fbpx

Ep.3 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

Home » Ep.3 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

Ep.3 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

100 ศัพท์การตลาด

Ep.3 : ทีมงานจะคุยกับผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการคุยกับเอเจนซี่ จะไปได้ดีต้องใช้ภาษาเดียวกัน.

ผ่านไปแล้ว 20 ศัพท์ จาก Ep.1 และ Ep.2 ที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้ว วันนี้มาเรียนรู้เพิ่มอีก 10 คำศัพท์นะครับ

.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.1”
.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.2”

.
“คุยอะไรกัน ภาษาต่างดาวเหรอเนี่ย”

ถ้าคุณเคยต้องดิวงานด้านการตลาดอยู่ แล้วมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณ ต้องรีบอ่านเนื้อหาที่นินได้นำมาให้ในวันนี้ทันทีเลยนะครับ

หลายครั้งที่การทำงานด้านการสื่อกสารการตลาดดิจิทัล หรือพูดง่ายๆ ว่าการทำตลาดออนไลน์ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง มีผลมาจากการทำงานที่ไม่เข้าใจกัน ทั้งลูกน้องกับหัวหน้าเอง หรือแม้แต่ตัวเจ้าของกิจการกับเอเจนซี่
.

คนนึงพูดด้วยภาษาการตลาดดิจิทัล อีกคนไม่เข้าใจนัยยะของมัน ซึ่งหลายๆ คำ ไม่สามารถอธิบายได้ในประโยคเดียว บางคำถึงขั้นต้องมีประสบการณ์ทำงานมาก่อนเลยทีเดียว ถึงจะเข้าใจ
.

วันนี้นินเลยขอรวบรวมคำศัพท์การตลาดยุคใหม่ (ดิจิทัล) ที่สำคัญๆ มาเล่าให้พวกเราเข้าใจกัน เพื่อการพัฒนาของกิจการและการทำงานที่ยังยืนด้านการสื่อสารดิจิทัล

นินขอเริ่มจากคำแรกเลยนะครับ

นินจาการตลาด

Call to Action.

คำนี้หมายถึงการกระทำที่เราคาดหวังให้ลูกค้ากระทำสิ่งนั้น เมื่อมีการสื่อสารการตลาดเกิดขึ้น เช่น การ กดเข้าไปสู่ลิงค์ หลังจากที่ได้อ่านหรือดูสื่อของแบรนด์ที่นำเสนอไปแล้ว
.
การคลิกไปยัง inbox หลังจากที่ได้เสฟสื่อแล้ว เพื่อสอบถามรายละเอียด หรือพูดคุยกับแบรนด์ที่เป็นผู้นำเสนอสื่อนั้นๆ
.
การพิมพ์คอมเม้นท์โพสต์นั้นๆ หากเนื้อหาของสื่อในโพสต์นั้นๆ ระบุให้กระทำการคอมเม้นท์ขึ้น
.
Call to Action ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องมีและชี้นำให้ผู้เสพสื่อตอบสนองกับ Call to Action ทุกครั้งไม่ว่าจะสื่อสารอะไรก็ตาม เพราะถือว่าเป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นที่จะทำให้เราทราบว่าการสื่อสารครั้งนั้นประสบความสำเร็จในระดับเบื้องต้นมากน้อยขนาดไหน
.
สิ่งที่ผู้นำเสนอสื่อควรต้องพึงระวังคือ ต้องทำให้ผู้เสพสื่อสามารถเข้าถึงการกระทำนั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก หรือซับซ้อนเกินไป

.
เพื่อเอื้อให้การกระทำนั้นๆ เกิดขึ้น การทำ Call to Action จึงมีหลากหลายวิธีการ ดังจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
.
การแสดงลิงค์ท้ายเนื้อหาเพื่อให้ผู้เสพเนื้อหานั้นกดเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการ
.
การสร้างปุ่ม ที่มีความโดดเด่นมาก และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้
.
ตัวอย่างข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง Call to Action ของนินตัวหนึ่งที่ทำอยู่เสมอ คือการเชิญชวนให้ผู้ใช้งานเว็บนินจาการตลาด สามารถติดตามความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว้

อัพเดตความรู้ด้านการสื่อสารการตลาดยุคใหม่ได้ที่ LINE@ นินจาการตลาด

นินจาการตลาด

Facebook Pixel.

คำนี้หลายคนคงเคยได้ยินได้ฟังมากันบ้างแล้วนะครับ แต่ก็ยังไม่เข้าใจความหมายของศัพท์คำนี้จริงๆ เสียที ยิ่งถ้าพูดถึงวิธีการทำด้วยแล้ว อันนี้บางคนรู้สึกไกลตัวไปเลย
.
ลองนึกถึงตอนที่เราเข้าเว็บหรือแอป E-Commerce อย่าง Lazada ได้ไหมครับ เมื่อเราสนใจสินค้าสักตัวแล้วเข้าไปดูข้อมูลสินค้านั้นๆ ในเว็บหรือแอป แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ตัดสินใจซื้อมัน และออกจาก Platform ไปในที่สุด
.
และเมื่อเรามาเล่น Facebook ก็พบว่าสินค้าตตัวนั้น รุ่นนั้นของร้านนั้น มาแสดงเป็นโฆษณาให้เราได้เห็นอีกครั้ง
.
สิ่งนี้แหละคือสิ่งที่ Facebook Pixel ทำได้
.
Facebook Pixel เป็น Code ตัวหนึ่งครับ ที่ถูกสร้างมาจาก Facebook Account ของแต่ละคนได้เลย ซึ่งแต่ละ Account ก็จะมี Code ที่แตกต่างกันไป โดย Code ชุดนี้จะต้องนำเอามาติดหรือฝังเอาไว้บนเว็บไซต์ครับ ใช่ครับ Facebook Pixel ทำงานร่วมกับเว็บไซต์ครับ
.
โดยจะต้องติดไว้ทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ครับ ถ้าเว็บคุณมี 1,000 หน้า ก็ควรต้องติด 1,000 หน้าครับ (ด้วย Code แบบเดียวกันทุกๆ หน้าเลย)
.
แต่ที่นิยมติดกันจริงๆ แล้วนั้น มักจะนิยมติดกันที่ส่วน Hader ของเว็บไซต์ครับ เพราะ Hader จะเป็นส่วนที่แสดงอยู่ทุกๆ หน้าของเว็บไซต์อยู่แล้ว ดังนั้น เราติด Facebook Pixel เพียงที่เดียวบน Hader ทุกอย่างก็ง่ายเลยครับ เหมือนดั่งว่า เราได้ติด Facebook Pixel ไว้ทุกๆ หน้าของเว็บไซต์แล้ว

นินจาการตลาด

Cookie.

คำนี้ไม่ได้หมายถึงขนมนะครับ แต่คำว่า Cookie นี้ เป็นเรื่องเดียวกันกับศัพท์คำก่อนหน้านี้เลย (Facebook Pixel) ซึ่ง Cookie หมายถึงการนำเอา Code ไปฝังไว้ตามเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ผู้ที่เปิดเว็บนั้นๆ ได้รับ Code ที่ฝังไว้โหลดเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องมือถือไปด้วย

.
คือ ทุกครั้งที่เราเข้าเว็บไซต์ใดๆ หลักการมันคือการโหลดเอาข้อมูลของเว็บไซต์นั้นเข้ามาในเครื่องของเรา ซึ่งเมื่อข้อมูลภาพและเสียงนั้นโหลดมา จะถูกโหลดมาพร้อมๆ กับ Cookie Code ด้วย
.
ซึ่งไอเจ้า Cookie Code นี้ เราจะไม่สามารถมองเห็นได้ผ่านการดูหน้าเว็บไซต์ปกติครับ พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ มันฝังตัวมาพร้อมกับข้อมูลทั้งหมดที่โหลดเข้าเครื่องเรามานั่นเอง

.
ทีนี้เอง เจ้าของเว็บ สามารถเก็บข้อมูลของผู้ที่เข้าเว็บหน้าต่างๆ นำมาใช้เป็นฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้สำหรับการยิงโฆษณาด้วย
.
ฟังดูแล้ว Facebook Pixel เอง ก็เป็น Cookie ประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน

นินจาการตลาด

Retarketing.

ศัพท์คำนี้ เป็นศัพท์ที่ต่อเนื่องมาจากศัพท์สองสามคำก่อนหน้าเลยครับ การยิงโฆษณาไปหาผู้คนที่เราเก็บฐานข้อมูลจากการเข้าเว็บไซต์นั่นเองที่เรียกว่าการ Retargeting

.
ซึ่งการ Retargeting นั้นยังรวมถึงการเก็บข้อมูลอื่นๆ นอกจากแค่การเก็บข้อมูลจากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เท่านั้นอีกด้วย เช่น ผู้ที่มีส่วนร่วม (Engagement) กับเพจ หรือ ผู้ที่รับชมคลิปวิดีโอ เป็นต้น

นินจาการตลาด

Remarketing.

คำที่มาคู่กันกับคำว่า Retarketing ก็คือคำว่า Remarketing คำสองคำนี้ มีความหมายเหมือนกันเลยครับ เพียงแต่ต่างกันที่ Platform ก็คือ Retarketing ใช้กับ Facebook ส่วน Remarketing ใช้กับ Google นั่นเอง
.
ซึ่งในฝั่ง Google ก็จะต้องมี Code ไปฝังไว้ในเว็บไซต์เช่นเดียวกับ Facebook Pixel ครับ

นินจาการตลาด

Saved Audience.

