รู้ข่าวกันบ้างแล้วล่ะ ว่า Facebook กำลังจะลบและเปลี่ยนแปลง KPI บางตัวในเดือนเมษายน 2019 นี้ และก็มีหลายสำนักมาพูดถึงเรื่องนี้ แต่เอาจริงๆ นะ ใครรู้สึกว่ายังงงอยู่บ้าง วันนี้มาอ่านกันอย่างละเอียดกัน ดูสิว่ามันจะมีผลกระทบต่อเราอย่างไรบ้าง.
มีทั้งแบบที่ลบไปเลย และมีทั้งแบบที่แค่เปลี่ยนแปลง.
.
ผมจะอธิบายเป็นข้อๆ เป็นเรื่องๆ ไปนะครับ เพื่อให้พวกเราได้ตามทัน และจะบอกไว้ด้วยว่า อันไหนถึงขั้นถูกลบออกไป และอันไหนแค่ถูกเปลี่ยนเท่านั้น
.
KPI ของ Facebook มีอยู่เยอะมากๆ ครับ น่าจะเกิน 100 ตัวนะครับ ผมเองก็ไม่เคยนับ ซึ่งเราคุ้นเคยกันนั้น มีอยู่ไม่กี่ตัว เช่น Reach, Impression, Cost per View, Cost per Engagement ฯลฯ
.
สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า KPI ตัวอื่นๆ อีกมากมายนั้นอยู่ตรงไหน ดูยังไง เริ่มต้นก็ให้เข้าไปที่ Ads Manager (ตัวจัดการโฆษณา) แล้วไปเพิ่ม KPI โดยเลือกได้เองเลยว่าอยากให้ KPI ไหนมาแสดงผล ดูวิธีการตามภาพด้านล่างได้เลย
การเพิ่มการแสดง KPI ที่ซ่อนไว้กว่า 100 ตัว
เมื่อพอรู้แล้วว่า KPI ตัวอื่นๆ ที่เราไม่เคยนำมาวิเคราะห์มันซ่อนอยู่ตรงไหน ทีนี้ก็มาเริ่มต้น KPI ที่ Facebook กำลังลบออกและเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น มีตัวไหนกันบ้าง
1. Offered Saved และ Cost per Offer Saved.
.
เชื่อว่าหลายคนไม่ค่อยคุ้นเคยแน่ๆ เลย กับสองคำนี้ ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า “ข้อเสนอที่บันทึกไว้” และ “ต้นทุนต่อข้อเสนอที่บันทึกไว้” ตามลำดับ
.
ซึ่งอันนี้ถูกลบเลยจ้า…
.
โดยทาง Facebook ได้เขียนอธิบายระบุไว้ว่า
.
เรากำลังลบเกณฑ์ชี้วัด “ข้อเสนอที่บันทึกไว้” และ “ต้นทุนต่อข้อเสนอที่บันทึกไว้” ออก และกำลังเปิดตัว “การบันทึกโพสต์” ที่จะทำหน้าที่เป็นเกณฑ์ชี้วัดในการวัดผลจำนวนครั้งที่โฆษณาถูกบันทึกไว้เราได้เรียนรู้ว่านักการตลาดต้องการดูข้อมูลได้อย่างละเอียดมากขึ้นเมื่อมีการบันทึกโฆษณาของตนนอกเหนือจาก “โฆษณาข้อเสนอ”
.
เกณฑ์ชี้วัด “การบันทึกโพสต์” ใหม่นี้จะวัดผลจำนวนครั้งที่โฆษณาของคุณถูกบันทึก รวมถึงโฆษณาข้อเสนอทั้งหมดด้วยเกณฑ์ชี้วัด “การบันทึกโพสต์” จะทยอยเปิดตัวตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2019 และจะนับจำนวนการบันทึกโพสต์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2019 เป็นต้นไป
.
สรปุแล้วสิ่งที่มาแทน Offered Saved และ Cost per Offer Saved ก็คือ Post Saved (การบันทึกโพสต์)
.
อธิบายเพิ่มนิดนึงนะครับสำหรับคนที่ยังนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร การบันทึกโพสต์มักจะเกิดขึ้นหากผู้ที่เห็นโพสต์มีความสนใจเนื้อหาของโพสต์นั้นๆ และมีความรู้สึกว่าควรเก็บเอาไว้ สำหรับเป็นข้อมูล หรือแม้แต่การนำมาเปิดอ่านในภายหลัง ซึ่งทาง Facebook มองว่า นี่จะเป็นตัววัดค่าที่ทำให้เห็นถึงความมีคุณภาพของโพสต์นั้นๆ ที่ดีแบบหนึ่ง
.
วิธีการใช้ Post Saved
.
จะถูกนับตอนที่ผู้ใช้ทำการกดบันทึกโพสต์นั้นๆ เพื่อที่จะเก็บไว้อ่านภายหลังโดยจะวัดเปรียบเทียบกับโฆษณาหรือแคปเปญอื่นๆ
Post Saved เมื่อผู้คนสนใจในเนื้อหานั้นๆ จึงอยากบันทึกเก็บไว้อ่านภายหลัง
2. Relevance Score.
.
ในภาษาไทยเรียกว่า “คะแนนความเกี่ยวข้อง” คำๆ นี้ใน Google ก็มีนะ ความหมายประมาณว่า โฆษณานี้ถ้าจะดี ต้องดีตลอดทั้งเส้นทางด้วย ตั้งแต่ เนื้อหาหรือคำโฆษณาที่พบ ต้องดึงดูด และเมื่อเข้าไปในเนื้อหน้านั้นๆ ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำโฆษณาที่แสดงผลในจังหวะแรกก่อนคลิกเข้าไปดูด้วย
.
ถ้าเทียบกับ Google ก็ลองนึกดูถึงว่า เมื่อเราค้นหาอะไรบางอย่างด้วย Keyword แล้วพบว่ามีเว็บไซต์แสดงผลออกมา เมื่อดูแล้วมันน่าจะเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราหา คาดไว้ในใจว่ากดเข้าไปแล้วมันต้องได้ประโยชน์ตรงตามที่เราคาดหวัง
.
ถ้ากดเข้าไปแล้ว ปรากฏว่า เนื้อหาไม่ค่อยตรงกันกับ Keyword หรือ คำโฆษณา อันนี้คนจะออกจากหน้านั้นเร็วเลย ซึ่งนั่นจะทำให้ Relevance Score มีตัวเลขต่ำด้วย
.
เมื่อมาเทียบกับ Facebook ก็เช่นกันครับ มองแบบเดียวกันเลย เพียงแต่ ตัดขั้นตอนการพิมพ์ค้นหา Keyword ไปเท่านั้นเอง เพราะ Facebook เป็น Push Marketing เป็นการแสดงผลแบบ Interup ผู้ใช้นั่นเอง ซึ่งก็คือจะนำเอาโฆษณาไปเสริฟกับผู้ใช้ หากโฆษณานั้นโดนใจ แล้วทำให้ผู้ใช้สนใจจนเข้าไปดูเนื้อหา จะต้องทำให้ผู้ใช้รู้สึกได้ว่าเนื้อหาที่เข้าไปดูนั้นมันเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับโฆษณาที่พบด้วย Relevance Score จึงจะมีค่าสูง
.
ขอบอกว่า Relevence Score ตัวนี้จะถูกเปลี่ยนจ้า…
.
ซึ่งทาง Facebook ระบุไว้ว่า
.
เรากำลังจะเปลี่ยนเกณฑ์ชี้วัด “คะแนนความเกี่ยวข้อง” เป็นชุดการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของโฆษณาแบบใหม่ที่ชัดเจนขึ้นและนำไปใช้ได้จริงมากขึ้น
.
“การจัดอันดับคุณภาพ”
“การจัดอันดับอัตราการมีส่วนร่วม”
“การจัดอันดับอัตราคอนเวอร์ชั่น”
.
สามารถช่วยให้คุณวิเคราะห์ได้ดีขึ้นว่าโฆษณาที่คุณแสดงเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าถึงหรือไม่ เกณฑ์ชี้วัดเหล่านี้จะให้ผลที่ดีที่สุดเมื่อใช้ร่วมกัน และเรายังมีคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้คุณตีความและดำเนินการตามผลลัพธ์ต่างๆ ได้
.
การวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของโฆษณาจะทยอยเปิดตัว และจะแสดงประสิทธิภาพการทำงานของโฆษณาของคุณในการประมูลโฆษณาที่เริ่มใช้งานในหรือหลังเดือนมีนาคม 2019
.
สรุปเบื้องต้นคือ… เพิ่ม KPI มาใหม่ถึง 3 ตัว
.
โดย Facebook มองว่า การดูแต่ Relevance Score อย่างเดียวอาจจะไม่พอแล้ว เลยได้เพิ่มชุดการวิเคราะห์ มาถึง 3 ตัว เพื่อให้การวิเคราะห์เป็นไปอย่างถูกต้องมากขึ้น เพราะบางครั้งการที่ได้ KPI ออกมาดี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้การสื่อสารได้ผลตามเป้าหมายจริงๆ ของธุรกิจได้
.
3 ตัวที่ว่านั้น มีดังนี้
.
Quality Ranking (การจัดอันดับคุณภาพ): คุณภาพของโฆษณาที่กลุ่มเป้าหมายประเมินเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับโฆษณาที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
Engagement Rate Ranking (การจัดอันดับอัตราการมีส่วนร่วม): อัตราการมีส่วนร่วมที่คาดหวังของโฆษณาเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับโฆษณาที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
Conversion Rate Raiking (การจัดอันดับอัตราคอนเวอร์ชั่น): อัตราคอนเวอร์ชั่นที่คาดหวังของโฆษณาเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับโฆษณาที่มีเป้าหมายการปรับให้เหมาะสมเหมือนกันและมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
.
นอกจากนี้ Facebook ยังอธิบายไว้อย่างละเอียดอีกว่า
.
การวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของโฆษณาช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์โฆษณาที่ประสิทธิภาพต่ำด้วยมิติที่เกี่ยวข้อง 3 มิติ ประกอบด้วย คุณภาพ, การมีส่วนร่วม และคอนเวอร์ชั่น
.
การตรวจสอบการวิเคราะห์ทั้ง 3 มิติร่วมกันจะให้ข้อมูลเชิงลึกได้มากกว่าการตรวจสอบการวิเคราะห์แยกกัน
.
การจัดอันดับอัตราการมีส่วนร่วมเป็นการอธิบายให้คุณทราบว่าอัตราการมีส่วนร่วมที่คาดหวังของโฆษณาของคุณเปรียบเทียบกับโฆษณาทีมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันเป็นอย่างไร
.
อัตราการมีส่วนร่วมที่คาดหวังจะคำนวณความเป็นไปได้ที่ผู้คนจะคลิก แสดงความรู้สึก, ความคิดเห็น, แชร์ หรือขยายโฆษณาการล่อให้มีส่วนร่วม (ตัวอย่างเช่น การขอให้กดถูกใจ, ความคิดเห็น และอื่นๆ) จะไม่พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของโฆษณาของคุณ
.
ค่าที่เป็นไปได้สำหรับการจัดอันดับอัตราการมีส่วนร่วม (โดยเฉลี่ยจะแสดงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 35 ถึง 55) คือ:
เกินค่าเฉลี่ย
ปานกลาง
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ต่ำสุด 35% ของโฆษณา)
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ต่ำสุด 20% ของโฆษณา)
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ต่ำสุด 10% ของโฆษณา)
การจัดอันดับอัตราการมีส่วนร่วมไม่สามารถใช้งานได้สำหรับเป้าหมายการปรับให้เหมาะสม ดังต่อไปนี้ การเพิ่มการจดจำโฆษณา, อิมเพรสชั่น, การเข้าถึง หรือคอนเวอร์ชั่นแบบกำหนดเอง
.
ตัวอย่างเช่น การจัดอันดับอัตราการมีส่วนร่วมที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (ต่ำสุด 20% ของโฆษณา) หมายความว่าโฆษณาของคุณมีอัตราการมีส่วนร่วมที่คาดหวังอยู่ในช่วง 20% ต่ำสุดของโฆษณาที่มีเป้าหมายการปรับให้เหมาะสมเดียวกันสำหรับกลุ่มเป้าหมายเดียวกันโฆษณาอย่างน้อย 80% ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้รับการประเมินว่ามีคุณภาพสูงกว่า
.
สรุปคือ Facebook วาง KPI ให้อย่างละเอียดมากขึ้น แทนที่จะดูแค่ Relevent Score อย่างเดียว แล้วตัดสินใจว่า Ads นี้ดี แต่แนะนำให้ดูถึง 3 ตัวด้วยกันเพื่อเปรียบเทียบภาพใหญ่ให้ดีมากขึ้น
.
และการวัด KPI ไม่ได้วัดแบบเดิมๆ ที่ดูเฉพาะว่าตัวเองได้อัตราต่างๆ ดีแค่ไหน แต่ Facebook ทำการเทียบกับ Ads อื่นๆ ที่ยิงไปยังกลุ่มเป้าหมายเดียวกันกับที่เรายิงด้วย
.
ทำให้เราจะเริ่มรู้เลยว่า Ads ที่เราเคยวัดผลว่าดีหรือไม่ดีนั้น เมื่อเทียบกับชาวบ้านที่เค้ายิงกลุ่มเป้าหมายเดียวกับเรา มันต่างกันอย่างไร
การเลือก KPI ที่ต้องการให้มาแสดงบน Ads Manager (ตัวจัดการโฆษณา)
3. Massaging Replies & Cost per Massaging Reply.
.
แปลเป็นไทยแบบยาวๆ ว่า “การตอบกลับในแอพรับส่งข้อความ” และ “ต้นทุนต่อการตอบกลับในแอพรับส่งข้อความ” ตามลำดับ
.
อันนี้ถูกลบเลยครับ
.
เผื่อใครไม่รู้ว่า KPI นี้มันมีไว้เพื่ออะไร มันคือการวัดตัวเลขของคนที่ตอบกลับมายัง Inbox เมื่อเห็นโฆษณา นั่นเอง
.
แต่ทีนี้ Facebook บอกว่ามันหยาบไป เลยไปเพิ่ม 2 ตัวนี้เข้ามาครับ คือ
.
ตัวแรกก็คือ
New Messaging Connections (คนที่เชื่อมต่อกันใหม่ในแอพรับส่งข้อความ) ถ้าแปลไปไทยอีกทีง่ายๆ ก็คือ คนที่กด Inbox มาหาเรา ซึ่งเป็นคนที่ไม่เคยทักมาคุยกันก่อนเลย คือทักมาเป็นครั้งแรกนั่นเอง
.
ส่วนคำอธิบายยาวๆ จากทาง Facebook ก็นี่เลยครับ
.
จำนวนของการสนทนาผ่านการรับส่งข้อความบน Facebook Messenger ที่เริ่มต้นกับบุคคลที่ไม่เคยส่งข้อความหาธุรกิจของคุณมาก่อน ระบุที่มาจากโฆษณาของคุณ
.
วิธีการคำนวณ
เกณฑ์ชี้วัดนี้รวมจำนวนครั้งที่การสนทนาในแอพรับส่งข้อความแบบสองทางเริ่มขึ้นใหม่ในแอพส่งข้อความ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้คลิกโฆษณาของคุณในแอพรับส่งข้อความ (เช่น Facebook Messenger) หรือเมื่อมีผู้คลิกที่ปุ่มในโฆษณาของคุณบนแพลตฟอร์มอื่นของ Facebook (เช่น ในฟีดข่าวของ Facebook) เพื่อส่งข้อความถึงธุรกิจของคุณ เกณฑ์ชี้วัดนี้จะรวมเฉพาะคอนเวอร์ชั่นใหม่ที่เริ่มต้นภายในช่วงการระบุที่มาและไม่รวมการสนทนากับผู้ที่ส่งข้อความหาธุรกิจของคุณในอดีต
.
มาต่อกันตัวที่ 2 ก็คือ
Massaging Connections Started (การเริ่มสนทนาในแอพรับส่งข้อความ) หมายถึง คนที่เคยทัก Inbox เรามาแล้ว แต่มาทักอีกจากโฆษณาตัวนี้นั่นเอง
.
ซึ่งพอแยกออกมาเป็น 2 KPI ก็จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ผลได้ละเอียดยิ่งขึ้นว่า ผลที่ได้นั้นมาจากใครบ้าง
.
ทีนี้มาลองดูว่า Facebook เค้าอธิบายไว้ยาวๆ ว่าอย่างไร
.
จำนวนครั้งที่ผู้คนเริ่มส่งข้อความถึงธุรกิจของคุณหลังไม่มีการใช้งานอย่างน้อย 7 วันซึ่งมาจากโฆษณาของคุณ
.
เกณฑ์ชี้วัดนี้คืออยู่ระหว่างการพัฒนา
.
วิธีการคำนวณ
เกณฑ์ชี้วัดนี้รวมจำนวนครั้งที่การสนทนาแบบสองทางเริ่มขึ้นในแอพรับส่งข้อความ (เช่น Facebook Messenger) ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้คลิกโฆษณาของคุณในแอพรับส่งข้อความ หรือเมื่อมีผู้คลิกที่ปุ่มในโฆษณาของคุณบนแพลตฟอร์มอื่นของ Facebook (เช่น ในฟีดข่าวบน Facebook) เพื่อส่งข้อความถึงธุรกิจของคุณ โดยจะรวมถึงการสนทนาใหม่กับผู้คนที่ไม่เคยส่งข้อความถึงธุรกิจของคุณมาก่อน ตลอดจนการสนทนาอีกครั้งกับผู้คนที่ยังไม่ได้ส่งข้อความถึงธุรกิจของคุณภายในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
.
เกณฑ์ชี้วัดนี้ไม่นับการสนทนาที่เกิดขึ้นใน WhatsApp ถึงแม้คุณจะแสดงโฆษณาที่คลิกไปยัง WhatsApp ก็ตาม อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ติดต่อธุรกิจของคุณใน Facebook Messenger หลังจากเห็นโฆษณาของคุณที่คลิกไปยัง WhatsApp การดำเนินการดังกล่าวจะนับเป็นการสนทนาในแอพรับส่งข้อความที่เริ่มขึ้นแล้วและถือว่าเป็นผลมาจากโฆษณาของคุณ
.
สรุปก็คือ Facebook ปรับให้เรามองเห็นกลุ่มลูกค้าที่ทักเข้ามาแบบลึกมากขึ้น เพื่อทำให้เราสามารถวิเคราะห์ในมุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อนได้ กับลูกค้าใหม่ที่ทักมาหรือลูกค้าเก่าที่ทักเข้ามา
ผู้คนที่เชื่อต่อข้อความรายใหม่ กับ การตอบกลับผ่านการส่งข้อความ