fbpx

เติบโตหรือตายเร็ว เป็นอย่างไหนก็ได้ถ้าเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Strategy กับ Tactics

Home » เติบโตหรือตายเร็ว เป็นอย่างไหนก็ได้ถ้าเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Strategy กับ Tactics

เติบโตหรือตายเร็ว เป็นอย่างไหนก็ได้ถ้าเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Strategy กับ Tactics

เติบโต อยู่รอด ตายอย่างช้าๆ หรือตายเร็ว

สำรวจดูหน่อยนะครับ ถ้าคุณยังแยกไม่ออกอยู่ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั่นคือ Strategy หรือ Tactics การเติบโตอาจจะติดลบอย่างไม่รู้ตัว

เรื่องนี้ต้องยอมรับครับว่าหลายคนเองยังมองไม่ออกว่าสิ่งไหนคือ Strategy สิ่งไหนคือ Tactics บางคนยังคิดไปเองด้วยซ้ำว่ามันคือเรื่องเดียวกัน ไม่เห็นต้องไปแยกอะไรมันเลย ดังนั้นก่อนอื่นเลยผมขออธิบายความแตกต่างระหว่างคำทั้งสองคำนี้ก่อนนะครับ

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

Strategy กลยุทธ์คือการเลือกที่จะทำ และไม่ทำอะไร

.
ถ้าใครเคยได้อ่านหนังสือหรือดูภาพยนต์แนวสู้รบสงครามย้อนยุคทั้งไทย จีน ฝรั่ง จะเห็นว่าแม่ทัพนายกองต้องมีการประชุมหาหรือเพื่อวางแผนกลยุทธ์ก่อนออกรบพุ่งเสมอ และภาพที่เห็นอยู่ประจำคือภาพที่เหล่าขุนศึกกางแผนที่ยุทธภูมิสงครามหรือแม้แต่เป็นโมเดลสามมิติที่อาศัยเอาของต่างๆ มาทำเป็นจุดหรือตำแหน่งให้เข้าใจชัดแจ้งในภาพเดียวกัน สำหรับทุกคนในที่ประชุมนั้น
.
“หากการศึกครั้งนี้สามารถเจรจาความกันได้ คงไม่เสียเลือดเสียเนื้อแต่คงต้องยอมยกดินแดนบางส่วนให้ศัตรูไปบ้าง แต่ถ้าเราจะรวบรวมแผ่นดินให้ได้ครบก็คงต้องใช้กำลังรบพุ่งเท่านั้น”

.
พอมองเห็นอะไรไหมครับกับย่อหน้าข้างบน ถ้าสังเกตุได้ จะเห็นว่ามันมีทางเลือกให้อยู่สองทาง คือ 1. เจรจา และ 2. รบพุ่ง
.
ซึ่งทั้งสองทางเป็นกลยุทธ์ที่ต้องเลือกทั้งคู่ แต่แตกต่างกันตรงวัตถุประสงค์สุดท้ายของกลยุทธ์นั้นๆ ระหว่าง 1. เรายอมได้แค่ไหน หรือ 2. เราต้องการได้มาแค่ไหน
.
ถ้าเลือกที่จะเจรจาแล้ว การรบพุ่งก็อาจจะไม่มี แต่ถ้าเลือกรบพุ่งแล้วการเจรจาก็อาจจะไม่เกิดขึ้นอีกง่ายๆ แน่นอน
.
ทางธุรกิจก็เช่นกันครับ กลยุทธ์คือการเลือกกระทำและไม่กระทำอะไรเพื่อให้ได้เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หากเลือกแนวทางกลยุทธ์ได้ถูก ธุรกิจก็จะผงาด เช่นกันหากเลือกผิดก็อาจส่งผลร้ายต่อธุรกิจได้

เครดิตภาพ: Lost Bladesman สามก๊ก เทพเจ้ากวนอู

นินจาการตลาด

Tactics คือศิลปแห่งการจัดเรียงลำดับเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์กลยุทธ์

