fbpx

“Sleeper Effect” เทคนิคการทำให้ลูกค้าของคุณซื้อโดยไม่รู้ตัว โน้มน้าวใจทั้งที่ลูกค้าไม่ได้สนใจโฆษณาของคุณเลย?

Home » “Sleeper Effect” เทคนิคการทำให้ลูกค้าของคุณซื้อโดยไม่รู้ตัว โน้มน้าวใจทั้งที่ลูกค้าไม่ได้สนใจโฆษณาของคุณเลย?

“Sleeper Effect” เทคนิคการทำให้ลูกค้าของคุณซื้อโดยไม่รู้ตัว โน้มน้าวใจทั้งที่ลูกค้าไม่ได้สนใจโฆษณาของคุณเลย?

ถ้าคุณได้ยินอะไรหลายๆครั้ง มันจริงหรือเปล่า? คุณพบว่าตัวเองเชื่ออะไรบางอย่าง ที่ตอนแรกคุณไม่เชื่อ เพราะคุณไม่รู้ว่ามันมีแหล่งที่มาจากไหน?

แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะเริ่มเชื่อมัน หรือถูกโน้มน้าว เราจะมาพูดถึงกระบวนการชวนเชื่อหรือโน้มน้าวใจคน ที่ได้ผลในหลายๆประเทศมาก โดยกระบวนการนั้นเรียกกว่า “Sleeper Effect”  ซึ่งหมายถึงการที่คนส่วนมากไม่ได้สนใจโฆษณาตัวนี้ตั้งแต่แรก แต่พอเวลาผ่านไปเรื่อยๆ เรากลับจดจำโฆษณาหรือสิ่งเหล่านั้นได้ 

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

หากย้อนไปถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ที่กองกำลังฝ่ายพันธมิตรนำโดยอเมริกา ต้องการเกณฑ์ทหารเพื่อสู้รบ แต่ในช่วงนั้นเสียงปืนและระเบิด ก็ทำให้ผู้คนจิตตก และส่งผลให้ประสิทธิภาพการรบลดลง ทีนี้อเมริกาก็เลยรวบรวมนักจิตวิทยาฝีมือดี เพื่อประชุมในการสร้าง “หนังชวนเชื่อ” ขึ้นมาแต่ทีนี้อเมริกาก็ต้องผิดหวัง เนื่องจากมีการทำแบบสอบถาม และรายงานผลว่า “ทหารส่วนใหญ่” ยังรู้สึกสงสารและเห็นใจทหารฝ่ายตรงข้ามที่ต้องถูกฆ่าสาเหตุที่เป็นแบบนี้ สายของอเมริกาที่แฝงตัวอยู่ในทหารได้รายงานว่า“มีทหารบางคนที่รู้ถึงแผนการลับนี้ และได้กระจายข่าวออกไปว่านี่เป็นหนังล้างสมองของทางกองทัพ”ทำให้ทหารหลายคนไหวตัวทัน และปิดกั้นหนังเรื่องนี้ทันที

นินจาการตลาด

แต่แล้วผ่านมาอีก 2 เดือน

อเมริกาก็ได้ลองทำแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อสงครามของเหล่าทหาร ปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเชื่อออกมาก็คือ “เหล่าทหารส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อสงคราม” เริ่มเฉยๆกับการที่เห็นทหารอีกฝ่ายถูกฆ่า หนำซ้ำยังพร้อมรบแบบสุดขีด

นินจาการตลาด

พวกเราสงสัยไหมครับ ว่าทำไมหนังถึงมีผลตอนให้หลังแล้วถึง  2 เดือน ?

