เสนอขายสินค้า/ บริการ ให้กับลูกค้าที่ใช่จริง ๆ ทั้งไม่เสียเวลา และคุ้มค่าการลงทุน มากกว่าพยายามเร่ขายให้กับใครก็ได้ ทุก ๆ คน…
.
ใช่ครับ ใครก็อยากขายของให้ได้เยอะ ๆ และก็มีลูกค้าหลาย ๆ คน แต่การพยายามที่จะสื่อสารการขายไปถึงคนทุก ๆ คนโดยไม่เลือกเลยนั้น มันอาจมีแต่จะเสีย มากกว่าได้นะครับ ทั้งด้านต้นทุน ทั้งด้านภาพลักษณ์
.
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักการตลาดที่เจนจัดสนาม จะให้ความสำคัญในการวางแผนการสื่อสาร โดยมักจะต้องคัดกรอง คัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่คิดว่าใช่จริงๆ เพียงแค่ไม่กี่กลุ่ม หรืออาจจะมีเพียงแค่กลุ่มเดียวเท่านั้นด้วยซ้ำ
อ่านต่อ
ไม่มีใครมีความคิดเหมือนกันได้ทั้งหมด แม้แต่ฝาแฝดที่คลอดตามกันมา ยังมีความรู้สึกนึกคิดบางเรื่องแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
.
ดังนั้นการจะสื่อสารการตลาดอะไรออกไป นักการตลาดที่เข้าใจเรื่องนี้จะทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยแยกย่อยออกมาหลาย ๆ กลุ่ม หรือที่เรียกว่า Segmentation เพื่อจำแนกแยกแยะให้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่า คนในกลุ่มย่อยต่าง ๆ เหล่านั้น มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อนักการตลาดจะได้มีหลักในการเลือกหากลุ่มที่เหมาะสมที่สุดที่แบรนด์ควรจะสื่อสารก่อนเป็นอันดับแรก ๆ
.
Blog นี้นินจาการตลาดก็เลยอยากจะเขียนเล่าให้เห็นภาพว่าการแบ่งกลุ่ม Segmentation นั้น สามารถแบ่งได้จากอะไรบ้างที่เป็นที่นิยมทำกัน
.
1. แบ่งตาม Psychographic
.
แบ่งตามไลฟ์สไตล์การคบหาสมาคมในระดับสังคม หรือความคิดในเชิง Attitude
2. แบ่งตาม Geographic
.
การแบ่งตามเขตพื้นที่ เช่น เมือง จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ฯลฯ
3. แบ่งตาม Demographic
.
การรูปแบบการแบ่งแบบพื้นฐานที่มักจะนิยมกันมากที่สุด และทำได้ง่ายที่สุดแบบหนึ่ง เช่น แบ่งตามอายุ, เพศ, เจนเนอเรชั่น, ขนาดของครอบครัว, การศึกษา, รายได้ ฯลฯ
4. แบ่งตามพฤติกรรม Behavioral
.
การแบ่งที่ลงลึกไปถึงความแตกต่างในเชิงของพฤติกรรมของผู้คนที่มีความชอบหรือไม่ชอบ และส่งผลต่อการกระทำอะไรบางอย่างออกมา ที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
.
ซึ่งการแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมนี้ ถือว่าเป็นการแบ่งที่นักการตลาดต้องทำการบ้านกันเยอะที่สุดแบบหนึ่ง เพราะต้องอาศัยการเฝ้าสังเกตุมากกว่าปกติ หรือการสร้างฐานการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงกลุ่มพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้คน และนำมาจำแนกให้กลายเป็นหมวดหมู่
.
ซึ่งรูปแบบของการแบ่งตามพฤติกรรม สำหรับคนที่เคยซื้อโฆษณาบนเฟซบุ๊กก็น่าจะคุ้นเคยกันนะครับ เพราะนั่นก็เป็นการเก็บข้อมูลของผู้คนที่อยู่บนโลกโซเซี่ยลอย่างเฟซบุ๊กที่ใช้งานในพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป
.
5. แบ่งตาม Source แหล่งต้นทางที่มา
.
ต้นทางแหล่งที่มาในที่นี้หมายถึงว่า ผู้ใช้งานได้เข้ามายัง Platform ที่เราได้ทำการเก็บข้อมูลไว้นั้นมาจากช่องทางใดบ้าง เช่น จาการค้นหา จากเว็บบอร์ด จากการพิมพ์ตรง ๆ เข้ามาเลย หรือแม้แต่จากโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งอันสุดท้ายนี้ อาจจะมีการแยกย่อยระบุให้ชัดลงไปอีกก็ได้นะว่ามาจากโซเชี่ยลมีเดียตัวไหน เช่น Facebook, LINE, Instragram
6. แบ่งตามหมวดหมู่ Categories
.
เป็นการแยกลูกค้าตามประเภทของตัวลูกค้าเอง เช่น ลูกค้ากลุ่มสายกีฬา กลุ่มสายการเมือง กลุ่มธุรกิจ กลุ่มวัฒนธรรม
7. แบ่งตาม Device อุปกรณ์ที่ใช้งานมาเข้าถึง
.
เช่น เข้าถึงจาก Computer เขาถึงจากเครื่องมือถือ หรือเข้ามาจาก Tablet
.
บางทีอาจจะมีการแยกย่อยลงไปอีกมิติเช่น การระบุระบบปฏิบัติการที่ใช้ด้วย
8. User Type แบ่งตามประเภทการเข้ามาใช้งาน
.
การแบ่งแบบนี้จะดูจาก Platform ที่เราใช้งานเป็นหลัก ว่าผู้ที่มาเข้ามาใช้งานนั้นเป็นผู้ใช้งานใหม่ ผู้ใช้งานที่เข้ามาซ้ำ หรือผู้ใช้งานที่เข้ามาบ่อยๆ ชนิดที่เรียกได้ว่าเป็น Fan Club ได้เลย
ถ้าคุณคิดว่าเริ่มต้นการสื่อสารการตลาดอย่างมีกลยุทธ์เป็นเรื่องที่ต้องทำกับธุรกิจของคุณ เรื่องการแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น Segment ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากที่ต้องมองเป็นเรื่องแรก ๆ ก่อนจะเลือก Segment เหล่านั้นเป็น Target เพื่อไปหา Customer Insight ในการวางกลยุทธ์การสื่อสาร และเรื่องการวางแผนสื่อต่อไป
Photo by rawpixel.com from Pexels