ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยนไปตลอดเวลา ผู้บริโภคและตลาดก็ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเช่นกัน และในขณะที่พวกเรากำลัง ปรับตัวรับมือกับเจ้าไวรัสโควิด-19 ไวรัสเองยังไม่หยุดพัฒนาแถมกลายพันธุ์เพื่อต่อสู้กับโลกใบนี้ แข่งกับเราไปอี๊กกกก เพราะฉะนั้นเราจะนิ่งเฉยกันได้อย่างไรครับ
มีหลายบริษัทเริ่มหันมาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น เพราะจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเพิ่มมากขึ้น ในทุกกลุ่มเจนเนอร์เรชันเลยก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุที่มักส่งสวัสดีวันจันทร์ให้เรายามเช้า หรือเด็ก ๆ นักเรียนนักศึกษาซึ่งโตมากับยุค Digital แบบเต็มรูปแบบ ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าระบบไหลเวียนเลือดใช้ระบบไหลแบบไร้สายกันหรือเปล่า ?
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผู้ใช้บริการในสังคม Cashless Society ที่ E – Commerce มาแรง แซงทางโค้ง แซงทุกช่องทางการจัดจำหน่าย
ทำไม Payment Gateway ถึงเป็น ประตูสู่รายได้แห่งอนาคต
Payment Gateway เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คุณในการทำธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะมีหน้าร้านหรือไม่มีหน้าร้าน คุณก็ใช้ Payment Gateway ได้ ตราบใดที่คุณมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง โดย Payment Gateway มีอยู่ 2 ประเภทคือ Payment Gateway (Bank) ของธนาคาร และ Payment Gateway ของบริษัทเอกชน (Non-Bank)
- ให้ความรวดเร็วในการชำระเงินแก่ลูกค้าในการซื้อของบนโลกออนไลน์ โดย เว็บไซต์บางประเภทสามารถดำเนินการเพียงกรอกข้อมูลบัตร เพียงครั้งเดียว
- สามารถชำระเงิน ผ่านบัตรเครดิต เดบิต หรือธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ได้ ไม่ต้องรูดหรือเสียบบัตรที่เครื่อง
- วางใจ ไร้กังวล รับประกันว่าลูกค้าชำระเงินก่อนส่งสินค้าแน่นอน และทำให้ประหยัดต้นทุนในการเก็บเงินลงไปได้เยอะ ประหยัดเวลาในการตรวจสอบ ทำให้เหลือเงินและเวลาในการพัฒนาธุรกิจอีกด้วย
- Payment Gateway เหมาะกับทุกธุรกิจ
Payment Gateway กับ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่พิชิตยอดขายให้ได้ตามเป้า
ผมจะพาแฟน ๆ มาเข้าใจถึงระบบการทำงานของเทคโนโลยีสุดปังตัวนี้ ที่ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งในการเปิดประตูรายได้แห่งโลก Covid-19
ขั้นตอนที่ 1: หลังจากที่ลูกค้าเลือกสินค้าเรียบร้อยแล้ว ลูกค้ากดปุ่มชำระเงินผ่านธุรกรรมออนไลน์หรือการกรอกเลขบัตรเครดิตและรับรหัส OTP ผ่านมือถือ หลังจากนั้นข้อมูลทั้งหมดก็จะกลายเป็น Card – Not – Present (CNP) หรือเรียกว่าการทำธุรกรรม แบบไม่แสดงบัตรจากนั้นข้อมูลจะแปลงเป็นรหัส
ขั้นตอนที่ 2: ข้อมูลที่ถูกแปลงให้เป็นรหัสแล้ว จะเข้าไปสู่ ระบบประมวลผลของผู้ขาย หรือ บริษัทที่จำหน่ายสินค้านั้นๆ
ขั้นตอนที่ 3: ระบบประมวลผลจะนำข้อมูลการชำระเงินไปสู่ สังกัดบัตรเครดิต เช่น VISA MASTERCARD เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4: ข้อมูลธุรกรรมทำการประมวลผล อนุมัติ หรือ ปฏิเสธ และ ผู้ที่ดูแลด้านนี้ ต้องไม่ทำให้ระบบค้าง
ขั้นตอนที่ 5: ข้อมูลธุรกรรม อนุมัติแล้ว ธนาคารจะส่งต่อให้กับ เครือข่ายประมวลผลการชำระเงิน และจะนำพาผู้บริโภคสู่หน้าหลักของเว็บไซต์ (ข้อมูลอนุมัติแล้ว ธนาคารประมวลผลการชำระเงิน ผู้บริโภคนำไปสู่หน้าหลัก)
Payment Gateway กับการประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจให้สุดปัง
คุณสามารถนำ Payment Gateway มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจของคุณและเพิ่มเติมให้สุดปังได้และ ในกรณีที่คุณเป็นธุรกิจที่มีหน้าร้าน และต้องการที่จะเปลี่ยนเป็นออนไลน์ สามารถนำมาปรับใช้ได้โดยการสร้างเพจเฟสบุ๊กเป็นของตัวเองไปเบื้องต้นก่อน ส่วนคนที่มีธุรกิจเป็นออนไลน์อยู่แล้วสามารถนำความรู้นี้ไปเป็นเกร็ดความรู้และเข้าใจระบบการใช้งานของเทคโนโลยีสุดปังนี้ได้ ตัวอย่าง Payment Gateway เช่น Paypal, Omise, 2C2P, Rabbit Line Pay และอีกหลายช่องทาง
แนะนำ Payment Gateway เพื่อนำพาไปสู่ประตูรายได้แห่งโลกอนาคต
จากเบื้องต้นที่ผมกล่าวนำไปว่า Payment Gateway มีอยู่ 2 ประเภท นั้นก็คือ ของธนาคารกับของบริษัทเอกชน ซึ่งมันก็อยู่ที่ความชอบส่วนบุคคลและความเหมาะสมของธุรกิจของคุณ อันดับแรก ผมจะแนะนำ Payment Gateway ของ ธนาคารนะครับ ของธนาคารมีอยู่แทบทุกธนาคารเลยครับ
Payment Gateway ของธนาคาร (Bank)
Payment Gateway ของบริษัทเอกชน (Non-Bank)
การติดตั้ง Payment Gateway ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ หลังจากที่ท่านอ่านจบแล้วผมหวังว่าจะเข้าใจเป็นอย่างดี แต่ก็ยังคงมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยเป็นกุญแจข้ามผ่านประตูสู่รายได้ในยุค Covid-19 นินจาการตลาดจะมีวิธีการทำการตลาดแบบไหนเพื่อให้พวกเราเอาตัวรอดได้ อย่าลืมติดตาม ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