fbpx

In-house หรือ Outsource เลือกแบบไหนดี เมื่อ SMEs go online

Home » In-house หรือ Outsource เลือกแบบไหนดี เมื่อ SMEs go online

In-house หรือ Outsource เลือกแบบไหนดี เมื่อ SMEs go online

คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจของ SMEs ไทยหลายคน เพราะกระแสของการทำธุกรกิจบนโลกดิจิทัลมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

.
หลายคนยังไม่เคยได้สัมผัสจริงๆ ว่าการสื่อสารการตลาดดิจิทัลนั้นมันต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรบ้าง
.
อย่างหนึ่งที่หนีไม่พ้นเลย คงเป็นเรื่องของคนทำงาน ใน SMEs ส่วนใหญ่ที่เพิ่งเริ่มคิดจะก้าวเข้ามาใช้ดิจิทัลในการสื่อสารการตลาด น้อยแห่งนักที่มีทีมงานที่สามารถทำงานด้านนี้ได้ทันทีทันใด
.
หลายแห่งคิดว่าจะจ้างคนด้านนี้มาทำงาน แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทีมงานใหม่นี้จัดการทั้งหมด ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก เพราะบุคลากรด้านดิจิทัลที่รู้จริงๆ และทำงานให้เราได้จริงๆ ยังมีน้อยมาก
.
เรียกได้ว่า คลาดแคลนเลยก็ว่าได้
.
ทีนี้พอต้องเริ่มแล้วนี่สิ คนไม่มี จะเริ่มอย่างไรดี แนวคิดคงหนีไม่พ้น 2 เรื่อง ก็ใช้คนในนี่แหล่ะ เรียนรู้กัน หรือ ยอมจ่ายเพิ่มหน่อยเพื่อจ้างคนนอกที่เป็นมืออาชีพจริงๆ มาทำให้
.
ใครที่กำลังมีปัญหานี้คาใจอยู่ วันนี้นินจาการตลาดเอาแนวทางการเลือกใช้ระหว่าง In-house กับ Outsource มาให้อ่านกัน

จะ In-House หรือ Outsource ดี เมื่อ SMEs จะ Go to Digital

ก่อนจะเลือกว่าจะ In-house หรือ Outsource อยากให้พวกเราอ่านตรงนี้ก่อน สั้นๆ
.

– ตีโจทย์โจทย์ธุรกิจตัวเองให้ออกว่าต้องการอะไร สเกลใหญ่มากแค่ไหน อยู่ในขั้นไหนของกิจกรรมธุรกิจ เช่น อยากทำให้เป็นที่รู้จัก หรืออยากขายของ หรือเพียงแค่อยากสื่อสารอะไรบางอย่าง ฯลฯ
.
แล้วมีช่วงระยะเวลานานแค่ไหนในการจะทำแคมเปญนั้นๆ สามเดือน ครึ่งปี หรือปีนึง มีผลต่อการตัดสินใจขั้นต่อๆ ไปทั้งหมด ว่าจะเลือกรูปแบบไหนในการทำ
.

– วางวัตถุประสงค์ของแคมเปญเบื้องต้นให้ได้ เช่น เน้นสร้าง Awareness หรือต้องการให้มี Action ใดๆ
.

– เมื่อรู้วัตถุประสงค์แล้ว จะทำให้รู้ว่าจะมีแนวทางลงงบประมาณไปอยู่ในมีเดียประเภทไหนบ้าง (Paid Own Earned: เรื่องนี้เดี๋ยวนินจากาาตลาดจะมีบทความให้อ่านทำความเข้าใจทีหลังนะ)
.
ที่นี้ พอได้ลองมองภายในตัวเองแล้ว ก็มาดูกันว่ามีแนวทางการทำงานระหว่าง In-house กับ Outsource กันกี่แบบบ้าง และแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไ

In-house

 

ใช้คนในนี่แหล่ะ ไม่ต้องไปหาที่ไหนเพิ่ม หรืออาจจะจ้างประจำมาอีกสักหน่อยก็ได้
.

ข้อดี
– ทีมงานได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
– คุมต้นทุนได้ หากเข้าใจขนาดของแคมเปญ
– การประสานงานภายในกับฝ่ายต่างๆ จะราบรื่นกว่า เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายปฏิบัติการ
– ภาพของแบรนด์จะทำให้ชัดเจนง่าย (Brand focus)
.ข้อด้อย/ ความท้าทาย
– การหา การสร้างแรงดึงดูด การรักษาความถนัดหรือพรสวรรค์ด้านดิจิทัลของทีมงานเป็นเรื่องที่สร้างขึ้นไม่ง่ายนัก
– การทำให้ทีมงานตามทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของดิจิทัลเป็นเรื่องยาก
– มีโอกาสเรียนรู้จากคนนอกน้อ

.

เคล็ดลับ
– ต้องวางคนในต่ำแหน่งงานที่เหมาะสม – ให้ทีมงานรู้สึกถึงการก้าวหน้า
– ต้องปรับความต้องการส่วนบุคคลของตนเองไว้กับทิศทางของ แบรนด์หรือธุรกิจ
– ต้องสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายในทีมดิจิทัล กับทีมอื่นๆ ของแบรนด์หรือธุรกิจ

 

Outsource นินจาให้แนวทางไว้ 3 แนว คือ

1. จ้างฟรีแลนซ์

ข้อดี
– ประหยัดค่าใช้จ่าย
– เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ได้งานจากคนที่มีความถนัดสูงโดยมีต้นทุนต่ำ
– มีความคล่องตัว ช่วยให้จัดการปริมาณงานที่ไม่แน่นอนได้ดี
– สามารถเรียกใช้งานได้ทันทีในยามจำเป็นเร่งด่วน

.

ข้อด้อย/ ความท้าทาย
– ความภักดีไม่แน่นอน (ทำงานให้เราได้ เค้าก็ทำงานให้คนอื่นได้)
– ปรับให้พวกเค้าเข้ารวมกับรูปแบบหรือระบบงานเดิมของเรายาก
– ยากที่จะทำให้เค้าเข้าใจในแบรนด์หรือธุรกิจได้เท่ากับคนใน
– เราเองต้องใช้ทีมงานที่มีฝีมือพอตัวเพื่อที่จะทำงานกับพวกเค้า แล้วเอาอยู่

.

เคล็ดลับ
– ต้องทำความเข้าใจว่าฟรีแลนซ์ส่วนหนึ่งมีงานประจำ งานของเราเป็นงานนอก ส่วนคนที่รับงานนอกอย่างเดียวไม่มีงานประจำ กลุ่มนี้ก็มีงานหลายงานที่รับมาทำ
– ต้องรับได้กับค่าชั่วโมงที่อาจจะต้องเพิ่มขึ้นสำหรับบางงานที่จำเป็น
– หากทำสัญญาจ้างเอาไว้ได้ น่าจะดีกว่า

 

2. Contract Multiple Agencies
Outsource อีกแบบที่น่าสนใจสำหรับวงการดิจิทัล

 


ข้อดี
– จะได้ทีมงานที่ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูงสุดในแต่ละเรื่อง
– ได้ประโยชน์จากประสบการณ์ ความรู้ หรืองานวิจ้ยเชิงลึก อาจรวมถึงเครื่องมือต่างๆ จากทีมที่มีความสุดยอดที่สุดในเรื่องนั้นๆ
.
ข้อด้อย/ ความท้าทาย
– ทีมงานของเราเองต้องเก่งการบูรณาการ และการจัดการต่างๆ ในการทำงานร่วมกันของทีมภายนอกหลายๆ ทีม ให้เข้ากันได้ รวมถีงการทำงานกับทีมงานภายในด้วย
– ต้องจัดการความขัดแย้งต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในระหว่างทีมต่างๆ ทั้งภายนอก และภายใน

.

เคล็ดลับ
– บรีฟเดียว ระวังอย่าให้แต่ละทีมได้รับข้อมูลบรีฟที่แตกต่างกัน เพราะอาจทำให้งานมาเชื่อมกันได้ไม่ลงตัว
– ขอให้แน่ใจว่าแต่ละทีมเข้าใจว่าภาพใหญ่แต่ละทีมมีบทบาทอย่างไร ทำงานร่วมกัน ณ จุดใดบ้าง
– ต้องรู้ว่าใครเป็นผู้นำ หรือผู้ประสานงานหลักของแต่ละทีม

3. ใช้งาน Full Service Agency ไปเลย

 
อันนี้ก็ถือเป็น Outsource อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่อยากให้ SMEs มองข้ามเรื่อง Budget ไปก่อน เพราะมันอาจจะคุ้มค่ากว่า


ข้อดี
– จบที่เดียวทั้ง Strategy และการ Implement คือให้เเค้าวางแผนกลยุทธ์ให้ด้วย พร้อมกับเดินงานทุกอย่างให้ทั้งปี
– การทำงานแบบอยู่กันยาวๆ จะช่วยให้ทีมงาน Agency เข้าใจในแบรนด์หรือธุรกิจเราได้มาก
– ใช้ประโยชน์จากความเป็นมืออาชีพของ Agency
.
ข้อด้อย/ ความท้าทาย
– พึ่งพากับทีมงานเดียวอยู่ตลอดเวลา
– คาดเดาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานได้ยาก
– Agency ดีๆ ก็ไม่ได้หาง่ายๆ เท่าไหร่นัก (แต่ก็มีเยอะนะ)

.

เคล็ดลับ
– เวลาจะเลือก Agency ควรเลือกที่คนหรือทีมงาน อย่าเลือกเลือกเพราะความคิดหรือไอเดียเท่านั้น
– ต้องรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากความเก่งของทีม Agency ได้อย่างไร จุดไหนบ้าง เช่น บางทีมมีข้อมูลงานวิจัยเชิงลึก บางทีมมีเครื่องมือ หรือความรู้เจ๋งๆ
– ต้องรู้ว่าใครในทีม Agency ที่เค้าจัดสรรมาให้เราทำงานด้วย คนๆ นั้นอยู่ที่ระดับไหนของทีม เพราะถ้าได้คนเก่งมาก็มีโอกาสทำให้งานสำเร็จได้มากกว่า

.

_____________________________________

ติดตามความรู้ดีๆ ด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลได้ที่ LINE@ นินจาการตลาด: @ninjakantalad
หรือคลิกที่นี่เลย

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก