ทุกคนกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมครับว่า คำว่า “Sandbox” คืออะไร เพราะในตอนนี้มันกำลังเป็นประเด็นไปทั่วโลกโซเซียล แล้วมันมาเกี่ยวข้องอะไรกับวงการธุรกิจ ที่ผมจะมาพูดถึงในวันนี้ ?
ถ้าเราเเปลกันตรง ๆ มันก็คือกระบะทราย เเต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดครับ เพราะสามารถนำมาใช้ในการพูดถึงขั้นตอนของการทดสอบเว็บไซต์ เเอปพลิเคชั่น เเละการทำธุรกิจได้อีกด้วย
ทุกคนคงเกิดคำถามอีกแล้วว่า เเล้วมันเกี่ยวอะไรกัน ?
.
ผมจะเล่าให้ฟัง เมื่อในปี 1970 มีการนำว่า Sandbox มาใช้ในวงการไอที ช่วงนั้นถือเป็นช่วงแห่งการบุกเบิกวงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลยก็ว่าได้ ที่โปรแกรมเมอร์จะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ตัดขาดจากระบบกลางเพื่อทดสอบโปรแกรมที่กำลังพัฒนา เพื่อไม่ให้ข้อมูลไปปะปนหรือสร้างความเสียหายให้กับส่วนอื่นๆ
.
เเต่ในปัจจุบันตอนนี้ ฐานข้อมูลส่วนใหญ่ของเรามักจะอยู่ในคลาวด์ ทำให้คำว่า Sandbox เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม เช่น การสร้างเว็บไซต์ใหม่บนอินเตอร์เน็ต ก็จะถูกนำไปรวมไว้ในกูเกิลแซนด์บ็อกซ์ เพื่อทดสอบและคัดกรอง ก่อนให้ผู้พัฒนาปรับปรุงแก้ไข จนสามารถเปิดใช้งานในระยะถัดไปได้
.
จากนั้นคำว่า Sandbox ก็มีการนำมาใช้มากยิ่งขึ้น เเพร่หลายมากขึ้น มีการนำมาใช้ในโครงการ การทดสอบนวัตกรรม และทดสอบการพัฒนาทางธุรกิจ มันก็เหมือนกับสนามเด็กเล่น ที่ให้เด็ก ๆ ได้ลองผิดลองถูก โดยที่ต้องอยู่ในขอบเขต ไม่เดือดร้อนใคร
ประเทศไหนที่ยกมาใช้เป็นประเทศแรก และ ใครเป็นคนดูแลระบบนี้ ?
เเต่ในโลกของธุรกิจได้นำคำว่า Sandbox มาใช้กันในรูปแบบของกลไกที่เรียกว่า Regulatory Sandbox ก็คือการสร้างพื้น ที่หนึ่งมา เพื่อผ่อนปรนกฎระเบียบเเละข้อกฎหมายต่าง ๆ โดยมีหน่วยงานรัฐเป็นผู้กำกับดูเเล
.
ซึ่งประเทศเเรกที่หยิบหยกมาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ ที่ในปี 2016 ที่ผ่านมา หน่วยงานควบคุมดูแลด้านการเงินของประเทศได้ประกาศนโยบายการเป็นศูนย์กลางของ FinTech โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจการให้บริการทางการเงิน ที่รัฐยังกำกับดูแลในการสร้างกลไกทางกฎหมายแบบใหม่ๆ ให้มีความยืดหยุ่น และทันต่อความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
.
ซึ่งในไทยก็มี ธนาคารเเห่งประเทศไทย นี่เเหละครับที่มีนโยบายส่งเสริมพัฒนา นวัตกรรมทางการเงิน อย่าง FinTech ผ่านกลไก Regulatory Sandbox โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้ผู้บริหารทางการเงินนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การบริการที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการของลูกคาได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
สรุปง่าย ๆ ว่า “Regulatory Sandbox” มันก็คือสนามทดสอบความคิดทางธุรกิจ หรือ ทดสอบนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะมีนักพัฒนา หรือผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาทดลองไอเดียของตัวเอง โดยอยู่ภายใต้รัฐ
.
ทางภาครัฐจะเป็นผู้กำกับดูเเล ให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี
มีแค่หน่วยงานรัฐเหรอ ที่ใช้ระบบนี้กัน ?
ต่อมาก็มีประเทศอื่น ๆ ที่นำโครงการนี้ไปใช้กัน ไม่ว่าจะเป็น ออสเตรเลีย, แคนาดา, เดนมาร์ก, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง, สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทยด้วย
.
เเต่ก็ไม่ใช่เเต่เพียงภาครัฐอย่างเดียวนะครับ ที่ใช้ “Regulatory Sandbox” ภาคเอกชนเองก็ใช้ โดยเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ โดยอาจสนับสนุนพื้นที่ทำงาน, แหล่งความรู้, ทรัพยากร, สภาพแวดล้อม, โอกาสพบปะนักลงทุน รวมถึงความช่วยเหลืออื่นๆ ที่จำเป็นต่อสตาร์ทอัพ หรือเป็นรูปแบบที่หลายคนคุ้นเคยจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง StartUp นั่นเอง
.
เเละเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยเองได้เริ่มโครงการ ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) หรือพูดง่าย ๆ เลยว่า เป็นโครงการที่อนุญาติให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ฉัดวัคซีนครบโดสเเล้ว สามารถเดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว เเละสามารถเที่ยวในภูเก็ตได้เลยเต็มที่เเบบไม่ต้องอยู่แต่ในห้องพัก และยิ่งกว่านั้นคือ ถ้าหากมีผลตรวจว่า ไม่พบเชื้อ โควิด-19 ก็สามารถเดินทางไปพื้นที่อื่น ๆ ของไทยได้อีกด้วย
แล้วประเทศไทยมีเป้าหมายอะไร ?
โครงการนี้ตั้งใจไว้ว่า จะเป็นโครงการต้นแบบในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป้าหมายก็คือ อยากที่จะฟื้นฟูการท่องเที่ยวของไทยเเละขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเราก็ต้องมารอดูกันครับว่ามันจะเป็นอย่างไร
.
ส่วนโครงการ ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์นี้ รัฐบาลคาดการณ์ไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 100,000 คน เข้ามา เเละคาดว่าจะต้องสร้างรายได้อยู่ที่ 8,900 ล้านบาท
.
เเละหวังว่ามันจะเป็นโครงการต้นเเบบก่อนที่จะขยับไปจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศ หลังจากนี้เราก็ต้องมารอดูรอติดตามกันว่า มันจะสำเร็จตามที่รัฐบาลตั้งไว้หรือไม่ ? เพื่อน ๆ คิดเห็นอย่างไร ลองคอมเมนต์มาพูดคุยกับผมได้เลยนะครับ