นั่นเพราะตามธรรมชาติของสมองมนุษย์แล้ว มนุษย์ไม่สามารถลบความทรงจำ ได้ไม่ว่าจะพยายามสักแค่ไหน ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วสมองของทหารเหล่านี้จะลบความทรงจำระยะสั้นที่ไม่สำคัญได้ เช่น นักแสดง ฉากประกอบ เสียงเพลงต่าง ๆ แต่ที่สำคัญที่สุดคือลืมไปแล้วด้วยว่าเนื้อหาที่พวกเขาได้รับนั้นเป็นเนื้อหาที่ต้องการล้างสมองพวกเขา ! โดยที่สมองก็ยังคงเก็บประเด็นหลักของข้อดีในการทำสงครามอยู่  สุดท้ายท้ายสุดเมื่อเวลาผ่านไป ทหารก็เลยมีทัศนคติดที่ดีกับสงครามโดยที่ไม่รู้ตัว  ซึ่งในทางจิตวิทยาเราจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Sleeper Effect” หรือการที่ข้อมูลที่หลับอยู่ในสมองตื่นขึ้นมานั่นเอง 

นินจาการตลาด

และเรื่องที่เป็น Sleeper Effect ที่อยู่ใกล้ๆตัวเราก็มีเช่นกัน

นินจาการตลาด

ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาในการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร เราก็คงได้พบเจอกับโฆษณาหรือป้ายโฆษณาต่างๆที่ติดไว้ตามถนนเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากแนวทางของการการตลาดแล้ว โฆษณาจะมีผลดีอย่างมากจาก ความถี่ (Frequency) และมันจะต้องมีความถี่ที่มากพอ ที่จะทำให้เกิดผลกับผู้บริโภค ซึ่งนั่นก็ได้ผลจริงๆเพราะ ผู้บริโภคจะพบเห็นหรือพบเจอบ่อย หรือ อาจจะได้ยินบ่อยๆ ถึงแม้ในตอนแรกผู้ที่ได้พบเห็นหรือได้ยินบ่อยๆนั้นอาจจะไม่ได้สนใจอะไร แต่พอเวลาผ่านไปยิ่งพวกเขาเหล่านั้นได้พบเจอและเห็นบ่อยขึ้น ทำให้เกิดการโน้มน้าวจิตใจไปโดยที่เราไม่ได้รู้ตัวและนี่คือ ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Sleeper Effect” เช่นกัน

นินจาการตลาด
สรุปก็คือ คนเราจะลืมเลือนแหล่งที่มาของข้อมูลเร็วกว่าเนื้อหา ซึ่งหมายถึง คนเราเมื่อได้ดูโฆษณาหรือบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจหรือมีแรงกระตุ้นความอยากในจิตใจเราและมันค่อนข้างน่าเชื่อถือ ถึงแม้เราอาจจะลืมเนื้อหาของมันไปแล้ว แต่เรายังจำความรู้สึกนั้นได้อยู่เสมอ ซึ่งนี่แหละคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Sleeper Effect” นั่นเอง
นินจาการตลาด
ซึ่ง เทคนิคการตลาดที่น่าสนใจยังมีอีกมากมายให้คุณได้เรียนรู้ก่อนคู่แข่งของคุณ ถ้าหากคุณเป็น “เจ้าของธุรกิจ” เรายังมีอีกหลากหลายกลยุทธ์ ให้คุณได้เรียนรู้ แต่ถ้าหากคุณเป็น “ลูกค้า” คุณจะได้รู้ว่านักการตลาดนั้น ดึงเงินไปจากกระเป๋าคุณได้อย่างไร?
 
นินจาการตลาด
กับ คอร์ส “10x Profits with Marketing&Sales” ตอน “วิธีสร้าง Content เน้นกำไร 10 เท่า” ในวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม 2022 นี้ เวลา 19.00-21.00 น. ผ่านโปรแกรม Zoom เท่านั้น 

.

จะบอกว่า… คอร์สนี้เรียนฟรีนะ!!

คุณจะได้รู้ถึงเทคนิคการตลาด จนทำให้คุณสามารถสร้างกำไร 10 เท่าได้ เพียงแค่ต้องรู้และเปลี่ยนกลยุทธ์ คลิกเพื่อเข้าร่วมกลุ่มไปรอเรียนพร้อมกันได้เลย

นินจาการตลาด

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก