fbpx

ด้อยค่า Marketing? วิเคราะห์ดราม่าโฆษณา iPad Pro คุ้มหรือไม่บดขยี้ดวงใจแลก Engagement

Home » ด้อยค่า Marketing? วิเคราะห์ดราม่าโฆษณา iPad Pro คุ้มหรือไม่บดขยี้ดวงใจแลก Engagement

ด้อยค่า Marketing? วิเคราะห์ดราม่าโฆษณา iPad Pro คุ้มหรือไม่บดขยี้ดวงใจแลก Engagement

ด้อยค่า Marketing? วิเคราะห์ดราม่าโฆษณา iPad Pro คุ้มหรือไม่บดขยี้ดวงใจแลก Engagement

เรื่องสร้างกระแสไวรัลฮือฮาปกติ Apple ไม่เคยทำให้ผิดหวังอยู่แล้วเวลาปล่อยโฆษณาออกมาขายของ แต่คราวนี้ดูจะเล่นแรงไปพอสมควร จนทำให้ถูกตีความกลายเป็นดราม่าใหญ่โต โดนด่ายับไปทั้งโซเชี่ยลว่าสร้างสรรค์หรือไร้รสนิยม

วิดีโอที่ปล่อยออกมาเพื่อเปิดตัว iPad Pro M4 ภาพรวมต้องการจะสื่อที่คำว่า Crush ซึ่งจริงๆ เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก ทั้งบีบอัด, บีบคั้น, กำจัด, ทำลาย โดยคอนเซปต์นี้มองว่าไม่ได้ผิดอะไรที่จะสื่อสาร หากต้องการจะโยงไปถึงความบางเฉียบของสินค้ารุ่นล่าสุดนี้

 

แต่ภาพที่ออกมาดันกลายเป็นว่า เครื่องบีบไฮดรอลิกไล่บดขยี้เครื่องมือศิลปะยุคเก่าให้แหลกเละตุ๊มเป๊ะ ทั้ง กล้องถ่ายรูป รูปปั้นแกะสลัก กีตาร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง ตู้เกมส์ เปียโน กระป๋องสี ถึงจุดนี้บรรยากาศโฆษณาชักออกไปทางหดหู่ เพราะขนาดแองกรี้เบิร์ดยังไม่รอดชีวิต…

อ่านต่อ

ถามว่าทำไม สิ่งของที่ว่ามาล้วนแต่เป็นอุปกรณ์ทำกินของคนทำงานสร้างสรรค์ พอภาพออกมาเป็นแบบนี้ คงกระทบใจคนอาชีพนี้อยู่บ้าง กับการแฝงอีโก้ของแบรนด์ Apple ที่เล่นกับความรู้สึกคน พาตีความให้คิดในทำนองว่า iPad Pro รุ่นนี้เจ๋งกว่าไอเดียศิลปะคนรุ่นเก่าเยอะ

 

ที่จริงการนำเสนอความ Crush ทำได้หลายวิธีที่จะออกมาให้สร้างสรรค์ ยกตัวอย่างวลีที่เราชอบพูดกันว่า บึ้ม กลายเป็นโกโก้ครั๊นช์ โฆษณาเมื่อปี 2543 กับภาพการ์ตูนพายุช็อกโกแลตไหลลงทุ่งข้าวสาลี เห็นแล้วชวนกลืนน้ำลาย จินตนาการว่าขนมมันจะอร่อยแค่ไหน ยังดูเนียนตากว่า

 

พูดง่ายๆ คือภาพที่จะสื่อสารการบึ้ม บดขยี้ หลอมรวม อะไรสักอย่างออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ น่าจะอยู่ในกรอบที่ไม่ทำร้ายความรู้สึกของใครๆ เพราะนวัตกรรมเกิดจากการสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ แต่โฆษณาตัวนี้กลับไม่สร้างสรรค์ให้สวยงามเท่าไรในการนำเสนอ

 

บางที Apple อาจจะตั้งใจสื่อสารแบบนี้เพื่อเรียกแขกให้เป็นไวรัลก็เป็นได้ เพราะอีกมุมก็ท้าทายให้ลูกค้าซื้อมาใช้ ว่าเทคโนโลยีมันสุดยอดสักขนาดไหนเชียว ถึงได้กล้าเคลมว่าสินค้าตัวเองเหนือกว่านวัตกรรมเก่าๆ หรือทำได้เทียบเท่า จากการบดรวมอัดเม็ดมาเป็น iPad Pro รุ่นบางเฉียบ

