fbpx

หลอกสมองให้รู้สึกคุ้มค่า ด้วยเทคนิคตั้งราคาขายลงท้ายเลข 9-Ending pricing

Home » หลอกสมองให้รู้สึกคุ้มค่า ด้วยเทคนิคตั้งราคาขายลงท้ายเลข 9-Ending pricing

หลอกสมองให้รู้สึกคุ้มค่า ด้วยเทคนิคตั้งราคาขายลงท้ายเลข 9-Ending pricing

หลอกสมองให้รู้สึกคุ้มค่า ด้วยเทคนิคตั้งราคาขายลงท้ายเลข 9-Ending pricing

คงโดนกันประจำกับการที่เราต้องเสียเงินซื้อของที่รู้สึกเหมือนจะไม่แพง เพียงเพราะว่าราคาลงท้ายด้วยเลข 9 ไม่ว่าจะตั้งราคาแบบ 99, 199, 599, 1,999 หรือจะ 9,999 หลายครั้งก็ทำให้เราเผลอใจอ่อนหลวมตัวซื้อของชิ้นนั้นได้ง่ายๆ

แม้สมองมนุษย์จะฉลาดคำนวณความคุ้มค่าดีแค่ไหน ก็ยังมีจุดอ่อนในตัวเอง การตั้งราคาแบบนี้เราเรียกว่า Charming Price นั่นคือการลดราคาหลักสุดท้ายลงไป 1 หน่วย เพื่อให้ราคาลงท้ายด้วยเลข 9 ตามธรรมชาติของสมองที่ตีความข้อมูลจากซ้ายไปขวา จากหลักทฤษฎี Left-Digit Effect

.

แน่นอนที่ว่า 200 ย่อมแพงกว่า 199 นิดนึง แต่ทว่าการตั้งราคาป้ายไว้ที่ 199 ไม่ใช่แค่ถูกกว่าแค่ 1 บาทในโลกความเป็นจริง กลับกันทำให้คนที่ซื้อรู้สึกว่าเป็นสินค้าราคาคุ้มค่าแค่ร้อยกว่าบาทเอง เหมือนเกิดช่องว่างที่ไกลมากระหว่าง 199 ถึง 200 บาทเกิดขึ้นในใจซะอย่างนั้น

อ่านต่อ

งานวิจัยขอThomas and Morwitz (2005) ระบุว่าราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9 จะยิ่งถูกลงมากขึ้น ก็ต่อเมื่อตัวเลขด้านหน้าสุดของราคามีการลดลง เช่น 499 บาทจากราคา 500 บาท การตั้งราคาแบบลงท้ายเลข 9 จึงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญทางจิตวิทยาที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของลูกค้าได้ดีพอสมควร 

.

นอกจากนี้เราอาจจะเคยมโนไปเองว่าการที่เจ้าของแบรนด์ตั้งราคาแบบนี้ คือการเซ็ตราคาขายให้ถูกที่สุดเท่าทำได้ ซึ่งนินจาการตลาดก็เคยแอบคิดเหมือนกันว่าสงสัยเขาคงไม่กล้าตั้งราคาสูงกว่านี้ กลัวจะถูกมองว่าแพงคนไม่ซื้อ ขอเอากำไรน้อยๆ แค่นี้แล้วกัน งานนี้มีแต่เราที่คุ้ม เอ้าซื้อซะ เรียบร้อย

.

ตัวเลข 9 นี้ยังประยุกต์ไปใช้ต่อได้ในกลยุทธ์ตั้งราคาแบบหลอกล่อ (Decoy Pricing) จะใช้ในกรณีที่ลูกค้ามีความลังเลใจระหว่าง 2 ตัวเลือก สิ่งที่แบรนด์ทำคือเพิ่มช้อยส์ที่ 3 เข้ามา เพื่อสร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจให้ไปซื้อในตัวเลือกที่แพงขึ้น ซึ่งแบรนด์อยากจะขายมากกว่า

นินจาการตลาด

ตัวอย่างเช่นสินค้ารุ่นเดียวกัน 3 ราคา

.

1. สินค้าชิ้นที่ 1 ราคา 599 บาท

.

2. สินค้าชิ้นที่ 2 ราคา 999 บาท

.

3. สินค้าชิ้นที่ 3 ราคา 1,099 บาท

.

ถ้าหากดูจากราคาแล้ว จะเห็นได้ว่าสินค้าชิ้นที่ 2 นั้นทำงานเป็นตัวหลอกล่อหรือ Decoy โดยทำให้ลูกค้าคิดว่าจ่ายเพิ่มแค่ 100 บาท ก็ได้สินค้าชิ้นที่ 3 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปที่สุดแล้ว ซึ่งก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่านั่นเอง

.

วิธีนี้บรรดาแบรนด์อาหารฟาสต์ฟู้ดชอบมากกับการสร้างเซ็ตคอมโบที่หลากหลาย ทั้งราคาปกติและโปรโมชั่น รวมทั้งสินค้าโทรศัพท์มือถือ ที่มีราคาหลดหลั่นตามสเปกของเครื่องให้ลูกค้าต้องคิดหนัก เมื่อต้องเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับเงินในกระเป๋า

.

ข้อดีอีกอย่างของการตั้งราคาแบบลด 1 บาท ว่ากันว่าช่วยลดการทุจริตของพนักงานขายภายในร้านด้วย เพราะเมื่อราคาลงท้ายเป็นเลข 9 ลูกค้าที่จ่ายเป็นธนบัตรต้องรอเงินทอน ดังนั้นพนักงานจะทอนได้ต้องกดจากเครื่องแคชเชียร์ ทำการบันทึกรายการซื้อและหยิบเงินทอนจากเครื่องเท่านั้น

นินจาการตลาด

อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อควรระวังของการตั้งราคาแบบลงท้ายด้วยเลข 9 หากนำไปใช้กับสินค้าที่มีราคาสูงหรือมีคุณภาพดี เพราะนั่นจะทำให้สินค้าเสีย Image พอสมควร โดยเฉพาะหากนำไปใช้ตั้งราคาสินค้าแบรนด์เนม ที่มีเรื่องภาพลักษณ์ค้ำคออยู่

.

ที่สำคัญไม่ใช่ทุกคนจะหลงงงงวยกับเลขนี้ เทคนิคหลอกว่าถูกกว่าตั้ง 1 บาท จะใช้ได้แค่กับคนที่อ่อนคณิตศาสตร์เท่านั้น เพราะจะมองแต่เลข 9 ตัวท้าย ส่วนคนที่คิดเลขได้ไว จะตอบสนองสนใจราคาก็ต่อเมื่อข้างหน้าเลข 9 เป็นเลขคี่ เช่น 179, 199 มากกว่า 

.

ท้ายที่สุดการตั้งราคาสินค้าที่ดี เจ้าของธุรกิจควรทำความรู้จักกับสินค้าของตัวเองให้ละเอียด รู้ต้นทุน รู้ Positioning ของแบรนด์ แล้วตั้งราคาให้เหมาะสม จึงค่อยเสริมด้วยเทคนิคการตั้งราคาทางจิตวิทยาเข้าไป รับรองว่าลูกค้าติดหนึบ เพราะรู้สึกว่าหาของถูกและคุ้มค่ากว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว

.

ใครอ่านจบคงรู้แล้วนะ ว่าเลข 9 กระตุ้นการซื้อของลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน ถึงเวลาหรือยังที่เราจะลองตั้งราคาแบบนี้ดู เผื่อจะช่วยให้ธุรกิจของเรามีลูกค้ามาอุดหนุนเพิ่มขึ้น ได้ผลยังไงแวะคอมเมนท์ด้วยนะ

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

Ninja Kantalad

Ninja Kantalad

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก