Storytelling ทำให้แบรนด์ถูกพูดถึงมากขึ้น และยอดขายเยอะขึ้นตามไปด้วย…ประโยคนี้ไม่เกินจริงเลยครับ เพราะแบรนด์ในโลกนี้ 90% ที่ประสบความสำเร็จล้วนเล่าเรื่องแบรนด์ตัวเองกันทั้งนั้น ถือเป็นศิลปะในการสื่อสาร และคุณค่าของแบรนด์ผ่านการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งภาพ เสียง ข้อความ วิดีโอ
นึกภาพตามนะครับ สมมติเราจะซื้อสินค้าแบรนด์เนมราคาแพงสักตัว มีหลายยี่ห้อให้เราเลือกซื้อ ระหว่างสินค้าที่เล่าความเป็นมาของแบรนด์ตัวเอง กับสินค้าที่ไม่บอกอะไรเลย ขายอย่างเดียว คิดว่าเราน่าจะซื้อแบรนด์ไหนมากกว่ากัน คงมีคำตอบในใจแล้วใช่ไหมครับ
อินไซต์สถิติของผู้บริโภคที่มีต่อการเล่าเรื่องแบรนด์ (Brand Storytelling)
.
– 92% ต้องการแบรนด์ที่สร้างโฆษณาแล้วรู้สึกเหมือนฟังเรื่องราว
– 55% ชอบจดจำเรื่องราวต่างๆ มากกว่าข้อเท็จจริง
– 68% ระบุว่าเรื่องราวของแบรนด์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ
– บริษัทที่ทำ Storytelling ช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าได้ถึง 20%
– 64% ตัดสินใจซื้อสินค้าหลังได้รับชมคลิปการเล่าเรื่องของแบรนด์บนโซเชี่ยลมีเดีย
1. สร้างความไว้วางใจและสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
.
ในทางธุรกิจ คนเรามักซื้อของจากคนที่เราชอบ ไว้วางใจและคุ้นเคย เพื่อให้เรามีความผูกพันกับกลุ่มเป้าหมาย เราต้องใช้ Storytelling เพื่อแสดงคาแรกเตอร์ ค่านิยม และความน่าเชื่อถือของเรา จากนั้นความไว้วางใจจะตามมาเอง แล้วลูกค้าจะเริ่มชอบแบรนด์เราจากตรงนั้น
2. สร้างความแตกต่างให้เราแตกต่างจากแบรนด์อื่น
.
เราจะทำให้กลุ่มเป้าหมายของเรารู้จักแบรนด์เรา ท่ามกลางคู่แข่งนับไม่ถ้วนได้อย่างไร Storytelling ที่ถูกต้องด้วยสไตล์ที่ไม่เหมือนใครมักได้ผลเสมอ การเล่าเรื่องช่วยให้เราเน้นในสิ่งที่เราแตกต่าง และดีกว่าคู่แข่ง ยิ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายซื้อแบรนด์เรา
3. สร้างคอนเทนต์ที่น่าจดจำและสามารถแชร์ต่อกันได้
.
เชื่อว่าเราคงเคยได้ยินเรื่องของ อีลอน มัสก์, มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เวลาฟังสัมมนาต่างๆ แต่เรื่องราวของคนดังเหล่านี้ยังคงน่าจดจำ แม้จะฟังมาเยอะแล้วก็ตาม ดังนั้น Storytelling จึงดึงดูดความสนใจ ช่วยให้คอนเทนต์ของเราน่าจดจำได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้คอนเทนต์สามารถเป็นไวรัลส่งต่อได้อีก
4. เพิ่ม Brand Loyalty และสร้าง Engagement
.
ถ้าเราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม Storytelling สำคัญมากในการกระตุ้นอารมณ์กลุ่มเป้าหมาย และทำให้กลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญกับข้อความของเรา ดังนั้น Storytelling สามารถเพิ่มระดับ Engagement และ Brand Loyalty ได้นั่นเอง
5. กระตุ้นยอดขายและสร้าง Conversion หลายรูปแบบ
.
หลายครั้งลูกค้ามักตัดสินใจด้วยอารมณ์ก่อน แล้วค่อยหาเหตุผลมาอธิบาย Storytelling ช่วยให้เรามีอิทธิพลกับอารมณ์กลุ่มเป้าหมาย ทำให้พวกเขา Action ทำอะไรบางอย่างกับแบรนด์เรา ดังนั้น Storytelling จึงกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกต้องรีบทำอะไรบางอย่าง และเกิดความรู้สึกขาดอะไรบางอย่างด้วยเช่นกัน
แล้วจะเขียน Storytelling แบบมืออาชีพให้แบรนด์ของเราต้องทำไงบ้าง?
.
– รู้จักกลุ่มเป้าหมายและ Pain Points ของพวกเขา : ต้องมีการวิเคราะห์กลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าและเข้าใจความต้องการ, ความจำเป็น, ความท้าทาย, เป้าหมาย, ความปราถนา, ความกลัว, ความผิดหวัง, แรงบันดาลใจ และอื่นๆ ได้ทั้งนั้น
.
– กำหนด Message หลักและคุณค่าที่นำเสนอ : ต้องกำหนดให้ชัดเจนในสิ่งที่เราอยากจะพูด และบอกเหตุผลว่าทำไมถึงสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย อะไรคือประเด็นสำคัญหรือประโยชน์จาก Story ที่เราเล่า หลักการคือ แบรนด์เราช่วยแก้ปัญหาอะไรให้ลูกค้าเราได้บ้างจากวิธีแก้ของเรา
.
– เลือกแพลตฟอร์มและช่องทางสำหรับ Story ของเรา : ลองใช้ Story ที่แตกต่างกันและแพลตฟอร์มสื่อที่หลากหลาย แล้วลองสังเกตดูว่ากลุ่มเป้าหมายนิยมดูช่องทางออนไลน์ตัวไหน และคอนเทนต์แบบไหนที่กลุ่มเป้าหมายชอบและติดตามชม
.
– ลองใช้การเล่าเรื่อง Storytelling แบบคลาสสิค : คือ แนะนำแบรนด์ ระบุปัญหาและความท้าทายของกลุ่มเป้าหมาย และเป้าหมายที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ นำเสนออุปสรรคความลำบากที่ขัดขวางเป้าหมาย แสดงให้เห็นว่าตัวละครเอาชนะความขัดแย้งอย่างไร และบรรลุเป้าหมายได้ยังไง
.
– ผสมรายละเอียดทางประสาทสัมผัสและอารมณ์ : ใช้ภาษาอธิบายสื่อความหมายที่ดึงดูดประสาทสัมผัสและอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมาย อธิบายภาพเรื่องราวให้ชัดเจน ใช้รายละเอียดทางประสาทสัมผัสที่เกี่ยวข้องกับภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสในการเล่าเรื่อง
.