นินจาการตลาด

แต่ในมุมของอาชีพศิลปินก็อาจรู้สึกว่าโดนด้อยค่าทางจิตใจ จากฉากบดขยี้ข้าวของไปเรียบร้อยแล้ว และคนกลุ่มนี้ก็อาจจะคิดแอนตี้ต่อได้อีกว่า เทคโนโลยีแบบ AI มันจะไปมีจิตวิญญานเท่าอุปกรณ์ศิลปะจริงๆ ของพวกเขาได้ยังไง ยังไงก็แค่ของเทียมทำเหมือน

ล่าสุดทาง Tor Myhren รองประธานฝ่านการตลาดของ Apple ก็ออกมาขอโทษว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็น DNA ของเรา และเป็นหัวใจของเราในการออกแบบสินค้าที่สร้างสรรค์พลังสู่นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ทั่วโลก”

“เป้าหมายของเราคือการร่วมเฉลิมฉลองให้กับหนทางอันมากมายที่ผู้ใช้จะนำสินค้าของเราออกไปแสดงตัวตน และนำความคิดของทุกคนไปสู่ชีวิตจริงผ่าน iPad วิดีโอนี้เป็นสิ่งที่เราได้ทำพลาดไปจริงๆ และเราขออภัย”

ในแง่ของการทำ Crisis Management ในเมื่อกระแสลบมาแรงแบบนี้จะทำเงียบคงไม่ไหว ยอมรับแล้วขอโทษไปแบบเร็วๆ ก็ถือว่าแก้เกมการสื่อสารได้แค่เสมอตัว เพราะยุคนี้คำพูดคุณจะถูกตีความไปขยายดราม่าต่อ จากถ้อยคำที่แถลงขอโทษออกมาอยู่ดี

แต่นั่นแปลว่าฝ่ายการตลาดยอมรับแล้ว ว่าความผิดพลาดอยู่ที่การสื่อสารจริง แต่ไม่ลบคลิปนะ 55 นึกภาพตามเหมือนคุณจะนำเสนอขายมือถือตัวใหม่ แต่ไปโชว์ทุบเครื่องเก่าที่พกมาด้วยให้เขาดู แล้วบอกว่าซื้อของใหม่สิโคตรเจ๋ง ถามจริงลูกค้าจะว้าวอยากได้ หรือจะอึ้งรับประทาน

.

แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม โฆษณาตัวนี้ทำงานสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ที่กลายเป็นประเด็นล่อให้คนมาคลิกดู โดยเฉพาะต้นทางที่เกิดการแชร์ในหมู่ศิลปิน หรือคนทำงานสร้างสรรค์ และคนที่อินไปกับกระแส แม้ยอดวิวจะไปได้แค่ 2.4 ล้านวิวใน 3 วันซึ่งไม่ได้มากมายเมื่อเทียบกับพลังด่าในโซเชี่ยล

.

ดังนั้นบทสรุปของไวรัลโฆษณากระแสดราม่าตัวนี้ กับการเสี่ยงแลกมาด้วย Engagement แบบลบๆ จะคุ้มค่าสร้างยอดขายได้สุดยอดเหมือนเดิม เหมือนที่สาวก Apple ชอบกล่าวอ้างหรือไม่ เราคงต้องรอดูกันต่อไปสำหรับผลลัพธ์ที่จะตามมา

.

ใครที่อ่านจบแล้ว ได้ดูโฆษณาตัวนี้แล้วรู้สึกยังไงบ้างครับ พิมพ์ 1 โดนใจมากชอบซื้อแน่ พิมพ์ 2 รู้สึกแย่แบบนี้ไม่อุดหนุน พิมพ์ 3 เฉยๆ ไงก็ได้ พิมพ์ 4 ไม่รู้ ยืมเพื่อนใช้ เพื่อนๆ คิดเห็นยังไงลองคอมเมนต์บอกกันได้ครับ

.

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

Ninja Kantalad

Ninja Kantalad

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก