fbpx

ปิดตำนานหรือไปต่อ? SCB เลื่อนปิด Robinhood ไรเดอร์-ร้านค้ารอลุ้นเทคโอเวอร์

ปิดตำนานหรือไปต่อ? SCB เลื่อนปิด Robinhood ไรเดอร์-ร้านค้ารอลุ้นเทคโอเวอร์

อีกหนึ่งข่าวคราวอัพเดตของแอปพลิเคชั่นวงการเดลิเวอรี่อย่าง Robinhood ที่ล่าสุดดูเหมือนว่าทาง SCBX เพิ่งจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งแล้ว เราสงสัยกันไหมว่าเพราะอะไรแอปนี้อยู่ๆ ถึงมีคนอยากจะซื้อหุ้นดำเนินกิจการต่อ

นินจาการตลาด

Robinhood จะปิดหรือไม่ปิดกันแน่?

 

ก่อนหน้านี้ทาง SCBX เคยแจ้งยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ที่บอกว่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป 

.

แต่ตอนนี้ส่อแววว่าเกมจะเปลี่ยนอีกรอบหรือเปล่า เพราะ SCBX ออกมาประกาศเองว่าแจ้งตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว ให้เลื่อนการยุติการให้บริการส่งอาหารของแอป Robinhood หลังกำลังพิจารณาข้อเสนอเข้าซื้อกิจการทั้งหมดจากผู้ที่สนใจ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าที่คาดไว้  ทำให้ประกาศยุติถูกเลื่อนไปก่อนระยะหนึ่ง

อ่านต่อ

แต่บริการส่วนอื่นๆของแอปอย่าง Robinhood Shop, Robinhood Rider, Robinhood Driver ยังไงก็จะยุติการให้บริการตามกำหนดเดิม คือในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงร้อยเปอร์เซนต์

.

โดยทางบริษัท  SCBX เผยย้ำเต็มที่ว่ามีความตั้งใจและพยายามที่จะทำให้แอปพลิเคชัน Robinhood ซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยคนไทยเพื่อคนไทย มีโอกาสที่จะได้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งผู้บริโภค ร้านค้า และผู้ขับขี่ Robinhood ทุกคน

นินจาการตลาด

ทำไม Robinhood ถึงเคยต้องปิดตัว?

.

ที่จริงแล้วปัญหาที่นำไปสู่การที่ต้องยุติแอป Robinhood ก็เพราะว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ขาดทุนยับมาตลอดอย่างต่อเนื่อง แม้ปี 2566 จะมีรายได้รวมถึง 724,446,267 บาท จากการขายสินค้าและบริการ แต่รายจ่ายกลับมหาศาลกลบรายได้มิด สูงถึง 2,880,115,034 บาท เรียกว่ามีค่าใช้จ่ายสูงถึง 4 เท่าของรายรับ

.

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 แอป Robinhood ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะโครงการ CSR ที่ทำเพื่อสังคม เพราะตอนนั้นเป็นช่วงที่โควิดระบาดหนัก ทาง SCB เลยสร้างแอปนี้เป็นทางเลือกในการช่วยร้านอาหารรายย่อยให้ได้ขายในระบบ Food Delivery โดยไม่เก็บค่า GP แม้แต่บาทเดียว

.

ภาพรวมของ Robinhood เลยกลายเป็นแอปบริการส่งอาหารที่ไม่เน้นแข่งกับรายใหญ่ และไม่ได้เน้นที่ร้านอาหาร Chain มากนัก เน้นร้านอาหารรายย่อยรายเล็กๆ ให้ทำธุรกิจต่อไปได้ในช่วงวิกฤต ข้อดีคือร้านอาหารสามารถรับเงินได้ทันทีภายใน 1 ชั่วโมง ส่วนคนขับจะได้ค่าขับในวันถัดไป ไม่ต้องสำรองจ่ายค่าอาหารก่อน

.

ดังนั้นพอดำเนินบริการในลักษณะนี้ก็ไม่ต้องแปลกใจเลยที่รายได้ของ SCB จาก Robinhood จะน้อยมากๆ น้อยจนขาดทุน เพราะความที่บริหารแบบ CSR สำหรับประคองวิกฤติโควิดให้ผ่านพ้นไปจนธุรกิจกลับเข้าสู่สภาวะปกติ 

.

ทีนี้พอข่าวอัพเดตออกมาแบบนี้ ก็ทำให้ชาวไรเดอร์เลยเกิดมีความหวังขึ้นมา ที่อาจจะได้กลับมาขับให้แอปนี้ต่อไปอีกครั้ง เช่นเดียวกันกับร้านค้าเล็กๆ ที่เคยขายของผ่าน Robinhood ได้ขายแบบ Delivery ต่อแบบไร้ค่า GP ที่ไม่เอาเปรียบคนขาย

นินจาการตลาด

แล้วทำไมถึงมีคนอยากซื้อล่ะ?

.

อีกมุมหนึ่งถ้าฟังเสียงของลูกค้า ก็พบว่า Robinhood มีฟีดแบ็กที่ค่อนข้างดีเลย ในแง่ที่ว่าให้บริการจัดส่งรวดเร็วกว่าแอปเจ้าอื่น แถมมีร้านเล็กๆ ให้เลือกเยอะพอสมควร ค่าส่งไม่แพง ค่าอาหารบวกไม่เยอะ บางคนบอกว่า ไรเดอร์แอปนี้บริการดี สุภาพมีมารยาท ยิ่งไปกว่านั้นมีลูกค้าอีกจำนวนมากบอกว่า ยังอยากสนับสนุนแอปของคนไทยมากกว่าต่างชาติ

.

แต่หลายคนคงเคยได้ยินว่าธุรกิจแอป Delivery คือการลงทุนแบบเผาเงินทิ้งไปเรื่อยๆ คือทุกเจ้าขาดทุน หากำไรยาก ดังนั้นทางที่จะอยู่รอดได้ของทุกแอป คือต้องหาทางสร้างรายได้ให้มากที่สุด ในทุกช่องทางของตัวแอปนอกเหนือจากการส่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นบริการสั่งสินค้า บริการจองต่างๆ เช่นโรงแรม รถโดยสาร

นินจาการตลาด

แล้วถ้า Robinhood ได้ไปต่อ?

.

คำถามที่ต้องดูต่อไปคือถ้า Robinhood ได้ไปต่อ มีคนเข้าลงหุ้นซื้อกิจการ การเก็บค่า GP จะเหมือนเดิมหรือเพิ่มขึ้นมา จะบริหารไปทางไหนให้ได้กำไรจนอยู่รอดระยะยาว ค่าบริการจะสูงขึ้นแค่ไหน และเราก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเป็นกลุ่มทุนหน้าใหม่ หรือจะโดนควบรวมกิจการเข้าไป เพราะระบบมีพร้อม มีฐานข้อมูลใหญ่อยู่แล้ว ก็น่าจะเป็นที่หมายปองของเจ้าใหญ่ๆ ของตลาดนี้ที่อยากเทคโอเวอร์

นินจาการตลาด

บทสรุป

.

ท้ายที่สุดแล้วแม้ตลาด Delivery จะเหลือแค่ผู้เล่นรายใหญ่ 2-3 ราย ไม่ว่า Robinhood จะได้รันต่อหรือไม่ หรือเป็นแค่ตำนานปล้นคนรวยช่วยคนจนแบบเฉพาะกิจ ก็ยังเชื่ออยู่ครับว่า ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ยังเติบโตได้อีก ยังมีหนทางสร้างกำไรได้เหมือนธุรกิจอื่นๆ เพียงแต่จะบริหารยังไงให้ลงตัวทั้งลูกค้า ร้านค้าและไรเดอร์ 

.

ไม่แน่เหมือนกันครับว่า Robinhood สมมติว่าถ้าได้คัมแบ็กรอบนี้ อาจจะเกิดใหม่พร้อมหาหนทางทำกำไรจากกลุ่มทุนใหม่ก็ได้เช่นกัน ยังไงขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยครับ

ใครที่อ่านเรื่องนี้จบแล้ว คิดอย่างไรกับข่าวนี้ครับ อยากให้ Robinhood อยู่ต่อไหม ใครที่ซื้อขายกับแอปนี้มีมุมมองกับแอปนี้อย่างไร มาร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในช่องคอมเมนต์นี้ เผื่อข้อเสนอไอเดียต่างๆ จะไปถึงพวกเขาบ้าง พิมพ์มาเลยครับ

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

Ninja Kantalad

Ninja Kantalad

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก