสินค้าหรือแบรนด์ของคุณให้ชัดเจนก่อนในช่วงนี้นะครับ ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็จะได้หา Influencer คนใหม่ชะตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีกว่าปล่อยให้ถึงเวลาโพสต์จริง แต่ไม่สามารถได้งานนะครับ
.
5. ลง Social อะไรบ้าง บอกให้ชัดเจนตามราคาที่ตกลง

.

เห็นว่าคนติดตาม Influencer คนนี้มีผู้ติดตามอยู่หลาย Platform และแต่ละ Platform ก็มีคนติดตามอยู่มาก ซึ่งเห็นราคาแล้วคิดว่าน่าจะคุ้มค่ามากๆ แต่ก็ต้องเจรจาให้ดีๆ บางทีอาจไม่ได้ลงให้ทั้งหมดนะ อาจจะได้แค่ Platform เดียว อันนี้ต้องคุยกันให้ชัดเจนก่อนเริ่มงานนะครับ

.
6. ถือหรือจับตัว Product หรือเปล่า
.

ฟังดูเรื่องเล็กๆ นะครับดูเหมือนไม่น่ามีประเด็นอะไร ก็แค่ถือหรือจับสินค้าเอง จ้างแล้วก็ต้องถือสิ มีไม่ถือ ไม่จับได้ด้วยเหรอ..? อันนี้ต้องบอกเลยนะครับ บางครั้ง Influencer อาจจะไม่ยอมจับเลย ซึ่งบางทีอาจมาจากการติดเงื่อนไขสัญญาของ Influencer เอง
.
7. SOW
.

SOW ย่อมาจาก Scope of Work คือการกำหนดรายละเอียดหรือเนื้องานที่ชัดเจน เป็นการคุยกันให้เคลียร์ว่าทำอะไรได้บ้าง ไม่ให้ทำอะไรบ้าง

.
8. การลบโพสต์หลังผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง

.

มีการลบโพสต์ไหม ถ้าลบจะลบภายในกี่วัน มีข้อกำหนดไหมว่ากี่วันลบ บางครั้งจะลบทิ้งเพราะจะได้มีโอกาสได้สินค้าตัวอื่นๆ ในประเภทเดียวกันได้ (ส่วนมาก 1 สัปดาห์จะมีการลบทิ้ง)
.
9. ห้ามนำโพสต์ไปใช้ต่อ
.

อีกเรื่องที่ต้องตกลงกันให้ชัดในเรื่องการนำโพสต์ไปใช้ต่อในสื่ออื่น ว่าทำได้ไหม เคยมีบางแบรนด์ที่ตกลงกันว่าจะให้นำไปใช้ได้ในสื่อออนไลน์ แต่กลับนำไปใช้กับสื่อในอาคาร ก็เป็นเรื่องราวกันไป หรือบางเคส อนุญาตให้ลง IG ได้ แต่แบรนด์นำเอาลิงค์ IG ไปลงเป็น Advertrotial ก็อาจทำไม่ได้ ถ้าไม่อนุญาต
.
10. ราคา
.

อันนี้สำคัญ คุยกันให้เคลียร์นะจ๊ะ

นินจาการตลาด

การเริ่มงาน (Start)

.

บางทีการ Commit ต่างๆ ที่ว่ามา ก็อาจจะควบคุมยากสำหรับ Influencer เช่น การนัดเวลาในการโพสต์บางทีก็ต้องใจเย็นๆ เพราะอาจมีปัจจัยบางอย่างแทรกขึ้นมา แนะนำว่าอย่าเพิ่งไปด่วนโวยวายนะ

มีประเด็นอยู่ 2 ประเด็นครับ ที่อยากให้ทบทวนดูให้ดี
.

11. Recheck เรื่องสินค้าแบรนด์อื่นๆ

.

ต้องคุยกันให้ดีๆ ว่าเค้ามีการรับสินค้าอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันอยู่หรือเปล่า ถ้าเค้ายืนยันว่าจะรับ ต้องถามมาให้ได้ว่าจะลงวันไหน และแบรนด์ก็ต้องชั่งน้ำหนักดูให้ดีๆด้วยว่าทำได้ไหม อย่าละเลย เพราะอันตรายมาก ถ้าเอเจนซี่ไม่พูดถึง เราในฐานะเจ้าของแบรนด์ก็ต้องถามนะ
.
12. Timeline ในการโพสต์
.

ควรเช็คให้ดีด้วยว่าเค้าติดธุระอะไรที่สำคัญๆ ไหม ในช่วงเวลานัดโพสต์ เช่น ไปต่างประเทศไหม หรือติดเทศกาลสำคัญอะไรหรือเปล่า เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถได้งานตามเวลาที่แบรนด์ต้องการได้ ซึ่งบางครั้งส่งผลกระทบใหญ่เหมือนกันนะ
.

13. Report หลังการโพสต์

.

ต้องบอกเลยว่ามันไม่มีตัวเลขให้วัดและวิเคราะห์แบบการซื้อโฆษณาปกติ ดังนั้นต้องใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งเพื่อดูการเคลื่อนไหว ตรงนี้เราเองต้องคอยเข้าไปดูเองด้วย อาจจะคอยแคปหน้าจอมาเพื่อวิเคราะห์ในเบื้องต้น อ้อ..ระวังเค้าจะลบโพสต์ไปก่อนด้วยล่ะ
.
ในการประเมิณการเข้าถึง แต่ก่อนจะใช้วิธีการดูจำนวนผู้ติดตาม Follower แล้วหั่นหารสอง หรือครึ่งนึงของจำนวนผู้ติดตามนั่นเอง
.

อย่างไรก็ดี Influencer เป็นเพียงสื่อสายหนึ่งเท่านั้นที่ช่วยส่งเสริมการสื่อสารแบรนด์ออกไปสู่กลุ่มเป้าหมาย หน้าที่ของแบรนด์ที่ต้องทำก่อนเลยคือ ความชัดเจนของการสื่อกสาร เช่น Key Message ที่ควรถูกวิเคราะห์มาอย่างดีจากลูกค้า คู่แข่งและตัวแบรนด์เอง
.
ใครที่อยากฟังเป็นคลิปที่ อ.ออดี้ ได้ LIVE เอาไว้ในรายการทุ่มวันพุธติดอาวุธการตลาด ที่เพจนินจาการตลาด ก็เชิญรับชมรับฟังกันได้นะครับ

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก