fbpx

ป้ายกรุงเทพอาจเป็นรายต่อไป รวม 6 แบรนด์เปลี่ยนโลโก้ ยอมโดนด่าแต่โคตรปัง

Home » ป้ายกรุงเทพอาจเป็นรายต่อไป รวม 6 แบรนด์เปลี่ยนโลโก้ ยอมโดนด่าแต่โคตรปัง

ป้ายกรุงเทพอาจเป็นรายต่อไป รวม 6 แบรนด์เปลี่ยนโลโก้ ยอมโดนด่าแต่โคตรปัง

ป้ายกรุงเทพอาจเป็นรายต่อไป รวม 6 แบรนด์เปลี่ยนโลโก้ ยอมโดนด่าแต่โคตรปัง

“อยากไปโลตัส ไปทำไม ไปทำไม” นี่คือคอมเมนต์ของสังคมหลังได้เห็นป้ายสีเขียวเวอร์ชั่นใหม่ กรุงเทพ * Bangkok ที่มาแทนของเดิมอย่าง Bangkok – City of Life บริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน แล้วดันไปนึกถึงห้างสะดวกซื้อเฉย หรือเลยเถิดไปยันเบียร์ช้าง

แต่แน่นอนครับไม่ว่าจะเราจะชอบหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงบางครั้งก็อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟีดแบ็กของการสร้าง City Branding จากเรื่องป้ายดังกล่าวอาจจะดูแย่ในตอนนี้ แต่มันอาจจะยอดเยี่ยมกลายเป็นอัตลักษณ์ที่ถูกจดจำในวันข้างหน้าก็ได้ใครจะไปรู้

.

วันนี้เราจะพาย้อนรอยไปชม 6 แบรนด์ดังระดับโลกที่เคยกล้าหาญ ยอมเปลี่ยนโลโก้ สร้าง CI Branding ใหม่ให้แบรนด์ตัวเอง ซึ่งต่อมากลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แบรนด์เหล่านี้สร้างการจดจำที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมจนถึงทุกวันนี้ ไปดูเลยครับมีอะไรบ้าง

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

1. Pepsi

.

ช่วง 1898-1940 โลโก้ของเป๊ปซี่ จะเป็นลายเส้นตัวหนังสือคำว่า Pepsi Cola เท่านั้นเอง ก่อนจะค่อยๆ พัฒนามาเป็นตัวหนังสือบนรูปฝาจีบจนถึงปี 1962 และยุคหลังจะเป็นไดคัทรูปทรงกลมสีแดงขาวน้ำเงินมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่ปีนี้จะมีการ Retro ด้วยการกลับไปใช้โลโก้ของปี 1973

.

แต่การกล้าที่จะเปลี่ยนทำให้ Pepsi เป็นแบรนด์ที่ปรับตัวให้ให้ดูสดใหม่ทันสมัยเข้ากับคน Gen รุ่นหลังอยู่ตลอดเวลา ภายใต้แนวคิดที่อยากจะทำให้เป๊ปซี่คือแบรนด์เครื่องดื่มโคล่าที่เป็นสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ทั่วโลก ที่เป็นมาตั้งแต่ยุค Pepsi Generation ในช่วงยุค 60

นินจาการตลาด

2. Nike

.

อีกหนึ่งตำนานแบรนด์เสื้อผ้ารองเท้าของอเมริกา ที่เปลี่ยนโลโก้มานับไม่ถ้วนมาตั้งแต่ปี 1971 ที่ยังเป็นสัญลักษณ์ Swoosh ขาวดำโปร่งๆ มีคำว่า nike ก่อนจะค่อยๆ แก้ไขเป็น Swoosh ที่คมขึ้น และสุดท้ายในปี 1995 ตัดทอนทุกอย่างลงมาจนเหลือแค่สัญลักษณ์ Swoosh อย่างเดียวจนถึงปัจจุบัน

.

มีประโยคหนึ่งที่น่าสนใจของ ฟิล ไนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ Nike เคยเล่าว่าตัวโลโก้ Swoosh มาจากงานนักศึกษากราฟฟิคดีไซน์ที่ชื่อ Carolyn Davidson และเป็นชิ้นงานที่ถูกเลือกแบบไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งไนท์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จริงๆ มันไม่ได้ชอบมันเลย แต่เดี๋ยวก็คงชอบกันไปเอง

นินจาการตลาด

3. Audi

.

แบรนด์รถยนต์จากเยอรมันถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1932 ตอนนั้น Audi  เริ่มต้นโลโก้ด้วยวงกลมดำสี่วง พร้อมคำว่า AUTO UNION ตรงกลางแค่นั้น บ่งบอกถึงสหภาพยานยนต์ทั้ง 4 ราย ที่หมายถึง DKW, Horch และ Wanderer ที่ปัจจุบันล้มหายไปหมดแล้ว 

.

แต่พอปี 1965 แบรนด์ Audi ก็รีแบรนด์ด้วยการเอาโลโก้ 4 ห่วงยุคโบราณมาใช้ใหม่ มีการปรับปรุงมาเรื่อยๆ ลดความลึกของวงกลม ดูตื้นขึ้นแต่ลดแสงสะท้อนเงาวงกลม ดูเรียบง่ายแต่น่ามอง แถมยังใช้ฟอนต์ San Serif ธรรมดาๆ กลายเป็นความเรียบง่ายแต่หรูหราใช้ได้ยาวๆ

นินจาการตลาด

4. Google

.

คนที่ใช้งาน Search Engine เจ้านี้มายาวนานอาจจะรู้สึกว่ามันเปลี่ยนแปลงน้อยมาก อาจจะด้วยความเคยชินกับสีสันภายในคำว่า Google แต่ที่จริงแบรนด์มีการเปลี่ยนโลโก้โดยเฉพาะปี 1999 จากฟอนต์หนาๆ กลายเป็น Serif ที่คุ้นตา ก่อนจะพัฒนาในเรื่องการตัดแสงเงาถึงตอนนี้

.

เหตุผลหลักที่ Google ต้องยอมเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ ก็เพราะบริการของแบรนด์ไม่ได้จำกัดแค่บนคอมพิวเตอร์ แต่อยู่ในอุปกรณ์มือถือด้วย ดังนั้น CI ต่างๆ ต้องสามารถดัดแปลงเป็นรูปแบบไอค่อนได้ เป็นโลโก้แอพต่างๆ ได้ โดยยังคงอัตลักษณ์ของ Google ไว้

นินจาการตลาด

5. Apple

.

แฟนพันธุ์แท้ของแบรนด์ Apple คงทราบดี ตอนแรกโลโก้จะเป็นรูปเซอร์ ไอแซก นิวตัน นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล มีลูกหนึ่งอยู่ตรงกลางศรีษะ แถมเปล่งแสงสว่างได้ด้วย จนกระทั่งปี 1976 ถึงได้มากลายมาเป็นแอปเปิ้ลแหว่ง มีรอยกัด เพื่อจะสื่อชัดๆ ว่าเป็นแอปเปิ้ลไม่ใช่เชอรี่ แล้วมีลายเป็นพื้นสีรุ้ง

.

ต่อมาปี 2001 แบรนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกรอบ คือตัดสีรุ้งออกไปกลายเป็นสีเงิน แต่รูปทรงคงเดิม คราวนี้เปลี่ยนพื้นผิวโลโก้ให้คล้ายประกายน้ำที่เรียกว่า Aqua ก่อนที่ปัจจุบันจะหวนมาใช้แอปเปิ้ลแบบสีดำอีกครั้ง กลายเป็นความเข้มแต่เรียบของแบรนด์ที่ปรากฎในยุคนี้

.

แต่กระนั้นแบรนด์เคยถูกโจมตีเรื่องโลโก้มาแล้ว เพราะ Apple ดันไปยื่นฟ้องหลายบริษัทที่มีโลโก้คล้ายกันอยู่เป็นระยะ ในข้อหาละเมิดเครื่องหมายการค้า ทำให้หลายธุรกิจวิจารณ์และกลัวที่จะใช้โลโก้รูปทรงแอปเปิ้ลแหว่งไปเลย

นินจาการตลาด

6. Celine

.

แบรนด์เสื้อผ้าสุดหรูหราของฝรั่งเศส เคยมีเรื่องแบบนี้เหมือนกันจากการเปลี่ยน Céline โดยลบอักซอง (é) ออกจากชื่อซะ เพื่อให้แบรนด์ชื่อใหม่เข้าถึงได้กับผู้คนทุกกลุ่ม ลบภาพจำเดิมของดีไซเนอร์คนก่อนๆ และมีความเป็น Unisex มากขึ้น

.

ซึ่งการตัดสินใจครั้งนั้นส่งผลให้สาวกของ Celine ไม่พอใจออกมาลุกฮือกันเป็นแถบ ถึงขั้นมีคนสร้างอินสตาแกรม Oldceline ขึ้นมาเพื่อลงรูปผลงานเก่าๆ แต่ก็อย่างที่เห็นละครับ ทุกวันนี้ Celine กลายเป็นแบรนด์แฟชั่นที่ดูเท่ สนุกสนานมากขึ้น วัดได้จากแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่าง ลิซ่า แบล็กพิงค์ ที่ใครก็รู้จัก

.

ใครอ่านเรื่องนี้จบ รู้สึกยังไงบ้างกับป้ายใหม่ กรุงเทพมหานคร คิดว่าสวยว้าวสมราคา 3 ล้านไหมครับ หรือเห็นตรงกันข้าม ลองคอมเมนต์มาบอกได้นะว่าไปทิศทางไหน ผมจะได้ย้ายไปอยู่ฝั่งชนะ 55 ขอบคุณครับ

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

Ninja Kantalad

Ninja Kantalad

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก