ส่วนผสมการตลาด 4P สูตรผสมที่สร้างความแตกต่าง Ep.2 ว่าด้วยเรื่องของ PRICE.

ส่วนผสมทางการตลาด ตอนที่ 2 Price ราคา.
.
กลยุทธ์ราคาเป็นกลยุทธ์ที่ยากที่สุด ใน 4 P เพราะไม่รู้ว่าเท่าไรจึงพอดี ราคาสูงก็ขายยาก ราคาต่ำก็เสียกำไร
.
ว่าด้วยหลักการในการตั้งราคา มี 3 แบบหลักๆ.

1. Cost Plus.
.
คือการตั้งราคาจากต้นทุนการดำเนินการจริง และบวกกำไรที่ต้องการ ซึ่งการตั้งราคาแบบนี้ค่อนข้างล้าสมัย และมักประเมินต้นทุนการตลาดไว้ต่ำจนไม่สามารถทำกิจกึการตลาดในระยะยาวได้

2. Value base.
.
คือตั้งราคาตามคุณค่าในใจลูกค้า หรือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับ เหมาะกับสินค้าที่สามารถประเมินผลตอบแทนการลงทุนได้ ซึ่งลูกค้าจะสนใจความเร็วในการคืนทุนไม่ใช่ต้นทุนการผลิต เช่น การลงทุนโซลาร์เซลล์
ซึ่งสามารถใช้แนวคิดเดียวกันในการเพิ่มคุณค่าจาก “ความสูญเสีย” จาก pain point ของลูกค้า เช่น ค่าเรียกแท็กซี่ บริการส่งอาหาร

3. Competition base.
.
คือการตั้งราคาตามคู่แข่ง โดยอาจเลือกตั้งราคาสูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าคู่แข่ง
.
3.1 การตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อเข้าตลาด เหมาะกับสินค้าเคลื่อนไหวเร็ว ซื้อซ้ำบ่อย ไม่เน้นความแตกต่างของสินค้า มีต้นทุนการลองใช้ต่ำ เช่นกลุ่ม FMCG สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก
.
3.2 การตั้งราคาให้สูงกวาคู่แข่ง เพื่อผลทางตำแหน่งสินค้าที่สูงกว่า เหมาะกับการใช้เพื่อสร้างความ premium ของแบรนด์
.
3.3 การตั้งราคาเท่ากัน เพื่อแข่งขันระยะยาว เน้นการแข่งขันในมิติอื่นนอกจากราคา

4. Demand- Supply Base
.
คือการปรับราคาตามกลไกตลาด เช่น พืชผลเกษตร ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ซึ่งกลไกนี้เป็นที่นิยมมากในงานบริการ เนื่องจาก ไม่สามารถสร้าง สต๊อกสินค้าไว้ล่วงหน้าได้ การทำกำไรจึงเกิดขึ้นในช่วง hi-season เท่านั้น
.
การตั้งราคาดังกล่าวเป็นการตั้งราคาที่เรียกว่า Price list หรือราคาป้าย

กลยุทธ์ราคายังมีเทคนิคย่อยๆ อีก.
.
เช่น
.
– การตั้งราคาต่ำช่วงแรกเพื่อเข้าตลาด แล้วค่อยปรับราคาขึ้นหลังได้ส่วนแบ่งตลาด
.
– การตั้งราคาสูงช่วงแรกเพื่อทำกำไร เหมาะกับสินค้าที่มีช่วงอายุสินค้าสั้น เช่นโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งราคาจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อล้าสมัย
.
– การตั้งราคาลงท้ายด้วย 9 เพื่อให้รู้สึกว่าราคาถูก
.
– การตั้งราคาลงท้ายเลข 0 เพื่อให้คำนวณง่าย และดูคุณภาพดีกว่าแบบ 99
.
– การตั้งราคาแบบตัวหลอก โดยตั้งราคาไว้ 3 ราคาเพื่อให้ลูกค้ายอมจ่ายแพงขึ้น
.
– การตั้งราคา bundle คือรวมหลายสินค้าขายพร้อมกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าการซื้อ
นอกจากราคาแล้ว มิติของ Price ยังรวมถึง การให้เครดิตยาวกว่า การผ่อนชำระ การให้ส่วนลดกับคนบางกลุ่ม ยังไม่รวมเทคนิคนอกกรอบอย่างเช่น การไม่ตั้งราคา ให้ลูกค้าเลือกจ่ายเอง การจ่ายให้คนถัดไป

สิ่งที่ต้องตระหนัก ในการตั้งราคา.
.
คือ ราคา (price list) และการรับรู้คุณค่า จะไปด้วยกันเสมอ การตั้งราคาต่ำจะทำให้ความคาดหวังต่ำ และยากจะรับรู้คุณค่าแม้ว่าจะเป็นของดีก็ตาม และเกิดความระแวงจากการใช้ของถูก
.
ดังนั้นการตั้งราคาจึงเป็นการสร้างการรับรู้คุณค่าที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งเลยทีเดียว
.
นอกจากนี้ การตั้งราคายังมีผลต่อขนาดตลาดซึ่งการประเมินขนาดตลาดที่แม่นยำจะช่วยให้การวางแผนการผลิตสามารถทำแบบ mass production ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต และลดราคาขายได้
.
ซึ่งหากพิจารณาด้านความสามารถด้านการผลิตหากสามารถทำต้นทุนได้ต่ำกว่าคู่แข่งมากกว่าร้อยละ 30 จะสามารถใช้กลยุทธ์ราคาต่ำเพื่อพิชิตตลาดได้ แต่หากไม่มีความแตกต่างด้านต้นทุน การใช้กลยุทธ์ราคาต่ำเป็นการเร่งการแข่งขันสู่สงครามราคา ซึ่งเป็นการทำลายมูลค่าตลาดอย่างรวดเร็ว

อ่านตอนอื่นๆ ของ “ส่วนผสมการตลาดสูตรผสมที่สร้างความสำเร็จ”.
