กับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นเรื่องท้าทายมากสำหรับธุรกิจค้าปลีก มรสุมรอบด้าน การโดดเข้ามาจับออนไลน์จะช่วยได้จริงหรือ อะไรคืออุปสรรคของเราล่ะ..?
วันนี้นินจาการตลาดมีโอกาสได้อัพเดตมุมมองการค้าปลีกในโลกยุคใหม่ ในงาน LINE RETAILTECH 2019 จัดโดย LINE Thailand ช่วงหนึ่งที่สำคัญเลยกับช่วงของการพูดถึงวงการค้าปลีกไทยในโลกออนไลน์ โดยคุณวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมค้าปลีกไทย นินจาการตลาดจึงได้สรุปหัวข้อที่น่าสนใจใน Keynote นี้มาให้อ่านกันครับ รับรองว่าได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจแน่ ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านต่อกันเลยครับ
1. ปกติ Retial แต่ละประเทศทั่วโลก จะต้องโตกว่า GDP ประเทศตัวเอง 1-2%
.
อันนี้เอามาจากค่าเฉลี่ยของประเทศต่าง ๆ แต่สามสี่ปีที่ผ่านมา Retail ไทยโตต่ำกว่า GDP
.
ซึ่งเราจะยังคงโตต่ำ อีกต่อไป ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างภาษีด้วย มองว่าสินค้าไลฟ์สไตล์ถูกกำหนดภาษีผิดประเด็น คือเรากลับมองว่าเป็น Luxury Product มากกว่า ดังนั้นภาษีมันเลยแพงกว่าต่างประเทศในสินค้าประเภทนี้
.
จะห็นเลยว่าคนไทยซื้อสินค้าพวกแบรนด์เนมในประเทศไม่ค่อยลง เพราะเราสามารถเช็คราคาได้ง่าย ๆ ผ่านออนไลน์ ก็เลยจะเห็นว่าคนไทยไป Shop ต่างประเทส ปีหนึ่ง ๆ สูญโอกาสไปกว่า 15%
.
ดังนั้น กำแพงภาพษี สูงขนาดนี้ ตลาดนี้มันเลยกลายเป็น Gray market ผู้ประกอบการจึงออกนอกระบบไปเยอะ ภาพษีมันเลยเก็บไม่ค่อยได้
2. ไทยทำรายได้การท่องเที่ยวเป็นเบอร์ 4 ของโลก
.
มีคนเข้ามาเที่ยวไทยราว ๆ 4 ล้านคน ซึ่งจำนวนเข้าประเทศมากขนาดนี้ ถือว่าเป็นลำดับ 9 ของโลก
.
จากเดิมคนไทยมี 70 ล้าน บวก 40 ล้านคนที่เป็นนักท่องเที่ยว ทำไม Retial จึงโตแค่ 2% เหตุก็มาจากข้อแรกนั่นแหล่ะ เพราะเค้ามาไทยเพื่อแวะเที่ยว แต่เลยต่อไป Shop ที่สิงคโปรแทนซะงั้น เพราะสินค้าแบรนด์เนมราคาถูกกว่า
3. ห้างค้าปลีกต่างประเทศ เป็น Shopping Plaza ห้างค้าปลีกประเทศไทย เป็น Life Style Plaza
นั่นเป็นเหตุทำให้ Retial ไทยยังคงขายดีอยู่ได้ ห้างไทย ทำไมยิ่งสร้างเพิ่มขึ้นทุกวัน นั่นหมายถึงค้าปลีกไทยยังมีอนาคตแน่ ๆ
4. การซื้อต่อไปไม่ต้องเข้าช่องทางใดช่องทางหนึ่งแล้ว New Retial ต้องไม่ยึดติดกับช่องทางเดียว
.
ซึ่งไม่ได้หมายความแต่ว่า ร้านค้าปลีกต้องไปออนไลน์ แล้วทิ้งค้าปลีกไปอยู่บนช่องทางใดช่องทางหนึ่ง เช่น ขายแต่บน Facebook หรือขายแต่บนเว็บ E-commerce รวมถึงการที่ค้าปลีกไม่เปลี่ยนตัวเองให้มีหลายช่องทางด้วย
.
คนที่บัญญัติศัพท์ New Retail นี้ขึ้นมาก็คือ Alibaba หมายถึงลูกค้าจะเข้ามาที่แบรนด์ผ่านช่องทางไหนก็ซื้อได้ และได้ข้อมูลเดียวกันแบบไม่ขัดแย้งกันด้วย
.
เชื่อว่าคนในเมืองจะยังคงซื้อผ่าน Retail อีกเยอะ แต่ต่างจังหวัด มันจะไม่ซื้อแบบนั้น เพราะไม่มีความสะดวกเรื่องการเดินทางเท่าคนในเมือง หากอยาก Shop ต้องเดินทางเข้าเมือง ซึ่งมันยากกว่าคนเมืองที่ขึ้นรถไฟฟ้า มีร้านค้าให้ซื้อตลอดเวลาอยู่โดยรอบระหว่างการเดินทางไป – กลับ บ้านกับที่ทำงาน
5. ธุรกิจอนนไลน์ คีย์อยู่ที่ Database และ Content
.
นั่นคือเหตุที่ทำไมคนทำ Retail เวลาโดดมาทำออนไลน์ถึงไม่ประสบความสำเร็จ ก็ไม่เคยรู้เรื่อง การทำ Content และ การเก็บ Database มาก่อน ต่อให้ได้เปรียบเรื่องต้นทุน สินค้าเป็นที่รู้จักทำไปสักพัก ก็ไปไม่รอด
กลับกัน… คนที่ทำออนไลน์มาก่อน แล้วมาทำ Retail จะประสบสำเร็จกว่า เพราะรู้จักเอาข้อมูลมาวิเคราะห์จนทำให้กิจกรรมทางการตลาดจริง มันสำเร็จได้
.
Retail ชินกับการหาพื้นที่ หาทำเลที่ดี การจัดร้าน จัดรูปแบบ แต่ไม่ชินกับการใช้ Database และการทำ Content
.
แต่คนมาจากฝั่งออนไลน์สนใจแต่ Database กับ Contetnt พอคนออนไลน์มาทำ Retail จึง Power full
6. ไม่ใช่แค่ New Retail แต่อาลีบาบายยังมี 5 New เป็นยุทธศาสตร์อีกด้วย
.
โดยวางไว้เป็น EcoSystem ของตัวเอง ดังนี้
– New Retail (ค้าปลีกใหม่)
– New Finance (การเงินใหม่)
– New Technology (เทคโนโลยีใหม่)
– New Manufacturing (การผลิตใหม่)
– New Energy (พลังงานใหม่)
7. ความใหม่ของค้าปลีกมีอะไรที่เป็นจริงแล้วบ้าง
.
– ป้ายราคาแบบดิจิทัล ที่สามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เลียนแบบสิ่งที่เป็นจุดแข็งฝั่งออนไลน์ แต่ออฟไลน์ต้องลงทุนฮาร์ดแวร์เข้าไป
– ชำระเงินผ่านการจดจำใบหน้า
– หุ่นยนต์ให้บริการเสริฟอาหาร
– ชำระเงินที่จุดเช็คเอ้าท์ผ่านแอปลิเคชั่น
การเลือกเทคโนโลยีจากผู้พัฒนาต่าง ๆ เพื่อให้เสริมความได้เปรียบด้านความคล่องตัวของธุรกิจขนาดย่อม แล้วไม่ต้องลงทุนระบบเอง จะทำธุรกิจให้โตเร็ว เช่น ไม่ต้องมีระบบส่งของเอง แต่สามารถไปแข่งกับพิชช่า หรือ เคเอฟชี ได้ โดยการใช้ บริการจัดส่งของเอกชน เช่น ไลน์แมน มาช่วยแทนการลงทุนด้วยตัวเองได้
.
ความน่ากลัวคือ ปลาเล็ก แต่ไว ก็กินปลาใหญ่แต่ช้าได้ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือถ้าบริษัทยักษ์ใหญ่ แล้วเคลื่อนไหวเร็ว อันนี้ทั้งปลาใหญ่เล็กในทะเลจะถูกกินเรียบ
.
อาลีบาบา กำลังเป็นแบบนั้น..?
8. เคล็ดลับ Retail ไทยต้องเก่ง 2 เรื่อง
.
คือ
1. Activity
2. Service
.
เพราะสองสิ่งนี้ ออนไลน์ ทำไม่ได้ ซึ่งถ้า Retail ทำสิ่งนี้ไม่ได้ เราจะกลายเป็นแค่โชว์รูมให้คู่แข่งได้รับประโยชน์ เพราะลูกค้าจะไปซื้อบนเว็บคู่แข่งหลังจากมาดูสินค้าที่โชว์รูมเราเสร็จ
.
แต่การจะทำให้มี 2 สิ่งนี้ได้ ความยากคือ มันต้องลงทุน มันมีต้นทุน ถ้าทำได้อย่างนี้ ต่อให้ขายแพงกว่า ลูกค้าก็ซื้อ
.
ตัวอย่าง
.
B2S เป็นร้านขายเครื่องเขียน ที่มีขายบอร์ดเกมแล้วก็ขายได้เยอะมาก ทำไมน่ะเหรอ เพราะเราจัดกิจกรรมกับลูกค้าตลอด เช่น จัดแข่งขันบอร์ดเกม
.
คือ ถ้าไม่ทำแบบนี้ ลูกค้าที่ผ่านมาเห็นราคาบอร์ดเกมที่ 1,500 บาท ก็ไม่มีใครรู้ว่ามันเล่นยังไง คุ้มราคาจริงไหม แต่ถ้าเค้ามีประสบการณ์ก่อนล่ะ แน่นอนมันขายได้
.
B2S ขายอะไรกันแน่ จริงแล้ว B2S เป็นร้านที่ขายอุปกรณ์ IOT ที่เยอะสุดในไทย พวก นาฬิกา การ์มิน อะไรทำนองนี้ ทำไมร้านหนังสืออย่าง B2S ถึงขายสิ่งนี้ได้ดี ก็เพราะคนไปหาความรู้เรื่องออกกำลังกายในร้านหนังสือ เราก็เลยมาดักเอาไว้ให้เค้าได้เจอ
9. ปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
.
คือ
.