Saved Audience ในภาษาไทยเรียกว่า กลุ่มเป้าหมายที่บันทึกไว้ ศัพท์นี้ ถ้าใครเคยยิงโฆษณาบน Facebook น่าจะพอคุ้นเคยกันบ้างนะครับ แต่ถ้ายังไม่เคยก็ลองมาฟังพร้อมๆ กันตรงนี้เลยว่าคืออะไร
.
โดยปกติแล้วเราจะต้องทำการเซ็ตกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้โฆษณาของเราไปแสดงต่อกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งต้องทำการตั้งค่าในระดับ Ad Set 
.
ทีนี้ หากเราเซ็ตกลุ่มเป้าหมายไว้แล้ว อยากจะบันทึกเก็บไว้ มันก็จะมีปุ่มให้บันทึกไว้ ซึ่งเมื่อบันทึกแล้ว มันก็จะเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นไว้ในบัญชีของเรา
.
หากครั้งหน้าต้องการที่จะยิงโฆษณาหาคนกลุ่มนี้อีกครั้ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปตั้งค่า เช็ตค่า ใหม่อีกครั้งเลยครับ

นินจาการตลาด

Custom Audience.

Custom Audience ในภาษาไทยเรียกว่า กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง
.
อันนี้สืบเนื่องจากการฝัง Facebook Pixel ไว้บนเว็บไซต์ ซึ่งหากเราต้องการจะดึงเอา Audience เหล่านั้นมาใช้ จะต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Custom Audience ของ Facebook มาใช้ครับ 
.
ซึ่งนอกจาก Custom Audience ที่มาจากการเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์แล้ว ยังรวมถึงจากแหล่งอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้ที่ชมคลิปวิดีโอ หรือผู้ที่มีส่วนร่วมกับเพจ 
.
จะเห็นว่า การจะทำการ Retargeting ได้ จะต้องทำการเซ็ต Custom Audience ก่อนนั่นเอง

นินจาการตลาด

Lookalike Audience.

Lookalike Audience แปลเป็นไทยว่า กลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจครับ 
.
Lookalike Audience เป็นการหากลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกันกับกลุ่มเป้าหมายหลักที่เรามีฐานข้อมูลไว้ เช่น การนำเอา Save Audience มาใช้ขยายหาผู้คนที่มีความใกล้เคียงในเชิงพฤติกรรมมากๆ มาใช้สำหรับการยิงโฆษณาเพื่อให้ได้ผลโฆษณาที่แม่นยำมากโดยที่ไม่ต้องเสี่ยงไปเซ็ตหากลุ่มเป้าหมายอื่นๆ
.
ซึ่ง Custom Audience เองก็เป็น กลุ่มเป้าหมายหลักที่นิยมใช้มาทำ Lookalike Audience ด้วยเช่นกัน

นินจาการตลาด

Text Overlay.

ตัวอักษรที่ซ้อนทับอยู่บนภาพ หรืออยู่บนภาพปกของคลิปวิดีโอ
.
ซึ่งเป็นการควบคุมของ Facebook เพื่อไม่ให้ภาพต่างๆ ที่ถูกโพสบน Facebook มีแต่ตัวหนังสือมากเกินไป จนทำให้ผู้คนไม่อยากเข้ามาใช้งาน
.
ซึ่ง Text Overlay จะถูกกำหนดไว้ให้ผู้ยิงโฆษณาสามารถมีตัวอักษรข้อความบนรูปภาพหรือภาพปกในวิดีโอ ได้ไม่เกิน 20%

นินจาการตลาด

Cost per ....

ตัวเลข KPI ที่จำเป็นต้องติดตามเพื่อวัดผลของการโฆษณาครับ โดยอิงเอาราค่าต่อการกระทำที่เกิดขึ้นของกลุ่มเป้าหมายที่เรายิงโฆษณาไปเป็นตัวชี้วัด
.
เช่น 
.
Cost per Reach: ราคาต่อการเข้าถึง
.
Cost per Engagement: ราคาต่อการมีส่วนร่วม
.
Cost per View: ราคาต่อการรับชมวิดีโอ
.
Cost per Purchase: ราคาต่อการสั่งซื้อสินค้า
.

ใครอยากติดตามศัพท์ตัวอื่นๆ กดไปอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ
.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.1”
.

อ่าน – “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.2”

.

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เรื่องนี้แบบการฟังการอธิบาย จาก อ.ออดี้ ก็สามารถรับชมรับฟังผ่านคลิปที่ อ.ออดี้ได้ LIVE เอาไว้ ได้เลยนะครับ
.
ในรายการทุ่มวันพุธติดอาวุธการตลาด ที่เพจนินจาการตลาด
.
ตอน “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.3”
[ข้ามไปชมศัพท์แรกนาทีที่ 4:07]

ได้เรียนรู้ศัพท์การตลาดดันไปเบื้องต้นกันถึง 10 ตัวเลยครับสำหรับ Blog นี้ ติดตามนินจาการตลาดไว้นะครับ จะเอามาฝากเพิ่มเร็วๆ นี้

นินจาการตลาด
อ.ออดี้-กิตติชัย นินจาการตลาด

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก