ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแทบจะทุกหลังคาเรือนผู้คนหันมาซื้อของออนไลน์กันหมดเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ไม่สามารถออกไปช้อปปิ้งข้างนอกได้ ผู้คนหันมาช้อปผ่านแพลตฟอร์มอย่าง Shopee, Lazada แทนการออกไปช้อปปิ้งข้างนอกบ้าน
โดยสินค้าที่ช้อปผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดหรืออุปกรณ์ IoT ที่นักช้อปต้องมีติดบ้านนั้นคงหนีไม่พ้นสินค้าของ Xiaomi เนื่องจากปัจจุบัน Xiaomi ได้กลายเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT รายใหญ่ที่สุดในโลก (Consumer IoT) ด้วยจำนวนอุปกรณ์กว่า 252 ล้านชิ้นทั่วโลก (ไม่รวมโทรศัพท์มือถือ) ถือว่าเป็นร้านค้ารายใหญ่ในโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้
1. Xiaomi (เสี่ยวมี่) ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันเนี่ยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2010 โดยมี เหลย จุน (Lei Jun) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็น CEO โดยก่อนหน้านี้เขาเองยังเคยเป็น CEO กับทาง Kingsoft อีกด้วย โดยทาง xiaomi เขามีมีสโลเเกนของตัวเองว่า “น้อยเเต่มาก” เปรียบเหมือนเมล็ดข้าวที่สามารถยิ่งใหญ่เท่าภูเขากว้าง ทำให้ Xiaomi พยายามทำงานจากสิ่งเล็ก ๆ แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการพยายามทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น
2. Xiaomi เริ่มจากการเป็นหนึ่งในแบรนด์โทรศัพท์มือถืออันดับต้น ๆ ที่ครองใจสาวกแอนดรอยด์ คู่แข่งที่หลายแบรนด์กำลังจับตามอง ที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเหมือนเจ้าอื่น ๆ ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดของ Xiaomi ในวงการโทรศัพท์มือถือทั่วโลก อยู่ที่ 11.6% เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 3 ของโลก รองจาก Apple ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 23.4% และ Samsung ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 17% (ข้อมูลในช่วงไตรมาส 4 ปี 2020 จาก IDC) จนปัจจุบันเป็นหนึ่งในเเบรนด์ชั้นนำที่มีผู้คนใช้ติดตลาดเป็นที่เรียบร้อย
3. นอกจาก Xiaomi (เสี่ยวมี่) จะทำสมาร์ทโฟนออกมาแล้ว เขายังพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์กับผู้คนจำนวนมากที่ต้องการ smart Gadget ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและราคาจับต้องได้เช่น MI TV เครื่องฟอกอากาศ หม้อหุงข้าว และอุปกรณ์ต่างๆสำหรับคนรักสุขภาพอีกมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับแฟนๆของ Xiaomi (เสี่ยวมี่) โดยอุปกรณ์ดังกล่าวล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ทั้งนั้น
5. ในด้านของนวัตกรรมของ Xiaomi นั้นต้องยอมรับเลยว่าเป็นอะไรที่เจ๋งสุด ๆ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยี ทั้งระบบปฏิบัติการของ Xiaomi เอง การออกแบบสินค้า ไปจนถึงแผนการตลาดของแบรนด์ เป็นการคิดใหม่ทำใหม่แบบไม่อิงโลกค้าปลีกยุคเก่า
6. ส่วนกลยุทธ์การโฆษณา Key Factor โดยทางแบรนด์มีการโฆษณาอย่างแตกต่างกับแบรนด์อื่น โดยที่ไม่ได้มุ่งเน้นและลงทุนการโฆษณาเป็นจำนวนมากเพราะ Xiaomi ยืนยันว่าจะใช้จ่ายเพื่อโฆษณาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อนำเงินที่ประหยัดได้ไปปรับปรุงคุณภาพของสินค้าแทน โดยทางการตลาดจะเน้นพึ่งพาเสียงแบบการบอกปากต่อปาก และเน้นใช้สื่อโซเชียลเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ และการที่ Xiaomi อัปเดตบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อย ๆ ทำให้ Xiaomi ติดต่อกับแฟนคลับหรือฐานลูกค้าได้ต่อเนื่อง ลูกค้าบางกลุ่มนิยมรอซื้อสินค้า Xiaomi ที่จำหน่ายแบบ Flash Sale จนเคยเป็นปรากฏการณ์สินค้าหมดภายในเวลาไม่กี่นาที
8. อีกหนึ่งปัจจัยของ xiaomi คือการกระจายความความเสี่ยงที่เป็นทีเด็ด เอาชนะหลาย ๆ แบรนด์คือการสร้างระบบนิเวศให้แพลตฟอร์มตัวเองด้วยการไม่เน้นที่สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ไอทีเพียงอย่างเดียว แต่หันไปร่วมเป็นพันธมิตรกับหลายบริษัทเพื่อให้ Xiaomi สามารถผลิตสินค้าที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตภายในบ้านได้หลายประเภท ทั้งหม้อหุงข้าว เครื่องฟอกอากาศ เครื่องดูดฝุ่น อีกหลายอุปกรณ์ที่ดึงดูดลูกค้าให้ช้อปสินค้าอื่นของ Xiaomi
จากที่พูดมาทั้งหมดนี้เห็นได้ชัดเลยว่าเหตุผลที่ทำให้แบรนด์เติบโตได้ขนาดนี้ไม่ใช่แค่ฟลุ๊กกับการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะ xiaomi มีการตลาดที่ล้ำสมัยรับรู้ถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เรียกได้ว่าเข้าถึงจิตใจของลูกค้าเลยก็ว่าได้ พร้อมด้วยคำถามสั้น ๆ ที่โดนใจว่า ทำไมของดีต้องแพง? ซึ่งเป็นสิ่งที่ Trust ใจคนจำนวนมาก xiaomi นั้นเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้งานในทุกระดับ และทำลายข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่มีราคาสูง ซึ่งในปัจจุบัน Lei Jun ได้รับฉายาว่า สตีฟ จ๊อบแห่งแดนมังกร ด้วยรางวัล Phone of the Year 2016 นี้อาจเป็นแบบอย่างของนักธุรกิจสมัยใหม่ที่เติบโตโดยการวางรากฐานที่มั่นคงและตอบสนองความต้องการแบบถูกจุด มีใครในนี้เคยใช้สินค้าของ Xiaomi บ้างไหมครับ ? แล้วเป็นยังไงบ้าง ถูกและดีอย่างที่เขาว่ากันไหมครับ ลองมารีวิวให้ผมฟังหน่อยสิครับ เผื่อผมจะไปซื้อใช้บ้าง