.
Tactics หรือ ชั้นเชิง ผมค่อนข้างชอบคำแปลนี้นะ ซึ่ง Tactics เอง ในภาษาอังกฤษเวลาแปลมาเป็นไทย ก็มีความหมายถึง “กลยุทธ์” ด้วยเช่นกัน ไม่รู้ว่าเพราะเหตุนี้หรือเปล่าที่ทำให้เราแยกไม่ออกระหว่างคำสองคำนี้
.
ขอย้อนกลับไปที่ประชุมของเหล่าขุนศึกเพื่อเปรียบเทียบภาพให้เราเห็นกันต่อนะครับ
.
เมื่อที่ประชุมได้เลือกแล้วว่าจะเจรจา ก็คงต้องเลือกทูตหรือบุคคลที่เหมาะสมกับการเจรจาให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์การเจรจาที่เลือกไว้ ซึ่งก็คงยอมให้เสียดินแดนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นการเลือกคนจึงต้องคิดให้มาก เพราะแต่ละคนก็มีเทคนิคและทักษะในการเจรจาต่อรองต่างกันไป บางคนเน้นจริงจังขึงขัง บางคนเน้นโอนอ่อนผ่อนตาม ซึ่งการเลือกนั้นจะมีผลต่อผลลัพธ์สุดท้ายต่างกันไป หากมั่นใจในกลยุทธ์การเจรจาแล้วแต่กลับเลือกคนที่ไม่เก่งด้านการเจรจาไป ผลที่ออกมาก็คงไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้แน่นอน ซึ่งการเลือกคนนั้นก็คือ Tactics ที่ตอบสนองให้กลยุทธ์นั้นๆ ประสบผลสำเร็จได้นั่นเอง
.
มาดูอีกมุมกันบ้างหากเหล่าขุนศึกเลือกแนวทางกลยุทธ์การรบพุ่งแทนล่ะ ทีนี้ก็ต้องมาคุยแล้วล่ะว่าจะรบยังไง ทัพไหนจะบุก ทัพไหนจะสนับสนุน
.
หลายครั้งมีการถกเถียงกัน บ้างว่าจะต้องบุกไปเข้าตีทางบก เพราะเป็นทางที่คุ้นชินที่สุด น่าจะได้เปรียบข้าศึก
.
บ้างก็เสนอว่าควรให้กำลังพลเดินอ้อมไปทางเนินเขา เพราะยุทธภูมิที่สูงกว่าย่อมได้เปรียบข้าศึกในการทำสงคราม
.
บ้างก็เสนอว่าควรต้องล่องเรือไปทางน้ำเพื่อตีฝั่งตรงข้ามเพราะข้าศึกไม่อาจได้ทันระวังตัวว่าใครจะใช้เส้นทางน้ำมาโจมตี และไพร่พลฝั่งเราไม่ต้องใช้กำลังเยอะเท่ากับเดินเท้าหรือขึ้นเนินเขาสูง จะทำให้มีพลกำลังเหลือมากพอที่จะต่อสู้และได้ชัยชนะกลับมา
.
พอเริ่มเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นอีกบ้างแล้วใช่ไหมครับ ใช่ครับในความหมายของทั้งสามทางมันคือ Tactics นั่นเอง

ภาพข้างบนเป็นภาพที่ช่วยอธิบายระดับของ Strategy กับ Tactics ไว้อย่างดี จะเห็นว่าการที่ทำให้กิจการเดินหน้าเติบโตได้นั้น Tactics หรือชั้นเชิงที่ดีอย่างเดียวไม่สามารถจะได้รับชัยชนะได้ ต้องอาศัย การมี Strategy นำทางที่ดีด้วย
.
ดังนั้นการเข้าใจและรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังคิดอยู่นั้นมันคือ Strategy หรือ Tactics ก็จะช่วยทำให้เรามีโอกาศสามารถเอาชนะได้ในการแข่งขัน
.

ดังจะสรุปไว้ให้ ตามนี้ครับ
.
Strategy ดี Tactics ดี เท่ากับ เจริญเติบโต เพราะแผนยอดเยี่ยม (Strategy) การดำเนินการยอดเยี่ยม (Tactics)
.
Strategy ดี Tactics แย่ เท่ากับ ยังคงพออยู่รอด เพราะมีแต่แผนที่ยอดเยี่ยม (Strategy) แต่ดำเนินการได้ไม่ดี (Tacetics)
.

Strategy แย่ Tactics ไม่ดี เท่ากับ ตายอย่างช้าๆ เพราะแผนไม่ดี (Strategy) การดำเนินการก็ไม่ดี (Tacetics) โชคยังดีที่การดำเนินการไม่ดีจึงทำให้แผนที่ไม่ดีนั้น ไม่สำเร็จง่ายๆ 
.

Strategy แย่ Tactics ดี เท่ากับ ตายเร็ว เพราะแผนไม่ดี (Strategy) แต่การดำเนินการดันทำอย่างชาญฉลาด (Tacetics) ส่งผลให้แผนที่ไม่ดีประสบความสำเร็จได้เร็วนั่นเอง
.
จะเห็นได้ว่า Strategy เป็นสิ่งสำคัญกว่า Tactics เพราะ การที่มี Strategy ที่ดี ไม่ว่า Tactics จะดีหรือแย่ ธุรกิจก็ยังพออยู่ในด้านบวกอยู่ได้
.
แต่หากไปเน้นเพียงแต่ Tactics ให้ดี โดยลืมมองไปว่า Tactics นั้นไปสนับสนุนกลยุทธ์ที่ไม่ดีอยู่หรือไม่ อันนี้อัตรายมากครับ เพราะบางทีการทำ Tactics แย่ๆ กับกลยุทธ์แย่ๆ มันยังดีกว่าอีกด้วยซ้ำ
.
เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้ลองกลับไปพิจารณาการดำเนินการของตัวเองดูนะครับ ว่ากำลังทำในสิ่งที่เรียกว่า Tactics ที่ดีเยี่ยม ภายใต้ Strategy ที่ผิดทางอยู่รึเปล่า…

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก