ส่วนผสมการตลาด 4P สูตรผสมที่สร้างความแตกต่าง Ep.1 ว่าด้วยเรื่องของ PRODUCT.
ถึงแม้ 4P จะเป็น คำเรียกหลักของส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้มาอย่างยาวนานมากแล้ว บางคนอาจคิดว่ามันน่าจะล้าสมัยไปแล้ว เดี๋ยวนี้มันต้อง 4C หรือ 4S กันแล้ว
.
อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปนะครับ เอาจริงๆ แล้วมันยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องที่เราไม่สามารถมองข้าม 4P ไปได้ อย่างน้อยๆ ก็ถือเป็นพื้นฐานส่วนผสมการตลาดก่อนที่เราจะรู้จัก 4C หรือ 4S
.
วันนี้ผมเลยอยากจะเอาเรื่องของ 4P มาเล่าให้ฟังในมุมที่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึง
.
การแข่งขันเชิงธุรกิจในระยะยาวจะแข่งขันกันสร้างความสามารถการแข่งขัน ปรับ business model เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ในระยะสั้นแล้ว ไม่มีอะไรดีไปกว่าการปรับส่วนผสมทางการตลาดของสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยการปรับปรุง P ทั้ง 4 อย่างให้เหมาะกับลูกค้าเป้าหมาย เนื่องจากไม่มีใครที่สามารถทำ 4 P ให้ชนะทุกกลุ่มเป้าหมายได้
.
โดยวันนี้จะพูดถึงมุมของ P แรกกันก่อนเลย คือ P ที่ว่าด้วย Product
.
Product หรือตัวสินค้า หมายถึง คุณสมบัติของตัวสินค้า รวมถึงบรรจุภัณฑ์ และการบริการ ซึ่งหากไม่ใช่สินค้ายี่ห้อเดียวกัน ก็จะมีความแตกต่างด้านคุณสมบัติ และหากไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายเดียวกัน ก็จะมีความต่างด้านการบริการ ซึ่งการพัฒนาเรื่องเล่า หรือ Story เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่างของสินค้าที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกัน เครื่องมือในการวิเคราะห์ด้านสินค้ามีมากมาย เช่น Positioning map, Strategic Canvas
.
ดังนั้น การประเมินด้านผลิตภัณฑ์ สามารถประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้
1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
2. ข้อเสนอการบริการ
3. เรื่องราวของแบรนด์
ที่มา: www.marketingteacher.com
ตัวอย่าง กลยุทธ์สินค้า
.
เช่น การปรับบรรจุภัณฑ์ของขนมเป็น singles serve ที่ทานครั้งเดียวหมด หรือ การขายกล้วยหอมลูกละ 10 บาท ในร้านสะดวกซื้อ เป็นการปรับเพื่อรับกับพฤติกรรมครัวครัวเดี่ยว โดยสินค้าเหมือนเดิมและลูกค้ายอมจ่าย
.
กลยุทธ์ด้านการบริการที่โดดเด่นของ TP link ที่รับประกันตลอดอายุการใช้งาน ทำให้ลูกค้ากล้าตัดสินใจซื้อแม้ว่าจะยังไม่มั่นใจในคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของปั๊มน้ำมัน Jet ที่สร้างมาตรฐานใหม่ของห้องน้ำในปั๊ม
.
กลยุทธ์ด้านการสร้างเรื่องราว โดย การเล่าเรื่องราว แรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ ความใส่ใจในการคัดสรรวัตถุดิบและกระบวนการทำงาน ซึ่งการเล่าเรื่องนี้เองที่สร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ของผู้บริโภคและแบรนด์ได้ดีที่สุด ตัวอย่างที่ดังที่สุดน่าจะเป็น รองเท้า TOMs ที่ซื้อ 1 คู่ บริจาคให้เด็กด้อยโอกาส 1 คู่
ที่มา: Kim & Mauborgne.