fbpx

“นกแก้ว” สบู่ของคนไทย ที่ไม่ได้มาจากคนไทย?

Home » “นกแก้ว” สบู่ของคนไทย ที่ไม่ได้มาจากคนไทย?

“นกแก้ว” สบู่ของคนไทย ที่ไม่ได้มาจากคนไทย?

สบู่นกแก้ว ขวัญใจวัยเก๋า สรุปคนไทยไม่ได้ทำหรอ? แล้วใครเป็นคนทำเอ่ย? ใช้กันตั้งแต่เด็ก แต่ไม่รู้มาก่อนว่าผลิตโดยฝรั่ง ใช่ครับ ฝรั่ง ชาวต่างชาติ

อ้าวแล้วยังไงต่อ

.

ย้อนกลับไปเมื่อ 70 กว่าปีก่อน แบรนด์“สบู่พฤกษานกแก้ว” หรือที่คนไทยติดปากว่าสบู่นกแก้ว 

ได้ถือกำเนิดขึ้น แต่ในช่วงนั้นเราจำกันได้ไหมครับ ว่า คนไทยบางคนยังไม่รู้จักสบู่อาบน้ำหอม ๆ กันเลย รู้จักแต่สบู่กรด ที่ใช้อาบน้ำซักผ้าในก้อนเดียว

.

แล้วสบู่นกแก้วมันมาได้อย่างไร? ใครนะที่เป็นคนนำมันมาให้คนไทยได้รู้จัก?

 

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

ใครอยากชมเป็นคลิปก็กดชมได้เลยครับ ส่วนใครอยากอ่านเป็นแบบบทความ เลื่อนลงไปอ่านด้านล่างได้เลยเช่นกันครับ

นินจาการตลาด

มันเริ่มขึ้นเมื่อปี 2490 โดยคุณวอลเตอร์ เลโอ ไมเยอร์ ผู้จัดการบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ แอนด์โก ที่โด่งดังในเรื่องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในไทย

.

เขาเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในเมืองไทยในตอนนั้น ว่าไทยยังไม่มีแบรนด์สบู่หอมไว้ใช้กันเลย แถมสบู่ที่นำเข้ามา แม้จะมีคุณสมบัติครบจบในก้อนเดียว ใช้ได้ตั้งแต่อาบน้ำ สระผม ซักผ้า ล้างจาน

แต่ก็ไม่ได้ดีต่อผิว แถมฟอกแล้วไม่มีกลิ่นหอมติดตัว

นินจาการตลาด

เขาเลยตัดสินใจเปิดบริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2490 เรียกว่าเป็นโรงงานเล็ก ๆ ก็ว่าได้ เพราะในช่วงแรกยังไม่มีการนำเข้าเครื่องจักรใด ๆ  และ อาศัยคนงานไม่ถึง 20 คนด้วยซ้ำ ผลิตสบู่แต่ละก้อนด้วยการทำมือ 

.

โดยใช้หัวน้ำหอมนำเข้าจากฝรั่งเศสผสมกับส่วนผสมจากธรรมชาติ ทำให้สบู่มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วซอยสุขุมวิท 42 ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งแรกของโรงงาน จนตอนหลังหลายคนมาเรียกติดปากว่า ซอยรูเบีย

.

ความหอมตลบอบอวลที่ปิดไว้ไม่อยู่นี้ กลายเป็นผลพลอยได้กับแบรนด์สบู่เล็ก ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ 

เพราะยังไม่ทันเสียเงินโฆษณาสักบาท คนก็แห่มาดู อยากซื้อ อยากลอง เพราะกลิ่นมันหอมฟุ้งซะเหลือเกิน.

.

เมื่อบวกกับกรรมวิธีการผลิตขั้นลับสุดยอด ที่ทำให้เนื้อสบู่แข็งแน่น ใช้ไปแล้วไม่แตกหักง่าย และราคาก็น่ารัก และเอื้อมถึง ทำให้สบู่นกแก้วแจ้งเกิดและเข้าไปนั่งในใจคนไทยได้อย่างรวดเร็ว

นินจาการตลาด

แล้วทำไมต้องชื่อว่า สบู่นกแก้ว ? 

.

นั่นก็เป็นเพราะว่า งานอดิเรกของคุณไมเยอร์ คือ การเดินป่า เขาประทับใจความสวยงามของนกแก้วไทย 

จนเป็นที่มาของการออกแบบกลิ่นของสบู่ให้หอมแบบกลิ่นของพฤกษาและดอกไม้ป่านานาพันธุ์นั่นเอง

.

เปิดมาได้สวย แต่…ก็ต้องมีเซกันบ้าง เมื่อตลาดสบู่หอม เริ่มเป็นที่น่าสนใจ จึงมีทั้งแบรนด์ไทยแบรนด์นอก อย่าง สบู่ลักส์ และสบู่ปาล์มโอลีฟของคอลเกต เข้ามาชิงส่วนแบ่งทางการตลาด

.

บวกกับที่ยุคนั้น ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2530 กระแสนิยมของแบรนด์ของนอกกำลังมาแรง เลยทำให้สบู่แบรนด์ไทยเริ่มไม่ค่อยเป็นที่นิยม

.

