จริงเหรอที่ธุรกิจยิ่งใหญ่ ยิ่งมีโอกาสเติบโตมากกว่า ธุรกิจที่เล็กกว่า อะไรคือความได้เปรียบที่มากกว่าธุรกิจรายย่อยอย่างเรา ๆ ?
เราเองพยายามที่จะทำแล้ว แต่ก็ไม่เคยจะตามทันสักที กว่าจะคิด กว่าจะเขียน กว่าจะออกแบบอารต์เวิร์คออกมา สุดท้ายกระแสนั้นก็หายไป เปลี่ยนไปสนใจเรื่องอื่น ๆ กันซะแล้ว
วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างยอดขาย ว่าทำไม ธุรกิจหรือแบรนด์ธุรกิจใหญ่ ๆ ถึงสามารถสร้างยอดขายต่อยอดใหม่ๆ ได้ไม่เคยตกกันเลย
.
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรื่องยอดขายคือเรื่องที่พวกเราต้องการและคาดหวังมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะมันคือเป้าหมายปลายทางของทุกเจ้าของกิจการ
นินจาการตลาดเลยตั้งใจรวบรวมและสรุปจะเอาหลักในการเลือก #กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ของบรรดาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเขาใช้กันมาให้พวกเราได้เรียนรู้และเดินตามรอย
.
เขามีวิธีเลือกใช้ยังไง เขามีวิธีคิดอย่างไร ในการเลือกใช้กลยุทธ์สื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย วันนี้นินจาการตลาดจะมา #สรุปให้ในโพสต์เดียว
เริ่มเลยนะ…
หลักการในการเลือกคิดกลยุทธ์ที่จะเล่าวันนี้ จะใช้มิติของตัวสินค้า และ กลุ่มเป้าหมาย มาเป็นแกนในการกำหนดยุทธศาสตร์การสื่อสารของแบรนด์กัน
.
รู้หรือไม่ว่า… ทุก ๆ ครั้งที่แบรนด์สื่อสารอะไรออกมา สิ่งที่แบรนด์จะทำเสมอ คือการพิจารณาเลือกกลุ่มเป้าหมายควบคู่กับตัวสินค้าที่ต้องการใช้เพิ่มยอดขายอย่างพิถีพิถัน
.
ทำไมน่ะเหรอ… เพราะการแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนจะช่วยทำให้ธุรกิจนั้น Focus การสื่อสารการตลาดได้ตรงเป้าหมายกว่า การหว่านการสื่อสารไปหาทุก ๆ คน
.
ถ้าเอาให้ดี มีมิติของการแบ่งกลุ่มลูกค้าได้เป็นร้อยเป็นพันแบบ แต่หลัก ๆ แล้วทั้งหมดนั้นมาจากจุดเริ่มต้นของกลุ่มเป้าหมายแค่เพียง 3 กลุ่มนี้ ได้แก่
– ลูกค้านอก Segment ที่ไม่เคยรู้จักหรือใช้งานสินค้าทั้งของเราและของคู่แข่ง
*** Segment ที่ใหญ่สุด แต่ก็ท้ายทายที่สุดด้วย เพราะเป็นตลาดที่ธุรกิจไม่คุ้นเคย ***
.
– ลูกค้าใน Segment ที่ใช้ของคู่แข่งมาก่อน หรือกำลังใช้อยู่ แต่ก็ไม่เคยใช้ของเราเลย
*** Segment ที่เท่ากับขนาดตลาด ความท้าทายคือต้องเปลี่ยนใจลูกค้าในกลุ่มนี้ให้ได้ ***
.
– ลูกค้าเดิม ที่เคยใช้สินค้าเราอยู่
*** Segment ที่เล็กที่สุด แต่ก็ง่ายที่สุด สินค้าต้องดีจริงบวกกับการสื่อสารที่ถูกต้องเพื่อทำให้ลูกค้าคงอยู่และซื้อเพิ่มขึ้น ***
.
โดยทั้ง 3 กลุ่มนั้นจะถูกเอามาจับคู่กับการแบ่งประเภทของสินค้า ซึ่งไม่ว่าแบรนด์จะมีสินค้ากี่สิบกี่ร้อยแบบ แต่เช่นเดียวกันกับกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องแบ่งมาจากจุดเริ่มต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
.
– สินค้าเดิม
– สินค้าใหม่
.
เทคนิคการจับคู่แบบ Matrix นี้จะสร้างให้เกิดกลยุทธ์การเพิ่มยอดขายที่ทรงประสิทธิภาพได้มากกว่าเดิม
.
และนี่กลยุทธ์ใหญ่ทั้ง 6 แบบ ที่ได้มาจากการประสานทั้ง 2 มิติเข้าด้วยกัน
1.กลยุทธ์เปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าด้วยนวัตกรรม
กลยุทธ์ที่ได้มาจากการจับคู่ระหว่าง
ลูกค้านอก Segment ที่ไม่เคยรู้จักหรือใช้งานสินค้าทั้งของเราและของคู่แข่ง
และตัวสินค้าใหม่
.
เปิดประเด็นการสื่อสารด้วย Emotional ที่สะท้อน Pain หรือยกระดับ Gain ของลูกค้า สร้างการเปลี่ยนแปลให้กับชีวิตด้วยการยกเอาประสบการณ์ที่ลูกค้าเจอจริง ๆ ในชีวิตประจำวันมาสื่อสาร โดยต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงอารมณ์จริง ๆ แล้วค่อยนำฟีเจอร์ความเป็นนวัตกรรมของเราไปปิดท้าย ว่ามันสามารถช่วยชีวิตของลูกค้าได้อย่างไร
.
ตัวอย่างที่ชัด ๆ ก็ให้นึกย้อนไปเมื่อตอนที่ธุรกิจ Uber เข้ามาในตลาด กับภาพเนื้อหาที่สะท้อนออกมาด้วยการใช้วลีที่กระตุ้นประสบการณ์ของลูกค้า แล้วค่อยแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้อย่างไร
.
ตัวอย่างของแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้คงหนีไม่พ้นการหยิบเอาเคสของ Apple ที่มักใช้ทุกครั้งเมื่อเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ เช่น การล้วงเอาเพลงนับหมื่นเพลงมาจากกระเป๋ากางเกง แล้วเรียนชื่อมันว่า iPod เครื่องเล่นเพลงพกพาที่ตั้งใจเอามาแทนที่เครื่องเล่นรูปแบบเดิม ๆ หรือตอนที่เปิดตัว iPhone 1 โทรศัพท์หน้าจอสัมผัสไร้ปุ่มหมายเลขที่ผู้คนคุ้นเคย
.
และที่ทุกคนจำได้แม่นอีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือ ตอนที่สตีฟจ๊อป หนีบซองเอกสารขึ้นเวที แล้วอยู่ ๆ ก็ล้วงเอาเครื่องโน๊ตบุ๊กออกมาจากซองนั้น แล้วนำเสนอว่ามันคือ Macbook Air คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กที่บางที่สุดเท่าที่เคยมีมา
.
ลักษณะการสื่อสารการตลาดแบบนี้ คือการเน้นชูนวัตกรรม แต่ไม่ใช่การนำฟีเจอร์ของมันมาเปิดเพื่อสร้างการรับรู้ แต่เป็นการแปลงฟีเจอร์เหล่านั้น ให้เป็น Benefit ว่ามันสร้างให้เกิดประโยชน์อย่างไรถ้าใช้มัน แต่ก็ไม่ได้ใช้ Benefit ในการสื่อสารโดยตรง ต้องแปลง Benefit นั้น ให้กลายเป็นประสบการณ์จริงของลูกค้าหรือที่นินจาการตลาดมักจะเรียกมันว่า Micro Moment
.
คือการเอาห้วงจังหวะหนึ่งของชีวิตลูกค้า มาพูดถึงมันแล้วเติมด้วยโซลูชั่นที่เรามี
.
การทำได้อย่างถูกต้อง ความว้าวจะเกิด และก็ช่วยให้แบรนด์ระเบิดยอดขายมานักต่อนักแล้ว
2.กลยุทธ์เปลี่ยนวิธีการ/ เล่าเรื่องใหม่
กลยุทธ์ที่ได้มาจากการจับคู่ระหว่าง
ลูกค้านอก Segment ที่ไม่เคยรู้จักหรือใช้งานสินค้าทั้งของเราและของคู่แข่ง
และสินค้าเดิม
.
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่านี่คือ Story Telling หรือเปล่า เอาจริง ๆ มันคือการนำสินค้าเดิมที่เรามีอยู่ไปเล่าวิธีการใช้งานที่ไม่เหมือนเดิม เพราะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ เขาไม่ซื้อเราหรือคู่แข่งอยู่แล้ว (ถ้าจะซื้อคงซื้อไปนานแล้ว ไม่งั้นไม่เรียกลูกค้านอก Segment หรอก)
.
ดังนั้น ต้องทำให้สินค้าเราไปช่วยชีวิตเขาในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
.
รู้แหละว่านึกไม่ออกหรอกว่ามันยังไงนะ…
.
เอางี้ ยกตัวอย่างให้ดูดีกว่า พวกเรารู้จัก อุทัยทิพย์กันไหมครับ ใช่ครับ ใครเกิดยุค 90 จะต้องเคยได้ทานน้ำเย็น ๆ จากร้านอาหารตามสั่งที่แม่ค้าผสมหัวเชื้อหอม ๆ สีแดง ๆ อย่างอุทัยทิพย์กันมาบ้างแล้ว
.
กลุ่มเป้าหมายของเขาคือใคร คงนึกออกใช่ไหมครับ ไม่แม่ค้า ก็แม่บ้าน
.
แต่วันดีคืนดี ก็เกิดกระแสเด็กวัยรุ่นตอนต้น วันที่ต้องการแสดงตัวตน ต้องการเป็นที่ยอมรับด้วยการสร้างจุดสนใจให้กับเพื่อนหรือเพศตรงข้าม พากันเอาอุทัยทิพย์ไปทาปากให้แดง หรือทาแก้มให้ดูมีเลือกฝาด กันทั่วบ้านทั่วเมือง (เนี่ยแหละที่เรียกว่า กลุ่มลูกค้านอก Segment)
.
นี่แหละครับตัวอย่างของการ “เปลี่ยนวิธีการใหม่หรือเล่าเรื่องใหม่” เล่าวิธีการใช้งานใหม่ของสินค้า ที่กระตุ้นให้คนที่ไม่เคย และไม่คิดจะซื้อของคุณและรวมถึงคู่แข่งของคุณมาก่อน กลับแห่กันมาซื้อสร้างยอดขายแบบก้าวกระโดดได้
3.กลยุทธ์การชู Advantage นำ
กลยุทธ์ที่ได้มาจากการจับคู่ระหว่าง
ลูกค้าใน Segment ที่ใช้ของคู่แข่งมาก่อน หรือกำลังใช้อยู่ แต่ก็ไม่เคยใช้ของเราเลย
และสินค้าใหม่
.
ปกติกลยุทธ์นี้ไม่ได้อยู่ ๆ ก็คิดงอกขึ้นมาใช้กันได้นะครับ เพราะมันต้องเกิดจากการที่ธุรกิจมองเห็นจุดอ่อนของสินค้าในตลาดที่มันยังแก้ปัญหาบางเรื่องไม่ได้ เลยผลิตหรือสร้างสินค้าตัวใหม่เข้าสู่ตลาด
.
ซึ่งนั่นหมายถึงเราต้องแสดงความแตกต่างของสินค้าใหม่นี้ให้ตลาดรับรู้และเชื่อให้ได้
.
การเลือกเอาข้อได้เปรียบ (Avantage) มาพูดให้ตรงประเด็นไปเลย ซึ่งการตรงประเด็นที่ว่าในมุมของลูกค้า ไม่ใช่การขายนะ แต่เป็นการทำให้เห็นข้อแตกต่างจากจุดเดิมที่ลูกค้าเผชิญหรือเจออยู่
.
ความแตกต่างนี้จะช่วยลูกค้าได้อย่างไร เอามาใช้พูดได้เลยครับ
.
ทีนี้สังเกตุนะครับว่า เราไม่สามารถใช้กลยุทธ์นี้กับกลุ่มเป้าหมายอื่น ทั้งลูกค้าเดิม และลูกค้านอก Segment ได้ เพราะเขาจะไม่เข้าใจ อย่าเลือกหยิบไปใช้ผิด ๆ เชียวนะ
.
ใช้ได้เฉพาะลูกค้าคู่แข่งที่เราต้องการแย่งเขามาเท่านั้น เพราะคนกลุ่มเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจเกียวกับสินค้ามามากแล้ว พอได้เจอเราพูดข้อแตกต่างเข้าไป การเปลี่ยนใจจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายมากครับ
.
ส่วนลูกค้าเก่าจะงง เพราะเขาใช้ของเราอยู่แล้ว ไปเล่าว่าเราแตกต่างกว่าคู่แข่งยังไง อย่าได้หาทำเด็ดขาด เพราะยังไงเขาก็ซื้อเราอยู่แล้ว จะซื้อมากซื้อน้อย นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายกลยุทธ์เพิ่มยอดขายสำหรับลูกค้าเดิมให้ฟังอีกที หากหยิบนำเอากลยุทธ์นี้ไปใช้ มีโอกาสมากนะครับ ที่ลูกค้าอาจหนีไปใช้สินค้าคู่แข่งได้เฉย ๆ เลย
4.กลยุทธ์การชู Benefit นำ
กลยุทธ์ที่ได้มาจากการจับคู่ระหว่าง
ลูกค้าใน Segment ที่ใช้ของคู่แข่งมาก่อน หรือกำลังใช้อยู่ แต่ก็ไม่เคยใช้ของเราเลย
และสินค้าเดิม
.
กลยุทธ์ข้อ 4 นี้ น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในบรรดากลยุทธ์ทั้ง 6 ข้อ ซึ่งกลยุทธ์ข้อนี้มีความคล้ายกับกลยุทธ์ในข้อ 3 มากครับ เพราะเป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เคยใช้สินค้าของคู่แข่งอยู่เหมือนกัน ต้องแย่งลูกค้าคู่แข่งเหมือนกัน
.
เพียงแต่ให้เน้นขอกของดีในเชิง Benefit ออกมาครับ
.
ข้อดีที่เหนือกว่าคู่แข่งมีกี่ข้อ ให้ List ออกมาแล้วใช้สื่อสารออกไป คือด้วยที่ว่าสินค้านั้นถูกผลิตออกมาแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเหมือนกับสินค้าใหม่ในข้อ 3 ได้ ก็ต้องควาญหาจุดเด่นที่ดีกว่าออกมาพูดในมุมของประโยชน์ลูกค้าให้ได้ นั่นแหละครับเหตุผลที่ว่าทำไมกลยุทธ์นี้ถึงนิยมที่สุด
.
ก็มีสินค้าอยู่แล้วนิ ผลิตออกมาแล้วนี่ ก็ต้องขายให้หมดละ
.
สำหรับกลยุทธ์ที่ 3 และ 4 แนะนำว่าให้ไปทำความเข้าใจเรื่องการใช้ FABs ครับ นินจาการตลาดเคยพูดเคยเขียนเรื่องนี้ไปหลายครั้งละ ตามไปอ่านกันนะ จะได้หา Advantage และ Benefit กันเป็น
https://www.ninjakantalad.com/fab-feature-advantage-benefit/
5.กลยุทธ์การ Upsale/ Cross Sale
กลยุทธ์ที่ได้มาจากการจับคู่ระหว่าง
ลูกค้าที่เคยใช้สินค้าของเรา
และสินค้าใหม่
.
เราจะใช้กลยุทธ์นี้ได้เฉพาะกับลูกค้าเดิมเท่านั้น เพราะขืนเอาการ Upsale และ CrossSale ไปพูดกับลูกค้าใหม่ ทั้งใน Segment และนอก Segment ลูกค้าใหม่เหล่านั้นก็คงไม่สนใจครับ เพราะไม่รู้จัก อยู่ ๆ จะมาให้ซื้อสินค้าใหม่มาใช้ร่วมเขาก็คงไม่ไว้ใจหรอก
.
จะเชื่อได้อย่างไรว่าเปลี่ยนใจมาซื้อเราแล้วจะดี ดังนั้นคนที่จะซื้อด้วยการสื่อสารกลยุทธ์แบบ Upsale/ Cross Sale นั้น ต้องเป็นลูกค้าเก่าเท่านั้น
.
ปัญหาก็คือ ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่เคยเก็บฐานข้อมูลลูกค้า แล้วแยกกลุ่มให้ชัดเจน ซึ่งนั่นหมายถึงเราไม่สามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะกับการ Cross Sale หรือ Upsale ได้
.
เพราะไม่รู้ว่าใครเคยซื้อะไร ถี่แค่ไหน การตลาดเชิงรุกกับลูกค้าเก่าจึงแทบทำไม่ได้เลย มีแต่ตั้งรับอย่างเดียว
.
จึงเป็นเหตุผลที่เราสร้างยอดขายเพิ่มกับลูกค้าเก่าไม่ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ (เพราะรอตั้งรับอย่างเดียว)
.
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจมักจะหยิบเอาระบบ CRM มาใช้งานกัน เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าในกลุ่มที่ 5 นี้ อย่างที่เห็น SME ใช้กันบ่อย ๆ เช่น การนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอสินค้า Cross Sale ด้วยการบรอดแคสต์ไปหาสมาชิกที่เกิดเดือนนั้น เทคนิคนี้ใช้ได้ผลมาก ๆ ครับ เพราะช่วยทำให้โอกาสการซื้อของลูกค้าเดิมกับสินค้าใหม่ที่เราต้องการจะเปิดตัว ด้วยการให้เขารู้สึกว่ามีเหตุผลที่ต้องให้รางวัลตัวเองในเดือนเกิดนั่นเองครับ ใครอยากได้ลองใช้ฟีเจอร์นี้ ลองไปใช้ของ ChocoCRM ดูครับ
6.กลยุทธ์การ กระตุ้นความถี่ และปริมาณในการซื้อต่อครั้ง
กลยุทธ์ที่ได้มาจากการจับคู่ระหว่าง
ลูกค้าที่เคยใช้สินค้าของเรา
และสินค้าเดิม
.
เช่นเดียวกันว่ากลยุทธ์นี้ อย่าได้ไปใช้กับลูกค้าใหม่เด็ดขาด ใช้ได้แค่ลูกค้าเดิมเท่านั้น
.
เคล็ดลับในการทำให้ลูกค้าเก่าซื้อสินค้าเราเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่การบอกโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เมื่อลูกค้าซื้อเยอะหรือถี่ขึ้นเท่านั้น
.
เพราะถ้าทำแค่นั้น ลูกค้าจะซื้อเยอะแค่ครั้งนี้ แต่จะหายไปนาน ความถี่ในการซื้อจะน้อยลง จนอาจสูญเสียไปให้กับคู่แข่งได้เลย เพราะความที่ห่างกันนาน จึงทำให้อาจมีใจหลงไปกับสินค้าของคู่แข่งง่ายขึ้น
.
เทคนิคที่ควรทำคือการสื่อสารการตลาดที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องใช้สินค้าเรามากขึ้นจริง ๆ เช่น เติมผงบุก 2 ซองต่อมื้อ ได้ผลลัพธ์ที่ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นเป็นต้น
.
บางคนอาจเถียงว่า เอ้ย.. ทำคอนเทนต์แบบนี้ไม่ได้ ยิงโฆษณายิ่งไม่ได้ใหญ่เลย เพราะแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์มีกฎห้ามไว้
.
เคล็ดลับที่แบรนด์ใช้กัน แต่ SME ไม่รู้ก็คือ… เขาจะไม่สื่อสารข้อความสุ่มเสี่ยงเหล่านั้นผ่านการโฆษณาบนโซเซียลมีเดียทั่ว ๆ ไป
.
แต่เขาเลือกที่จะส่งข้อความเหล่านั้นตรงไปยังลูกค้าที่เป็นสมาชิก ซึ่งการสื่อสารอะไรในบ้านของเราเอง เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่าการสื่อสารออกไปข้างนอก ที่ไม่รู้จะโดนปิดก้ันเมื่อไหร่
.
อย่างในกลยุทธ์ข้อที่ 5 ที่พูดถึงระบบ CRM ของ ChocoCRM ซึ่งนอกจากการเลือกบรอดแคสต์ให้สมาชิกในวันเกิดแล้ว การมีระบบสมาชิกยังทำให้เราสามารถสื่อสารด้วยการบรอดแคสต์เนื้อหาหรือคำโฆษณาขายกับเฉพาะสมาชิกของเรา โดยไม่ต้องไปกระจายเนื้อหาออกสู่สธารณะก็ได้ เพราะใช้ LINE OA เป็น Base ในการสื่อสาร เพียงแต่การใช้ระบบสมาชิกอย่าง ChocoCRM ก็จะได้ใช้ฟีเจอร์ที่เหนือกว่าการใช้ LINE OA ทั่ว ๆ ไปในการสื่อสารลูกค้า
.
อย่างในกลยุทธ์นี้ เป็นการกระตุ้นความถี่หรือกระตุ้นปริมาณการซื้อต่อครั้งให้มีตัวเลขมากขึ้น การใช้ระบบ ChocoCRM จะทำให้เรามอบโปรโมชั่นพิเศษให้กับลูกค้า เพื่อกระตุ้นความถี่หรือกระตุ้นปริมาณการซื้อต่อครั้งได้ง่ายมากขึ้นด้วย
.
แถมยังเลือกได้ว่า ลูกค้าคนไหนควรให้โปรแรง หรือเบา ในการกระตุ้น เพื่อใช้งบกับโปรได้อย่างเหมาะสม ผลกำไรที่ดีกว่าการหว่านโปรเดียวกันไปหาทุก ๆ คน
.
คนไหนมีประวัติซื้อมาเยอะ ก็เหมาะกับการได้โปรผ่านคูปองที่จุใจหน่อย ส่วนคนไหนที่ประวัติการซื้อไม่บ่อยนัก ก็ยังให้โปรอยู่แต่อาจจะไม่ได้แรงเท่า
.
ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการแบ่ง Tier Member เท่านั้น แล้วค่อยมอบสิทธิ์ส่วนลดหรือของรางวัลพิเศษในแต่ละ Tier Member ที่แตกต่างกันออกไป
.
ใครอยากลองใช้ก็ลองคลิกไปดูรายละเอียดกันได้นะครับ https://www.chococrm.com/Product/Product_CRM
.
.
.
.
.
ทีนี้ก็ต้องมาเลือกกันแล้วครับว่าเราจะโพกัสไปสร้างยอดขายที่ลูกค้ากลุ่มไหนบ้าง จะเลือกทำทั้ง 6 กลุ่ม หรือจะเลือกทำแค่บางกลุ่มก็ขึ้นอยู่กับ สรรพกำลัง ทั้งคนและเงินของแต่ละธุรกิจ
.
ประเด็นคือ ถ้าเป็นธุรกิจใหญ่ เงินหนา คงไม่ใช่เรื่องลำบากนักในการลงงบประมาณทำทุกๆ แคมเปญพร้อมกัน
.
แต่ในขณะที่เราเป็นธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งมีงบประมาณและทรัพยากรจำกัด คงต้องเลือกแค่บางกลุ่มกลยุทธ์ที่ทำได้ทันที
.
ซึ่งแนวคิดของการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว มักทำผลลัพธ์ได้ในระดับต้นทุนที่ต่ำกว่าการพยายามสื่อสารไปกับกลุ่มลูกค้าใหม่
.
และการนำระบบบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์หรือ CRM มาใช้ นินจาการตลาดคิดว่า ทำให้ธุรกิจขนาดย่อม เดินตามรอยแบรนด์ใหญ่ได้ไม่ยากเลย แถมต้นทุนต่ำด้วย