จนกระทั่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 กระแสกินของไทย ใช้ของไทยกลับมาแรงอีกครั้ง 

ทำให้สบู่นกแก้วพลิกเกมกลับมาครองตลาดและใจคนไทยได้อีกครั้ง เกือบไปแล้ว…

.

แค่การออกโฆษณาที่โหนกระแสเรื่องใช้ของไทยมันยังไม่พอ ทางสบู่นกแก้วยังแตกแบรนด์ใหม่อย่าง Parrot Gold  ที่ปรับลุคให้สบู่ดูพรีเมียมขึ้น เพื่อเจาะกลุ่มผู้หญิงที่ใส่ใจกับเรื่องความสวยความงามมากขึ้น 

.

และนอกจากจะเติมมอยส์เจอไรเซอร์ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติถนอมผิว ยังเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์มาอยู่ในกล่องกระดาษ และอัปเกรดมาสู่ “ครีมอาบน้ำ” ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมแล้วในยุคนั้น

.

เท่านั้นยังไม่พอนะครับ เพราะเขาเริ่มรู้แนวแล้วว่า หากต้องการยืนหยัดท่ามกลางสมรภูมิสบู่ที่ไม่ต่างกับ Red Ocean แบรนด์จะหยุดนิ่งและไม่พัฒนาไม่ได้เด็ดขาด

นินจาการตลาด

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2554 ทางแบรนด์ยังได้เปิดตัวสบู่ก้อนและครีมอาบน้ำในกลุ่มสุขภาพ ภายใต้ชื่อ Parrot Natural Guard ตามด้วย Parrot Herbal เพื่อรองรับตลาดสบู่สมุนไพรที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

.

แต่ในส่วนของสบู่นกแก้วห่อสีเขียว ๆ ก็ยังคงยืนหยัดด้วยจุดแข็งดังเดิม ในเรื่องความหอม รวมทั้งแพ็กเกจจิงที่เป็นกระดาษห่อ ที่ทำให้สบู่ส่งกลิ่นหอมออกมาง่ายกว่าอยู่ในกล่อง

เวลาก็ผันเปลี่ยน เทรนด์ใหม่ ๆ ก็เริ่มเข้ามา ทำให้สบู่นกแก้วก็ต้องปรับตัวตาม เพื่อที่จะตอบโจทย์ให้ผู้บริโภคได้ดีและหลากหลายมากยิ่งขึ้น

.

อย่างในโอกาสครบรอบ 70 ปี สบู่นกแก้วก็ได้แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ออกมาเพิ่ม จนมีถึง 8 กลิ่นด้วยกัน!!

กลิ่นพฤกษานานาพรรณ (กลิ่นออริจินัล), กลิ่นมะลิ, กลิ่นกุหลาบ, กลิ่นบุปผชาติ, กลิ่นไม้หอม, กลิ่นลีลาวดี, กลิ่นกล้วยไม้ป่า และคลาสสิค คูล โดยแต่ละกลิ่นจะใช้สีกระดาษห่อที่แตกต่างกัน

 

นินจาการตลาด

ลองเดาดูสิครับ ว่า สบู่นกแก้ว สบู่ก้อนหลักสิบจะมียอดขายปีละเท่าไหร่กัน? 

.

ปีละเป็นพันล้านนะครับทุกคน ทำไมถึงมียอดขายมหาศาลขนาดนั้นว่าไหมครับ!!! แต่ต้องบอกตรงนี้ก่อนนะครับว่า บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทย่อยในเครือของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)  

.

บริษัท รูเบียเป็น OEM ที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทเจ้าของแบรนด์ อย่างสบู่เดทตอล ลูกอมซูกัส และอีกมากมาย

.

แต่ไม่ว่าจะมีสินค้ามากมายขนาดไหน แต่ “สบู่นกแก้ว” ก็ถือว่าเป็น “พระเอก” ในหมวดสินค้าอุปโภคของ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ หรือ BJC ตลอดกาล ซึ่งนั่นมันก็เห็นแล้วว่า สบู่นกแก้วมาถูกทาง มีกลยุทธ์การทำตลาดที่ดี และปรับตัวอยู่เสมอ จนทำให้มียอดขายถล่มทลาย

.

และเชื่อว่าต่อให้ในอนาคต เทรนด์โลกจะเปลี่ยนไปยังไง แต่ถ้านกแก้วยังคงมาตราฐานและเอกลักษณ์แบบนี้ไว้ และพร้อมปรับตัวให้เข้าหาผู้บริโภคอยู่เสมอ เชื่อสิว่า คนไทยก็ยังจะจดกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ของ สบู่นกแก้วไปตลอด ไม่หนีไปไหนแน่นอน

.

ไหนมีใครในที่นี้เป็นแฟนตัวยงของสบู่นกแก้วบ้างไหมครับ? ถ้ามีลองคอมเมนต์บอกผมหน่อย แล้วชอบกลิ่นไหนเป็นพิเศษ?

.

ส่วนผม ชอบห่อสีเขียว ๆ ที่สุดแล้ว ใช้ทีหอมติดทนทั้งวัน

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด
และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

นินจาการตลาด
audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก